ขอขอบคุณเครดิตรูปภาพหน้าปก จาก @wirestock โดย Free Photo | Closeup shot of an insect with wings on a tree (freepik.com) เชื่อว่าใครหลายๆคน เมื่อเข้าหน้าร้อนทีไรก็จะต้องได้ยินเสียงของสัตว์ชนิดนี้แน่นอน หากเราได้ยินเสียงพวกนั้นเมื่อไหร่ก็แสดงว่านั่นได้เริ่มต้นเข้าสู้ช่วงหน้าร้อนแล้วนั่นเอง เราจะได้ยินเสียงพวกเขาชัดขึ้นในสถานที่ที่เต็มไปด้วยต้นไม้หรือป่า เพราะทั้งลำต้น กิ่งก้านทั้งหลายโดยเฉพาะต้นไม้ที่จักจั่นโปรดปรานที่สุดคือต้นจามจุรีต่างเต็มไปด้วยแมลงชนิดนี้ทั้งนั้นซึ่งก็ไม่ต่างกับฟลอร์โชว์สาวสำหรับตัวผู้... ขอขอบคุณเครดิตรูปภาพประกอบที่ 1 จาก Leah Kelley โดย Brown and Green Insect in Tilt Shift Lens · Free Stock Photo (pexels.com) ใช่แล้วล่ะ การที่ตัวผู้ส่งเสียงออกมานั้นเพราะต้องการแสดงให้เหล่าตัวเมียได้เห็นถึงท่วงทำนองที่แสนไพเราะตัวเองเพื่อความประทับใจ เช่นเดียวกันกับคนที่ความรู้สึกประทับใจแรกพบคือรูปร่างหน้าตาก็เหมือนกันกับจักจั่น เพราะเสียงที่ออกมาจากตัวผู้แต่ละตัวนั้นแตกต่างกันออกไป และแต่ละสายพันธุ์ท่วงทำนองเสียงร้องก็จะต่างกันออกไปด้วย ตัวผู้สามารถส่งเสียงร้องออกไปได้ดังถึง 100 เดซิเบลและจักจั่นสายพันธุ์ใหญ่หรือตัวที่โตเต็มวัยจะดังได้ถึง 200 เดซิเบล ขอขอบคุณเครดิตรูปภาพประกอบที่ 2 จาก Chris F โดย 10+ Best Cicada Photos · 100% Free Download · Pexels Stock Photos เสียงร้องที่มีแต่ตัวผู้เท่านั้นที่ทำได้ถึงแม้จักจั่นจะสามารถทำเสียงได้หลายรูปแบบ เช่น สัญญาณเตือนภัยเมื่อถูกรบกวน แต่หากเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายนของทุกปีนั้น จะเป็นช่วงที่จักจั่นขึ้นมาจากดินเพราะเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์นั่นเอง การที่เราได้ยินเสียงจากตัวผู้ที่เรียกร้องความสนใจจากตัวเมียที่ไม่สามารถทำเสียงออกมาได้ เสียงเหล่านั้นดังมาจากบริเวณใต้ลำตัวของท้องปล้องแรกต่อกับส่วนนอก และเสียงในรูปแบบต่างๆที่มาจากจักจั่นก็มีเพียงพวกเขาที่เป็นขนิดเดียวกันเท่านั้นที่รู้ว่าเสียงแต่ละแบบนั้นแตกต่างกันในสถานการณ์อะไร ขอขอบคุณเครดิตรูปภาพประกอบที่ 3 จาก PROD83 โดย Pixabay ช่วงเวลาหาคู่นั้นแสนสั้นอย่างที่รู้กันว่าจักจั่นตัวเต็มวัยที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จะมีเวลาออกมาหาคู่กันเพียงแค่ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หรือก็คือจักจั่นมีเวลาเพียงแค่ 4 เดือนหลังจากใช้เวลาฝังตัวอยู่ใต้ดินนานถึง 17 ปี หลังจากที่จักจั่นผสมพันธุ์แล้วจะตายลง ไข่ที่ตัวเมียวางไว้ตามกิ่งไม้ เปลือกไม้จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 4 เดือน และตัวอ่อนจะตกลงสู่ดินพวกเขาจะใช้เวลาหลังจากนั้นอย่างยาวนานหลายสิบปีเพื่อรอวันขึ้นสู่พื้นดินได้ลอกคราบและหาคู่ผสมพันธุ์ต่อไป ขอขอบคุณเครดิตรูปภาพประกอบที่ 4 จาก Mostafa Elmi โดย Mostafa Elmi (@mostafaelmi) | Unsplash Photo Community ขอขอบคุณเครดิตรูปภาพประกอบที่ 5 จาก murphychen โดย จักจั่น ผิว ต้นไม้ - ภาพฟรีบน Pixabay เพราะฉะนั้นใครที่รู้สึกเสียงร้องที่แสนไพเราะเหล่านั้นไม่ค่อยถูกจริตกันสักเท่าไหร่พยายามคิดซะว่ากำลังฟังเสียงเพลงจากธรรมชาติแล้วกันนะ อย่าไปรำคาญพวกเขาเลยนะคะ^^อัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !