การบำบัดขยะโดยวิธีทางกลและชีวภาพของ (SUT- MBT)หลักการทำงานของกระบวนการบำบัดขยะด้วยวิธีการแบบทางกลและชีวภาพ ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (Suranaree University of Technology, Mechanical and Biological Treatment: SUT-MBT) ประกอบไปด้วย 3 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ขยะชุมชนจะถูกนำมาบำบัดด้วยกระบวนการทางกล (Mechanical Pre-Treatment) ซึ่งเป็นขั้นการเตรียมขยะมูลฝอยให้พร้อมสำหรับการย่อยสลายโดยใช้อากาศ ผ่านการคัดแยกเบื้องต้นเพื่อแยกขยะรีไซเคิล (Recyclables) และขยะอันตราย (Hazardous Waste) ออก แล้วนำไปฉีกถุงพลาสติกโดยใช้เครื่องฉีกถุง (Shredder) ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการส่วนที่ 2 คือการบำบัดทางชีวภาพในสภาวะที่มีอากาศ หรือเรียกว่ากระบวนการหมักแบบใช้อากาศ ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ทั้งความชื้นและอุณหภูมิ เป็นเวลา 15-30 วัน จากนั้นจึงนำขยะมูลฝอยหรือวัสดุที่ได้จากกระบวนการบำบัดทางชีวภาพ มาผ่านกระบวนการทางกลในส่วนที่ 3 (Mechanical Separation) โดยการนำเอาขยะมาร่อนผ่านตะแกรงหมุน (Trommel) และเครื่องสะบัดพลาสติก (Spinner) เพื่อแยกเอาขยะมูลฝอยขนาดใหญ่ที่เป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ได้ออกจากดินปุ๋ย และนำเชื้อเพลิงที่ผ่านตะแกรงหมุนเข้าสู่เครื่องคัดแยกโดยใช้ลม (Air Classifier) เพื่อคัดแยกเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่างกัน โดยเชื้อเพลิงที่ได้จากระบบจะแบ่งเป็น RDF-3 และเศษมูลฝอยเหลือทิ้ง (Waste Reject) องค์ประกอบของระบบการจัดการขยะด้วย SUT-MBTจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่ 1) ส่วนหน้า (Front-End) 2) ส่วนหมัก (Composter) และ 3) ส่วนหลัง (Back-End) โดยแต่ละส่วนมีหน้าที่และองค์ประกอบหลักดังนี้1) ส่วนหน้า (Front-End) ชุดรับขยะส่วนหน้า (Front-End) ทำหน้าที่รับขยะสดจากชุมชน โดยรถขนขยะจะมาเทกองขยะบนถาดรับขยะ หรือห้องพักขยะ และขยะทั้งหมดจะถูกคัดแยกบนสายพานลำเลียงที่สามารถสั่งให้หยุดได้ด้วยสวิตช์เท้า (Foot Switch) ในกรณีที่ต้องใช้เวลาในการคัดแยกวัสดุรีไซเคิลเพิ่มเติม จากนั้นขยะที่ถูกคัดแยกวัสดุรีไซเคิลและขยะอันตรายออกแล้วจะถูกส่งเข้าเครื่องสับย่อยขั้นต้น เพื่อทำการฉีกถุงและทำให้เศษวัสดุอินทรีย์หรืออาหารแยกออกมาจากถุงบรรจุ และจะถูกส่งเข้าโรงหมัก MBT ในกระบวนการถัดไปด้วยสายพานลำเลียง2) ส่วนหมัก (Composter) ขยะมูลฝอยที่ผ่านการเตรียมข้างต้นจะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการหมักแบบเติมอากาศ (Aerobic Digestion) โดยอินทรีย์สารจะถูกย่อยสลายจากจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในขยะเอง ทำให้ได้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เกลือซัลเฟต แก๊สแอมโมเนีย และพลังงาน ออกมาดังมีปฏิกิริยาและรายละเอียดขององค์ประกอบดังต่อไปนี้3) ส่วนหลัง (Back-End) ระบบส่วนหลังจะทำหน้าเพิ่มมูลค่าของขยะโดยการคัดแยกผลผลิตที่ได้ออกเป็นเชื้อเพลิง RDF และปุ๋ยอินทรีย์ โดยจะประกอบไปด้วยเครื่องจักรต่างๆปัจจุบันระบบจัดการขยะ SUT MBT ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพในการบำบัดขยะสูง แต่ถ้าหากประชาชนสามารถคัดแยกจากต้นทางได้ การบำบัดในลำดับถัดไปจะง่ายขึ้นมากและสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีขอบคุณรูปภาพภาพปก จาก: เจ้าของบทความภาพที่ 1-5 จาก: เจ้าของบทความอัปเดตสาระดี ๆ มีประโยชน์แบบนี้อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !