Smart city คือ การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมาใช้บริหารจัดการเรื่องต่างๆในเมือง เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงพัฒนาเมืองในด้านต่างๆอีกด้วย แล้ว Nuclear reactor เกี่ยวอะไรกับการลดมลพิษในเมืองกันหล่ะ?? แน่นอนเมื่อเราพูดถึงเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ใน Smart city มันก็จะต้องมีการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น AI หรือ Artificial Intelligence มาบริหารระบบต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยีพวกนี้ล้วนแล้วแต่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน แม้กระทั่งตามบ้านเรือนของเราก็ใช้ไฟฟ้ากับเป็นปกติอยู่แล้วใครๆก็รู้ ที่นี้ตามปกติเราใช้ไฟฟ้ากันเท่าไหร่กันหล่ะ? จากรูปจะเป็นข้อมูลที่ทางการไฟฟ้านครหลวงได้รวบรวมข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในปีที่ผ่านๆมาตั้งแต่ปี 2548 ทำให้ทราบว่าเรามีการใช้ไฟฟ้าต่อปีเท่าไหร่ในหน่วย ล้านหน่วย ซึ่ง 1 หน่วยเท่ากับ 1000 watt ซึ่งถ้าเราคิดว่าเราใช้ไฟเฉลี่ย 50,000ล้านหน่วยใน 1 ปี จะเห็นว่าในกรุงเทพมีการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก เอาแค่ที่ใช้ในปัจจุบันก็เป็นเหตุผลที่เราควรใช้ Nuclear reactor ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อลดการใช้วิธีการผลิตไฟฟ้าอื่นๆที่จะสร้างมลพิษที่จะมากขึ้น รวมทั้งการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศที่มากขึ้น ตามไฟฟ้าที่ใช้จากการเป็น Smart city หลังจากเรารู้ถึงความจำเป็นของ Nuclear reactor แล้ว เราก็ควรทำรู้จักกันซักนิดสำหรับคนที่อาจจะยังไม่รู้ Nuclear reactor ใช้พลังงานความร้อนที่เกิดจาก Nuclear fission ในการทำให้น้ำกลายเป็นไอแล้วไปหมุนใบพัดของ Turbine หรือ เครื่องปั่นไฟ สร้างออกมาเป็นพลังงานไฟฟ้าที่นำไปใช้ตามที่ต่างๆ แล้วโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีกี่แบบ มีแค่แบบเดียวตามที่เราเคยเห็นเป็นโรงไฟฟ้าใหญ่ๆรึเปล่า? คำตอบคือ ไม่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในตอนนี้ มีทั้งหมด 3 แบบ คือ Conventional reactor ซึ่งก็คือโรงไฟฟ้าที่เราจะเห็นบ่อยๆในหนังหรือ จากข่าวที่เคยเกิดอุบัติเหตุต่างๆในอดีต Small modular reactor ซึ่งจะเป็นโรงไฟฟ้าที่มีควานคล้าย Conventional reactor แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า ค่าใช้จ่ายในการสร้างที่ถูกกว่า และสามารถออกแบบโดยเฉพาะสำหรับพื้นที่ต่างๆได้ สุดท้ายคือ Microreactor ซึ่งจะเป็นโรงไฟฟ้าเคลื่อนที่ ที่สามารถย้ายที่ตั้งได้ หลังจากเรารู้จักโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แบบแล้ว ถ้าต้องเลือกเราจะเลือกแบบไหน? ผมจะมาอธิบายตัวเลือกต่างๆตามความคิดของผม ถ้าเลือก Conventional reactor เหตุผลในการเลือกของผมคือ 1. การผลิตไฟฟ้าของ Conventional reactor สามารถผลิตได้สูงถึง 1000 MW ซึ่งหมายความว่าใน 1 ชั่วโมงจะได้ไฟฟ้า 1000 MW หรือ 1ล้านหน่วย ทำให้ใน 1 ปี จะได้ไฟฟ้า 8,760 ล้านหน่วย ซึ่งจะช่วงลดภาระของการผลิตไฟฟ้า จากแหล่งอื่นๆได้ถึง 18% โดยประมาณ ถ้าเลือก Small modular reactor เหตุผลในการเลือกของผมคือ 1. การผลิตไฟฟ้า โดย SMR สามารถผลิตได้สูงถึง 300 MW ซึ่งหมายความว่าใน 1 ชั่วโมงจะได้ไฟฟ้า 300 MW หรือ 3แสนหน่วย ทำให้ใน 1 ปี จะได้ไฟฟ้า 2,628 ล้านหน่วย ซึ่งจะช่วงลดภาระของการผลิตไฟฟ้า จากแหล่งอื่นๆได้ถึง 5% แน่นอนครับ มันอาจจะดูเหมือนน้อย แต่ smart city เริ่มแรกอาจจะใช้พลังงานมาก แต่เมื่อ เทคโนโลยีมีการพัฒนา AI มีการพัฒนา การบริโภคพลังงานก็ควรจะต้องลดลง ตามคำนิยามของ smart city นั่นจะทำให้ % นั้นเพิ่มสูงขึ้น 2. มีขนาดที่เล็กว่าแบบ Conventional reactor ทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่า 3. เราสามารถออกแบบเป็นพิเศษสำหรับตั้งในประเทศไทยได้ ซึ่งจะทำให้หาที่ตั้งได้ง่ายกว่าและมีความเหมาะสมกับพื้นที่ ที่เลือกได้อย่างลงตัว ในส่วน microreactor นั้น เหตุผลในการเลือกก็คงจะเป็นเพราะมันสามารถเครื่องที่ได้ ย้ายไปใช้ในที่ๆขาดแคลนไฟฟ้าได้ ที่นี้ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผมคงจะเป็น small modular reactor เพราะ ในไทยเรายังไม่คุ้นเคยกับการใช้ nuclear reactor ยังไม่มีคนที่มาให้ความรู้ที่มากพอ ทั้งยังมีเรื่องที่ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ nuclear reactor ไม่ทราบกันอย่างแพร่หลาย เราจึงควรเริ่มจาก small modular reactor อย่างค่อยเป็นค่อยไป เรื่องขนาดก็สำคัญ ในกรุงเทพ ทุกพื้นที่ก็คงมีเจ้าของหมดแล้ว การจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซักแห่งจำเป็นต้องใช้พื้นที่ ที่ค่อยข้างมาก หากเริ่มจาก conventional reactor ที่มีขนาดใหญ่ก็จะวุ่นวาย แถว small modular reactor จะสมารถปรับแต่งให้เข้ากับ ภูมิประเทศในจุดที่เลือกจะตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้อีกด้วย ทำให้มีความปลอดภัย และในระหว่างที่ใช้ small modular reactorเราก็ให้ความรู้ประชาชนทั่วไป เพื่อนเตรียมพร้อมสำหรับ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ๆ ที่จะมีการพัฒนามาเรื่อยๆอ้างอิงJoanne, L. What are Small Modular Reactors (SMRs)?. Vienna: IAEA Office ofPublic Information and Communication, 2021. (Typewritten) - https://www.iaea.org/newscenter/news/what-are-small-modular-reactors-smrsOECD Nuclear Energy Agency. SMALL MODULAR REACTORS: CHALLENGES AND OPPORTUNITIES, NEA No. 7560, © OECD 2021. April 2021. https://www.oecd-nea.org/jcms/pl_57979/small-modular-reactors-challenges-and-opportunitiesการไฟฟ้านครหลวง, กระทรวงมหาดไทย. สถิติหน่วยจำหน่ายแยกตามประเภท(ก.ค.65).pdf. กรุงเทพมหานคร: การไฟฟ้านครหลวง, 2565. (Typewritten) - https://www.mea.or.th/profile/122/125ภาพปกจาก rawpixel.com / freepikภาพที่1จาก freepik / freepikภาพที่2จาก การไฟฟ้านครหลวง / การไฟฟ้านครหลวงภาพที่3จาก distelAPPArath / pixabayภาพที่4จาก fietzfotos / pixabay เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !