สวัสดีครับวันนี้มาพบกับ AuSelect ที่จะมาอธิบายหลักการบริหารเงินฉบับมนุษย์เงินเดือนแบบใช้ได้จริง ใช้ได้เลย สำหรับการจัดสรรเงินรายได้ในแต่ละเดือน ด้วยหลักการ 50:30:20 ภาพที่ 1 ภาพการแบ่งเงินตามหลักการ 50:30:20หลักการ 50:30:20 คือการแบ่งเงินรายได้ของเราเป็น 3 ส่วน ได้แก่ค่าใช้จ่ายจำเป็น 50% (Need) ค่าใช้จ่ายตามต้องการ 30% (Want) ค่าใช้จ่ายในการออมและการลงทุน 20% (Save) ค่าใช้จ่ายจำเป็นคิดเป็น 50% ของรายได้/เงินเดือน เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจริงๆ ขาดเธอไปไม่ได้ มีผลต่อการดำเนินชีวิต เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทางในการทำงาน ค่าโทรศัพท์ ค่ายา ค่าเครื่องแบบทำงาน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น ภาพที่ 2 ภาพปัจจัย 4ค่าใช้จ่ายตามต้องการคิดเป็น 30% ของรายได้/เงินเดือน เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อความสุข ทำงานทั้งเดือนไม่มีเงินซื้อความสุขเลย มันก็ถือว่าเราไม่ได้ใช้ชีวิต ห่อเหี่ยวสุดๆ ดังนั้นเงินส่วนนี้จึงสำคัญกับความสุขมากๆ เช่น ค่าเกม ค่าหนังสือที่สนใจ ค่าท่องเที่ยว ค่าอาหารจานหรู ค่าปาร์ตี้งานสังคม ค่าซองงานกฐิน เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะรวมค่าตามล่าหาความฝัน เช่น ถ้าเราชอบตุ๊กตา POPMART อยากมีครบเซ็ทของลาบูบู้ ก็ใช้เงินส่วนนี้สะสมของเหล่านี้ได้ บางทีอะไรที่เราชอบอาจจะทำให้เรามีรายได้มากขึ้นในอนาคตก็เป็นได้ ภาพที่ 3 ภาพการใช้เงินซื้อความสุขค่าใช้จ่ายในการออมและการลงทุนคิดเป็น 20% ของรายได้/เงินเดือน เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อความยั่งยืน เป็นการสร้างความมั่งคั่งและมั่นคง และเป็นเครื่องการันตีว่าตอนเราแก่หรือเกษียณอายุจะไม่เป็นภาระของลูกหลาน เงินส่วนนี้บางคนอาจจะเรียกมันว่าปัจจัย 5 เลยก็ย่อมได้ และที่สำคัญสำหรับเงินก้อนนี้นั้นยิ่งเราลงทุนหรือออมเป็นเวลานานมากเท่าไหร่ ผลตอบแทนจะก็ยิ่งดีขึ้นด้วยเท่านั้น ด้วยพลังแห่งการทบต้นทบดอก จะทำให้เงินของเรางอกเงยแบบทวีคูณ อย่างไรก็ตามการออมและการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง เราควรศึกษาหาความรู้ก่อนการลงทุน หรือทางที่ดีเพื่อนๆ ก็สามารถกดติดตาม AuSelect ไว้ได้เลย สัญญาว่าในบทความถัดๆ ไปจะมาแชร์และอธิบายข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับ การเงินมนุษย์เงินเดือน ให้เพื่อนๆ ได้ฟังกันอย่างเข้าใจและจริงใจกับทุกคนทุกท่าน ภาพที่ 4 ภาพการลงทุนให้เงินทำงานสำหรับใครที่ได้เงินเดือนมีรายได้เข้าแล้ว สิ่งแรกที่คุณควรทำเลย คือ หยิบโทรศัพท์คู่ใจของคุณขึ้นมา กดโหลดแอพพลิเคชั่นจดหรือบันทึกค่าใช้จ่าย มาไว้ใช้ได้เลย