การย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศในชีวิตประจำวันของทุกคนมีส่วนทำให้เกิดน้ำเสีย และน้ำเสียนี้เมื่อไหลรวมกันไปอยู่ในธรรมชาติจะพบว่ามีการย่อยสลายสารอินทรีย์เกิดขึ้น สารอินทรีย์คือสิ่งเจือปนไปกับน้ำโดยส่วนใหญ่ทำให้คุณภาพของน้ำดีกลายไปเป็นน้ำเสีย สารอินทรีย์ที่พบในน้ำเสีย ได้แก่ สารประกอบที่เป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันและน้ำมัน สารเคมีต่างๆ และถ้าเป็นน้ำเสียโรงพยาบาลนั้นจะพบว่ามีเชื้อโรคต่างๆ ด้วยโดยปกติสารอินทรีย์ในน้ำเสียจะอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์เพื่อกำจัดความสกปรกที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการย่อยสบายสารอินทรีย์ตามธรรมชาติ จากที่ผู้เขียนได้เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียมานั้น พบว่า มีกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์หลายแบบ โดยในแต่ละแบบถูกระบุด้วยสภาวะที่เกิดขึ้นในระหว่างการย่อยสลายอินทรีย์ สำหรับในบทความนี้ผู้เขียนต้องการพูดถึงการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบใช้อากาศ ด้วยจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้อากาศค่ะ ซึ่งเป็นสภาวะการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศของเรา และระบบบำบัดน้ำเสียโดยส่วนใหญ่มักเลือกใช้หลักการนี้ในการบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้นการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ มีความจำเป็นต้องมีกระบวนการทำให้ออกซิเจนในอากาศไปเป็นออกซิเจนละลายน้ำ จากที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์มานั้น สภาวะมีอากาศเกิดได้จากเครื่องเติมอากาศผิวน้ำ เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และการละลายของออกซิเจนในอากาศด้วยกลไกตามธรรมชาติ เช่น กระแสลมที่พัดพาเอาออกซิเจนในอากาศไปสัมผัสกับผิวน้ำ จึงจะทำให้มีออกซิเจนละลายในน้ำได้ ที่วัดค่าออกมาเป็นค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Dissolved oxygen; DO) หรือที่มักถูกเรียกว่า ค่าดีโอ ค่ะการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ มีความจำเป็นต้องมีค่าดีโอมากกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L) โดยออกซิเจนละลายนี้มีส่วนทำให้จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้อากาศสามารถเจริญเติบโตอยู่ได้ จึงมีกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำตามมา การย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ ถูกนำมาออกแบบเป็นกระบวนการหนึ่งในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ เพราะผลผลิตสุดท้ายจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศเป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวน โดยการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศทำให้สารอินทรีย์ถูกเปลี่ยนรูปไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2) ไนเตรต (NO3-) และฟอสเฟต (PO₄³⁻) เป็นหลัก โดยไนเตรตและฟอสเฟตคือธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้การย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ มีความจำเป็นต้องทำการตรวจค่าดีโออย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเสียมีค่าดีโอต่ำ จากที่ผู้เขียนมีประสบการณ์มานั้นการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศที่มีการเติมอากาศด้วยเครื่องเติมอากาศสามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่มีความจำเป็นต้องบริหารจัดการเรื่องค่าไฟฟ้า แต่สำหรับการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ ที่อาศัยการมีออกซิเจนละลายน้ำด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้เพียงช่วงกลางวันเท่านั้น