มนเสน่ห์ของเงินตรา(ต่อ) เงินตรามันมีมูลค่าในตัวเอง จึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่าถ้าฝากเงิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน อนึ่ง ผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แต่หากจำต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น แม้ว่าเงินซึ่งฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับฝากก็จำต้องคืนเงินเป็นจำนวนดังว่านั้น คำนึงมูลค่า ไม่ใช่ตัวเลขบนธนบัตร (เงิน)จากบทบัญญัติข้างต้น อาจมองๆได้ว่า กฎหมายย่อมให้น้ำหนักที่มูลค่า/จำนวนเงิน เหนือหมายเลขบนธนบัตร มิฉะนั้น ธนาคารมิพักต้องบันทึกหมายเลขบนธนบัตรทุกครั้งที่มีการฝาก/ถอนเงินหรือ? นอกจากนี้ ความพิเศษของหนี้เงิน ยังสะท้อนว่า เงินเมื่อพักอยู่เฉย ๆ ย่อมทำให้เจ้าของเงินมีสิทธิเก็บเกี่ยวดอกผล [เบี้ย] (เทียบกรณี นำเงินสดไปฝากธนาคาร ยังได้ดอกเบี้ย) เท่ากับว่า ถือเงินสดก็สมควรที่จะได้ดอกเบี้ยเช่นกัน ในเมื่อถ้ามีหนี้เงินค้างจ่าย กฎหมายอนุญาตให้เจ้าหนี้สามารถคิดดอกเบี้ยได้ เพราะน่าจะมองว่าเจ้าหนี้เสียโอกาสที่จะนำเหนี้มาชำระไปออกดอกออกผล ด้วยเหตุนี้ "หนี้เงิน" ที่ลูกหนี้บิดพลิ้ว จึงถูกลงโทษโดยให้ต้องชำระดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 244 วรรค 1 บัญญัติว่าหนี้เงินนั้นให้เรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ 7.5% ต่อปี แต่ถ้าเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.บ.อัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ยผิดนัดย่อมเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีอัตราสูงกว่าตามที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ได้ข่าวมาว่า มาตรานี้จะได้รับการแก้ไขเพราะอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว (7.5% ต่อปี) ไม่สะท้อนภาวะเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันแล้ว หนี้เงินคิดดอกเบี้ยเพราะฉะนั้นบรรดาลูกหนี้เงินทั้งหลาย พึงระวังด้วยนะครับว่า ไม่จ่ายหนี้เงินตรงเวลา ย่อมถูกประเมินดอกเบี้ย ในระหว่างที่ยังชำระไม่ครบนะครับ ภาษากฎหมายเรียกว่า “ผิดนัด” สรุปที่กล่าวมาสะยืดยาวผมกำลังจะสื่อว่า “หนี้เงิน” มันมีความพิเศษในตัวเองคือ1. ต้องเปลี่ยนมือง่าย เพราะถูกใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของ เงินไป ของมา2. หนี้เงินพึงใช้เป็นจำนวน หรือมูลค่าบนเงินตรา โดยไม่ต้องสนใจว่า เลขที่บนธนบัตรคือหมายเลขอะไร3. หนี้เงิน มีไว้เฉย ๆ ก็สามารถออกดออกออกผลเป็นธรรมดา (แค่นำไปฝากธนาคาร) ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ค้างหนี้เงิน สมควรที่จะถูกบังคับให้เสียดอกเบี้ยเพื่อเป็นการลงโทษที่ชำระหนี้ไม่ถูกต้อง หรือไม่ตรงเวลา (เงินล่าช้า)อนึ่งบทความนี้จะไม่มีทางสำเร็จได้เลยถ้าไม่มีนิสิต ของคณะ ได้ร่วมถกเถียงวงประเด็นนี้ – นี่แหละครับสังคมแห่งการเรียนรู้ท้ายนี้ขอบพระคุณ ภาพ1.ปก โดย Mufid Majnun จาก Unsplash https://unsplash.com/photos/LVcjYwuHQlg2.รูปที่ 1 โดย drobotdean จาก freepik https://bit.ly/3cBCWoc3.รูปที่ 2 โดย vectorjuice จาก freepik https://bit.ly/3tp87ZJ4.รูปที่ 3 โดย vectorjuice จาก freepik https://bit.ly/3pONtjQ 5. รูปที่ 4 โดย ressfoto จาก freepik https://bit.ly/3jeJx9h