รีเซต

อุตุฯ เตือนพายุมู่หลาน ฉบับ 7 'เหนือ-อีสาน-ตะวันออก' ยังหนัก หวิดท่วม น้ำป่าหลาก

อุตุฯ เตือนพายุมู่หลาน ฉบับ 7 'เหนือ-อีสาน-ตะวันออก' ยังหนัก หวิดท่วม น้ำป่าหลาก
มติชน
10 สิงหาคม 2565 ( 23:40 )
47
อุตุฯ เตือนพายุมู่หลาน ฉบับ 7 'เหนือ-อีสาน-ตะวันออก' ยังหนัก หวิดท่วม น้ำป่าหลาก

เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 10 สิงหาคม นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุมู่หลาน ฉบับที่ 7 ระบุว่า

 

เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 10 สิงหาคม พายุโซนร้อนมู่หลาน บริเวณอ่าวตังเกี๋ย มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 280 กิโลเมตร ทางตะวันออกของเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม หรือละติจูด 20.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.6 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเวียดนามตอนบน ในวันพรุ่งนี้ (11 สิงหาคม)

 

ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

 

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

 

วันที่ 11 สิงหาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 12 สิงหาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลกตาก สุโขทัย และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย ขอนแก่น อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

 

วันที่ 13 สิงหาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลกตาก สุโขทัย และเพชรบูรณ์

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเล

อันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเล

อันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง