ก็ต้องเกริ่นกันก่อนว่า ผู้เขียนนั้น เป็นผู้มีประสบการณ์จริงกับการรับ เงินช่วยเหลือชาวนา ทุกรูปแบบ บทความนี้นอกจากจะบอกเล่าเก้าสิบเรื่องเงินช่วยเหลือชาวนาแล้ว ยังจะว่ากันด้วยหลักการใช้เงินช่วยเหลือชาวนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ล่วงเข้าปลายเดือนพฤศจิกายนเข้าไปแล้ว ซึ่งตามปกติก็จะอยู่ในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวนาปีของประเทศไทย หลายๆแห่งก็จะเก็บเกี่ยวและขายกันไปเรียบร้อยแล้ว การจะพูดถึงขายข้าวได้กำไรหลังจากอดทนประคบประหงมมาหลายเดือนแล้วจะได้กำไรอู้ฟู่นั้น บอกกันเลยว่า “เลิกพูด” ในขณะที่ต้นทุนค้าปุ๋ย ค่ายาฆ่าหญ้า ค่าแรงงาน ค่าน้ำมัน ไปไกลกันเสียแล้ว แต่ราคาข้าวที่ขายกันจริงๆ ยังอยู่ที่ 8 - 11 บาทต่อกิโลกรัม ในทางปฏิบัติแล้ว ในการทำนายุคปัจจุบันนี้นั้น ราคาข้าวที่ช่วยให้ชาวนาพยุงตัวอยู่ได้อยู่ที่กิโลกรัมละ 14-16 บาท แล้วแต่พันธ์ข้าวและความชื้น รวมทั้งราคาที่โรงสีแจ้งมา ไม่มีทางจะต่อรองกันได้ ดังนั้นมาตรการแต่ละมาตรการจึงจัดขึ้นมาเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในเบื้องต้น และหลักๆในปัจจุบันนี้ ก็จะเป็นเงินค่าสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรผู้ปลูกข้าว หรือจะเรียกกันสั้นๆว่า ไร่ละพัน เป็นเงินมีวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลตั้งไว้ตามชื่อ เช่น ขุดสระทำชลประทาน การปลูกไม้ยืนต้นเพื่อรายได้ที่ยั่งยืนกว่า เป็นต้น ซึ่งจะจ่ายให้ในช่วงปลายปีของทุกปี ในอัตราไร่ละ 1000 บาท แต่ไม่เกิน 20 ไร่ ส่วนมากแล้ว เกษตรกรจะนำเงินตัวนี้ไปเป็นต้นทุนในการทำนาในปีถัดไป ใช้หนี้ค้างชำระเร่งด่วนเสียมากกว่า เงินจำนวนนี้จะมอบให้ชาวนาที่เป็นเจ้าของเอกสารสิทธิ์โดยตรง ซึ่งถ้าหากทราบล่วงหน้าว่าจะได้แน่ๆ ในปลายปี เกษตรสามารถนำไปไปปรับปรุงผลผลิตของตัวเองให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นได้เรื่อยๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะใช้เวลาหลายปีแต่ได้ผลยั่งยืนอย่างแน่นอน อันที่จริงแล้วยังมีมาตรการปลีกย่อยอีกมากมายที่ทางรัฐบาลได้เคยว่ากันมา แต่สามมาตรการจะเป็นเงินที่เป็นเงินอัดฉีดสู่ชาวนาโดยตรง ผ่านทาง ธ.ก.ส. จากประสบการณ์ตัวผู้เขียนนั้น ทำนาอยู่ 28 ไร่ ในช่วงปีก่อนๆจะได้ทั้งเงินไร่ละพัน และเงินค่าชดเชยส่วนต่างราคาข้าว รวมๆกันหักลบก็จะได้กำไรอยู่ไม่มาก พอที่จะเป็นทุนต่อไปได้ และจะแบ่งมาส่วนหนึ่งเพื่อนำมาพัฒนาและวางแผนการผลิตพืชในปีถัดๆป การทำนาอินทรีย์ที่ฟังดูจะเข้าที แต่สำหรับนาแปลงใหญ่ การจะให้เห็นผลชัดเจนจะต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก และเสียค่าใช้จ่ายสูงในช่วงแรก ชาวนาจึงเลือกจะใช้วิถีเดิมๆในการทำการเกษตรอยู่ แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่หันมาทำรูปแบบการเกษตรยั่งยืนแบบดั้งเดิม เช่น นาไม่ไถ ไม่เผาตอซัง ใช้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลในการปรับปรุงคุณภาพดินไปเรื่อยๆ กำหนดการโอนเงินจาก ธ.ก.ส. จากการอัพเดตล่าสุด จะทยอยจ่ายให้เกษตรกร ตังแต่ 28 พฤษจิกายนเป็นต้นไป โอนติดต่อกัน 5 วัน โดยจะเริ่มจากชาวนาทางภาคอีสานกันก่อนภาพปก : pixabayภาพปกเทมเพลต : canvaภาพประกอบ 1 : pixabayภาพประกอบ 2 : pixabayภาพประกอบ 3 : pixabay ภาพประกอบ 4 : pixabayส่องที่เที่ยว พิกัดลับห้ามพลาด มุมถ่ายรูปสวยที่ทรูไอดีคอมมูนิตี้