ซึ่งก็จะมีมากมายหลายแอพพลิเคชั่นให้คุณได้เลือกใช้งาน เช่น Make by Kbank, U POCKET by Krungsri เป็นต้น สิ่งนี้จะทำให้เพื่อนๆ รู้สถานะทางการเงินของตนเองว่า ในแต่ละเดือนมีใช้ค่าใช้จ่ายด้าน จำเป็น:ต้องการ:ลงทุน ไปเท่าไหร่แล้ว ควรระวัง ควรเพิ่ม-ลด ด้านไหน ให้ใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล ในกรณีที่เพื่อนๆ ลองทดลองใช้งานหลักนี้ดูแล้วพบว่า ค่าใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ สิ่งที่เพื่อนๆ ต้องทำเลยคือลดค่าใช้จ่าย คำสั้นๆ แต่สำคัญมาก ไม่งั้นคุณจะต้องเจอกับสิ่งที่เรียกว่า หนี้สิน ซึ่งหนี้สินนี้ไม่นับว่าเป็นลาภอันประเสริฐแน่นอน ดังนั้นลองดูว่าเราลดอะไรได้บ้าง ให้รีบลด เช่น คุณลงทุนเกินตัวไปหรือเปล่า เงินเดือน 20,000 บาท แต่เอาซื้อไปอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนไป เดือนละ 10,000 บาท (คิดเป็น 50%) มันก็จะเรียกว่าเกินพอดี ทำให้เราขาดสภาพคล่องและเงินมันจะขาดมือเอาได้ และยิ่งถ้าติดดอยหรือขาดทุน ชีวิตก็จะยิ่งเครียดมากขึ้น เสียทั้งตังเสียทั้งสุขภาพจิต ค่าแพ็จเกจรายเดือนต่างๆ ที่ไม่จำเป็น เช่น เราอาจจะสมัครทั้ง Netlfix, Disney, Apple TV, HBO, WeTV แบบนี้ทุกเดือนยังไงก็ดูไม่ทัน ยกเลิกบาง ดูเดือนละแอพสองแอพเอาเถอะนะหารายได้เสริม เงินไม่พอ ลดไม่ได้ ก็ต้องหาเพิ่ม ขยันเพิ่ม เช่น ขายของออนไลน์ ทำ OT แต่ก็ต้องดูด้วยว่า งานที่ทำก็ต้องไม่กระทบต่องานหลักของเรานะลดความอยาก รู้ตัวเอง หากรายได้ไม่ถึง อย่าเพิ่งคิดซื้อ อย่าใช้เงินเกินตัว อย่าแค่เพียงสายตาคนรอบข้าง เพราะในวันที่เราลำบาก คนรอบข้างไม่น่าจะเข้ามาช่วยเรา ภาพที่ 5 ภาพเงินหมดในกรณีที่ใช้เงินแล้วเหลือ และเราก็ไม่ได้ต้องการจะใช้เงินอีกแล้วในเดือนนั้นๆ ชีวิตดีแล้ว ก็แนะนำให้เพื่อนๆ ผลักเงินก้อนเข้าบัญชีเงินออมสำหรับกรณีฉุกเฉินที่ควรจะมีเพียงพอไว้เผื่อเราตกงานสัก 3-6 เดือนเป็นอย่างน้อย และหากมีเยอะมากกว่านั้นอีก แนะนำให้เรานำไปลงทุนในสินทรัพย์มั่นคงความเสี่ยงต่ำเพื่อให้มูลค่าเงินไม่ลดหายไปตามเงินเฟ้อ เช่น เงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้นด้วยหลักการ 50:30:20 นี้จะทำให้เราใช้ชีวิตด้วยเงินอย่างมีสติ สมเหตุสมผล เพราะโลกยุคนี้เคลื่อนที่ด้วยเงิน เรื่องการเงินจึงสำคัญใช้เงินให้คุ้ม สวัสดีครับขอบขอบคุณภาพปก ภาพโดย Bongkarn Thanyakij จาก Pixabayภาพที่ 1 ภาพโดย OpenClipart-Vectors จาก Pixabayภาพที่ 2 ภาพโดย Miguel Á. Padriñán จาก Pixabayภาพที่ 3 ภาพโดย Borko Manigoda จาก Pixabayภาพที่ 4 ภาพโดย Nattanan Kanchanaprat จาก Pixabayภาพที่ 5 ภาพโดย chris s จาก Pixabay เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !