สวัสดีครับวันนี้มาพบกับ AuSelect กันครับ จะมาแชร์ประสบการณ์การเลือกซื้อแรม แบบต่างรุ่นและต่างขนาดมาผสมกัน เพื่อเพิ่มแรมให้กับคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คคู่ใจของเรากันครับ ถ้าพร้อมกันแล้วตามมารับชมกันได้เลยครับ ภาพที่ 1 เมนบอร์ดที่มีแถวแรมว่างสำหรับอัพเกรดความจุแรมก่อนอื่นตัวรู้ก่อนครับว่าเจ้าแรม (RAM) เนี่ยไม่ว่าจะเป็นโน๊ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันจะถูกออกแบบมาให้ชอบทำงานเป็นคู่หรือ Dual channel ไม่ชอบทำงานเดี่ยว หรือ Single channel เพราะฉะนั้นอยากให้เพื่อนๆ ลองเปิดเครื่องออกมาตรวจสอบดูก่อนว่าที่เมนบอร์ดเครื่องของเรามีแถวแรมว่างให้เติมคู่หรือไม่ ถ้าเครื่องเรามีช่องแรมว่าง ก็เตรียมเงินซื้อแรมตัวใหม่มาเติมกันได้เลย หรือถ้าเพื่อนๆ ไม่อยากเปิดตัวเครื่องเราก็มีโปรแกรมแนะนำให้เพื่อนๆ โหลดมาใช้เพื่อตรวจสอบฮาร์ดแวร์เครื่อง นั้นก็คือ CPU-Z โดยกดที่ที่แถบ SPD และคลิกดูตรง Memory Slot Selection ถ้ายังมี Slot ไหนที่ไม่มีข้อมูลของแรม ก็แสดงว่ายังมีแถวแรมว่างให้เราซื้อมาเติมเพิ่มได้ ภาพที่ 2 ดูจำนวนช่องแรมที่ใช้อยู่ด้วย CPU-Z มาเริ่มกันที่ข้อแรกกันก่อนเลย นั้นก็คือถ้าเราจะเพิ่มแรมให้กับคอมพิวเตอร์ ให้เลือกแรมเป็นแบบ DIMM แต่ถ้าจะเพิ่มแรมให้กับโน๊ตบุ๊ค เราจะต้องเลือกแรมที่เป็นแบบ So-DIMMข้อที่สองให้ดูว่าแรมตัวเก่าของเราเป็น DDR เท่าไหร่ เลือกให้ตรง ถ้าตัวเก่าของเราเป็น DDR5 ก็ให้เลือกแบบ DDR5 เช่นกัน ถ้าซื้อมาไม่ตรงกัน ก็จะทำให้รอยบากบนตัวแรมไม่เท่ากัน และจะใส่ลงเมนบอร์ดเดียวกันไม่ได้นะครับ ภาพที่ 3 รอยบากของแผ่นแรมข้อที่สาม ความเร็วบัส (BUS) เป็นเสมือนความกว้างของถนนที่รถบรรทุกขนส่งข้อมูลวิ่งผ่าน ดังนั้นเราก็ควรจะตัดถนนให้เท่ากันทั้งสองเส้น มันก็จะรับส่งข้อมูลได้เท่าๆกัน ไม่หนักไปทางเส้นใดเส้นหนึ่งมากกว่ากัน โดยถ้าแรมตัวเดิมเราเป็น 3200 Mhz ตัวใหม่ที่จะมาเพิ่มก็ควรเป็น 3200 Mhz เป็นต้น ภาพที่ 4 ภาพสองถนนที่เท่ากันเสมือนแรมที่มีความเร็วบัสเท่ากันข้อที่สี่ แรมสูงสุด (Maximum Ram) ที่เครื่องของเราจะรับได้ อันนี้จะต้องเปิดคู่มือ ซึ่งถ้าเราทิ้งเอกสารไปแล้ว ก็สามารถหาโหลดได้ตามเว็บไซด์ของตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ผลิตได้เลยข้อที่ห้า ค่าความหน่วง หรือ Latency ของแรม (CL) ซึ่งจะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด เช่น CL 22-22-22-52 โดยแต่ละค่าก็มีความหมายของตัวเอง แต่เราไม่ต้องสนใจ เราสนใจแค่แรมที่เราจะซื้อมาใหม่นั้น ขอให้มันตรงกันทั้ง 4 ชุด ก็พอข้อที่หก (ข้อเสริม) CPU รุ่นของเพื่อนๆ รองรับการทำงานแบบขนาดแรมไม่สมมาตร (Asymmetric) หรือไม่ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถหาข้อมูลได้ตามคู่มือหรือ Datasheet ของ CPU แต่ละรุ่น ถ้าได้ก็จะเป็นตัวยืนยันอีกตัวหนึ่งว่า แกนสมองซีพียูของเรา สามารถรองรับการทำกับแรมคู่ที่มีขนาดแตกต่างกันได้ โดยทางฝั่ง Intel จะเรียกโหมดการทำงานแบบนี้ว่า Intel(R) Flex Memory Technology Operations ส่วน AMD จะเรียกว่า unganged mode ซึ่ง CPU ในยุคใหม่ๆ ก็สามารถรองรับกันได้หมดแล้วจากทั้ง 6 ข้อหลักการนี้ ทาง AuSelect ก็ได้ทดสอบผสมแรมกับตัวเองเพื่อเป็นหนูทดลองให้เพื่อนๆ กันสักหน่อย โดยเราได้ทำการเพิ่มแรมโน๊ตบุ๊ค MSI GF63 THIN 10UC-462TH ที่ใช้ CPU Comet lake i5-10500H ของทาง Intel เดิมให้แรมมาที่ 8GB เป็นของ Nanya และสามารถอัพแรมเพิ่มได้สูงสุดที่ 64 GB เราจึงได้ทำการเพิ่มแรม 16 GB ของทาง G.Skill เข้าไป โดยหวังว่าจะได้แรมรวมเป็น 24 GB ภาพที่ 5 เปรียบเทียบสเปคของแรมต่างรุ่นต่างขนาด Nanya 8GB + G.Skill 16GBหลังจากที่ผสมแรมแล้วก็เครื่องก็สามารถทำงานได้ปกติ โดยที่มีแรมรวมเป็น 24 GB ซึ่งเราได้ใช้งานเครื่องเฉลี่ยวันละ 3-4 ชั่วโมง และใช้งานต่อเนื่องกันมาครึ่งปีแล้ว ยังไม่มีอาการผิดปกติ จอฟ้า หรือ จอดำ แต่อย่างใด ภาพที่ 6 แรมรวม 24 GB ใช้งานได้แบบ Dual Channelสรุปแล้วเราสามารถผสมแรมที่ต่างรุ่นต่างขนาดกันได้ โดยที่ควรจะให้ค่าสเปค DDR, BUS, CL เท่ากัน เพื่อให้การทำงานของแรมเข้ากันได้มากที่สุด แต่ก็อยากให้เพื่อนๆ เผื่อไว้เอาไว้ด้วยว่า ยังไงมันก็ไม่ใช่รุ่นเดียวกันไม่เหมือนกัน 100% นะ อาจจะมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดทางเทคนิคได้ ถ้าจะให้ดีที่สุดสมบูรณ์ที่สุด ยังไงก็ต้องซื้อแรมสองตัวที่เป็นคู่กันมาเลย อันนั้นจบแน่นอนขอขอบคุณภาพปก ภาพโดย Bongkarn Thanyakij จาก Pixabayภาพที่ 1 ภาพโดย AuSelectภาพที่ 2 ภาพโดย AuSelectภาพที่ 3 ภาพโดย Cliff Smith จาก Pixabayภาพที่ 4 ภาพโดย Adam Tumidajewicz จาก Pixabayภาพที่ 5 ภาพโดย AuSelectภาพที่ 6 ภาพโดย AuSelect เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !