เครดิตปก : www.unsplash.com เราหลายคงเคยรู้จักและคงคุ้นเคยกับเครื่องพริ้นท์เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะนักเรียนที่ต้องใช้ในการพริ้นท์งานทำรายงานต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ จนมาถึงวัยทำงานสร้างตัวก็หนีไม่พ้นที่ต้องใช้ในการทำงานอยู่ดี เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ประจำสำนักงานเลยก็ว่าได้ ซึ่งเครื่องพริ้นท์ที่เราเห็นและใช้กันประจำอยู่นั้นมีหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายขนาด และหลากหลายประโยชน์ตามแต่ละรุ่น โดยความสามารถก็แตกแต่งกันไปอยู่ที่วัตถุประสงค์ของการใช้งานในแต่ละองค์กรแต่โดยทั่วไปแล้วเครื่องพริ้นท์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นเครื่องพริ้นท์ประเภท 2 มิติก็คือพริ้นท์ออกมาในแบบเรียบ ๆ ลงบนกระดาษที่สามารถมองได้แค่ความกว้างและความยาวของชิ้นงาน วันนี้ผมจะพาไปดูเครื่องพริ้นท์อีกแบบที่ต่างไปจากที่เราใช้และคุ้นเคย ที่เราสามารถปริ้นงานออกมาในรูปแบบ 3 มิติได้ กับเครื่องพริ้นท์ที่เรียกว่า 3D Printer มันคืออะไร และใช้ทำประโยชน์อะไรบ้าง เครดิต : www.unsplash.com 3D Printer คือเครื่องจักรที่ใช้กระบวนการเติมเนื้อวัสดุ เพื่อทำให้เกิดเป็นรูปร่างที่สามารถจับต้องได้ตามที่ต้องการ โดยอาศัยข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งการเติมเนื้อหรือพิมพ์วัสดุลงไปนั้นเรียกว่า Additive Process ซึ่งการพิมพ์นั้นจะค่อย ๆ เป็นไปทีละ Layer หรือทีละชั้น ยกตัวอย่าง ถ้าเราต้องการสร้างตึกที่มีจำนวน 25 ชั้น เราก็ต้องเริ่มสร้างจากฐานรากก่อน แล้วค่อย ๆ ต่อเสาขึ้นไปทีละชั้น ซึ่งก็เป็นหลักการเดียวกับการพิมพ์งานของ เครื่องพริ้นท์ 3 มิติ โดยทั่วไปแล้วการใช้เครื่องจักรสำหรับขึ้นแบบหรือการฉีด 3 มิตินั้นจะมีเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตและฉีดพลาสติก อุปกรณ์ชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องจักรที่มีราคาสูงมาก แต่สำหรับเครื่องพริ้นท์ 3D นี้มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และราคาไม่แพง โดนเน้นทำงานจำพวกโมเดลเล็ก ๆ เท่านั้นไม่เหมาะกับใช้ในอุตสาหกรรม เครดิต : www.unsplash.com การทำงานของ 3D Printer เครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้นก่อนที่จะพิมพ์งานได้ ต้องมีข้อมูลในรูปแบบของ Digital ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำพวก CAD (Computer Aided Design) ในการออกแบบ นอกจากจะใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบแล้ว ยังสามารถใช้ สแกนเนอร์ 3 มิติ ในการเปลี่ยนวัตถุในโลกความจริงไปเป็นไฟล์ดิจิตอล ที่สามารถนำไปใช้งานกับ 3D printer และเมื่อได้โมเดลหรือชิ้นงานในรูปของไฟล์ดิจิตอลแล้ว ก็จะนำไฟล์นั้นไปทำการ Slice หรือตัดเลเยอร์งานออกมาให้เป็นแผ่นบางๆ เพื่อที่จะให้ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ พิมพ์แผ่นหรือชั้นบางๆ นั้นทับต่อกัน จนเกิดเป็นวัตถุ 3 มิติขึ้นมา ถ้ายังนึกไม่ออก ลองนึกถึง ก้อนขนมปังก้อนยาวๆ แล้วถูกหั่นเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งถ้าเราเอาแผ่นบางๆ มาวางซ้อนกันแล้วทาแยม ลงระหว่างแผ่นขนมปัง ก็จะทำให้เกิดเป็นขนมปังก้อนยาว ก้อนเดียว ซึ่งตัวแยมนั้น ก็เปรียบเสมือนกาว ที่เอาไว้ยึดระหว่างแผ่นขนมปังนั่นเอง เครดิต : www.unsplash.com ประโยชน์ของ 3D Printer ดังที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น ประโยชน์ของเครื่องพริ้นท์ 3 มิตินั้นมีอยู่หลายด้าน อยู่ที่เราจะนำไปใช้ในด้านใด ไม่ว่าจะเป็นด้าน การแพทย์ ด้านการออกแบบโมเดล ด้านผลิตภัณฑ์ หรือแม้แต่ด้าน การศึกษา ด้านการแพทย์ นั้น โรงพยาบาลหลายแห่งได้นำเครื่องพริ้นท์ 3 มิติมาช่วยในการพริ้นท์อวัยวะจำลองต่าง ๆ ของร่างกายทำให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้นเพราะได้เห็นอย่างชัดเจนรอบด้าน ช่วยพิจารณาวิธีการรักษาที่ดีที่สุด และ ยังช่วยการวางแผนก่อนการผ่าตัด เครดิต : www.unsplash.com ด้านการออกแบบโมเดล ทั้งในวงการโมเดลและวงการภาพยนตร์ หากจะต้องการสร้างแบบจำลองอุปกรณ์หรือตัวละครต่าง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อโปรโมทหรือการทำตัวฟิกเกอร์เพื่อจำหน่ายนั้น ต้องมีการพริ้นท์แบบจำลองหรือแบบตัวอย่างโดย เครื่องพริ้นท์ 3D นี้จะช่วยลดขั้นตอนการส่งงานไปผลิตในโรงงานใหญ่ ซึ่งทำให้ลดค่าใช้จ่ายและเวลาได้เยอะเพราะสามารถพริ้นท์เองได้เลย เครดิต : www.unsplash.com ด้านการศึกษา สำหรับด้านการนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษานั้น หลายสถาบันการศึกษาได้มีการนำเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในสาขาการการออกแบบ 3D ออกแบบจิวเวอร์รี่ และอีกมากมาย ซึ่งจะทำให้นักศึกษาสามารถนำผลงานที่ตนเองออกแบบมาพริ้นท์ และออกมาเป็นผลงานที่สามารถจับต้องได้จริง ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์รอบด้านจริง ๆ