โดยค่าดีโอที่พบมักมีค่าค่อนข้างสูงเกินกว่าความต้องการเมื่อเทียบกับการเติมอากาศด้วยเครื่องเติมอากาศค่ะการเติมอากาศเพื่อส่งเสริมให้การย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศทำงานได้ตามปกตินั้นถูกจำกัดด้วยรูปแบบของระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ เช่น ระบบเอสบีอาร์ (Sequening Batch Reactor; SBR) ที่มีการเติมอากาศจะใช้เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ จากที่ผู้เขียนได้มีประสบการณ์มานั้นในกรณีที่ต้องปรับปรุงหรือดัดแปลงระบบบำบัดน้ำเสียสามารถใช้เครื่องเติมอากาศผิวน้ำร่วมด้วยได้ เพราะในบางเครื่องเติมอากาศใต้น้ำด้อยประสิทธิภาพในการให้อากาศในถังปฏิกิริยา แต่ไม่สามารถอาศัยการเติมอากาศด้วยการสังเคราะห์แสงในถังปฏิกิริยานี้ได้ นอกจากว่าจะปรับปรุงระบบให้มีบึงประดิษฐ์หรือสระพักน้ำผันสภาพ (Oxadation Pond) เพิ่มเข้ามาค่ะรูปแบบการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศนี้มีความอ่อนไหวง่ายในกรณีที่พบว่าค่าดีโอไม่เพียงพอในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยจะพบว่าน้ำทิ้งไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด หากเป็นการสังเกตด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะพบว่ามีแบคทีเรียในระบบตายและมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์รบกวนจากสภาวะการย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศแทนค่ะ ดังนั้นหัวใจของการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ คือการควบคุมให้ระบบมีค่าดีโอที่เพียงพอ หากอาศัยการทำงานของเครื่องกลให้ออกซิเจนมีความจำเป็นต้องบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ และถ้าพบว่าเครื่องกลด้อยประสิทธภาพในการให้อากาศลงมีความจำเป็นต้องเสริมเครื่องกลให้อากาศ ถ้าอาศัยการมีอากาศจากการสังเคราะห์แสงต้องดูแลควบคุมพืชน้ำที่ใช้บำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม ซึ่งโดยส่วนใหญ่ตามที่ผู้เขียนได้เคยมีประสบการณ์มานั้น พบว่า พืชน้ำในช่วงเต็มวัยมีความสามารถให้ออกซิเจนละลายน้ำได้สูงสุดในช่วงกลางวันเมื่อเทียบกับพืชน้ำที่แก่หรืออ่อนเกินไปค่ะจากข้อมูลที่ผู้เขียนได้พูดมานั้นจะพบว่า การย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ เป็นเรื่องของการสร้างสภาวะให้เหมาะสมต่อชนิดของจุลินทรีย์ในระบบ อย่างไรก็ตามการที่จุลินทรีย์จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ดังนั้นการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบสภาวะต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากการตรวจค่าดีโอค่ะ ในบางครั้งการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศมีความซับซ้อนมากขึ้น หากพบว่าจุลินทรีย์ในระบบตายหมดและต้องเริ่มการทำงาน (Start up) ของระบบใหม่ จึงอาจต้องอาศัยนักวิชาการที่มีความรู้ที่จำเพาะเจาะจงและมีประสบการณ์โดยตรงค่ะและทั้งหมดคือข้อมูลเกี่ยวกับการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศที่ผู้เขียนอยากบอกต่อไว้ในบทความนี้ค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณผู้อ่านไม่มากก็น้อยค่ะ หากลองอ่านและทำความเข้าใจดีๆ นั้นจะพบว่า การย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศไม่ได้เกินความสามารถในการควบคุมค่ะ ลองเอาไปปรับใช้กันค่ะเครดิตภาพประกอบบทความโดย: ผู้เขียนภาพหน้าปก โดย Tom Fisk จาก Pexelsออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaภาพประกอบเนื้อหาออกแบบใน Canva โดยผู้เขียน: ภาพที่ 1, ภาพที่ 2, ภาพที่ 3 และ ภาพที่ 4บทความอื่นที่น่าสนใจ🔴จอกผักกาด พืชน้ำที่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ อ่านเลย✳️6 หลักการบำบัดน้ำเสียชุมชน ที่ทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้น อ่านเลย❇️ทำไมต้องเติมอากาศในน้ำ ด้วยเครื่องเติมอากาศผิวน้ำ อ่านเลย🧿เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !