รีเซต

มท. เดินหน้าโค้ชชิ่ง สร้างการรับรู้และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพ ยกระดับและพัฒนามรดกภูมิปัญญาผ้าและหัตถกรรมไทย

มท. เดินหน้าโค้ชชิ่ง สร้างการรับรู้และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพ ยกระดับและพัฒนามรดกภูมิปัญญาผ้าและหัตถกรรมไทย
TNN ช่อง16
9 ตุลาคม 2567 ( 10:03 )
17

ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พร้อมทั้งพระอัจฉริยภาพและพระกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ที่ล้วนสร้าง ประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนชาวไทย นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี จากการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่ชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน กระทรวงมหาดไทยน้อมสำนึกใน พระกรุณาธิคุณและเทิดทูนในพระวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จึงนำแนวทางตามพระดำริในการขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้ สนุก” มากำหนดเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงมหาดไทย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้จัดทำ “หนังสือ 36 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา” และ “หนังสือ สิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา” ตลอดจนอยู่ระหว่างดำเนินโครงการสมุดภาพประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 38 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา 



อันเป็นการเผยแพร่พระกรณียกิจ พระวิสัยทัศน์ และพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และรวบรวมสมุดภาพประวัติศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการเสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระกรณียกิจและ เยี่ยมราษฎร 4 ภูมิภาค ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกายสิ่งทอและการอนุรักษ์ผ้าไทย รวมทั้งกระทรวงมหาดไทยได้ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ โดยการ น้อมนำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้ ตลอดจนการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากการสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ของประเทศ เพื่อยกระดับและพัฒนาความสามารถ ด้านความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย ให้สร้างมูลค่าและสร้างรายได้ รวมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม และส่งเสริม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 



ซึ่งได้ดำเนินโครงการสร้างการรับรู้และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพทางด้านการอนุรักษ์และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าของไทย ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยได้ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างการรับรู้และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพทางด้านการอนุรักษ์และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าของไทย ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จำนวน 6 ครั้ง ณ จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี สงขลา ชลบุรี กรุงเทพฯ และจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 558 คน 



เพื่อเผยแพร่พระกรณียกิจ พระวิสัยทัศน์ และพระอัจฉริยภาพของสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทางด้านการอนุรักษ์และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าของไทย ให้กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ช่างทอผ้า ทายาทและเยาวชนของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และผู้ที่สนใจทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีความสนใจในการศึกษาเรียนรู้และพัฒนาต่อยอด ภูมิปัญญาด้านผ้าไทย ในการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยในภูมิภาคต่าง ๆ ที่กำลังจะสูญหาย ให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง นำมาซึ่งการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างชีวิตที่ดีให้กับ ช่างทอผ้าและครอบครัวอย่างยั่งยืน



โดยภายใต้โครงการสร้างการรับรู้และเผยแพร่ พระอัจฉริยภาพทางด้านการยกระดับและ พัฒนามรดกภูมิปัญญา ผ้าและงานหัตถกรรมไทย ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา  ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการสร้างการรับรู้ให้แก่กลุ่มกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ช่างทอผ้า ทายาทและเยาวชนของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP 6 จุดดำเนินการ ดังนี้


จุดดำเนินการที่1 วันที่ 18 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซาท์เทิร์น วิว อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

จุดดำเนินการที่ 2 วันที่ 2 กันยายน 2567 ณ โรงแรมมีเลีย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

จุดดำเนินการที่3 วันที่ 8กันยายน 2567 ณ โรงแรมลากูน่า สงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

จุดดำเนินการที่4 วันที่ 25 กันยายน 2567 ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

จุดดำเนินการที่5 วันที่ 27 กันยายน 2567 ณ  โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

จุดดำเนินการที่6 วันที่ 29 กันยายน 2567 โรงแรมเวลาดี นครพนม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม



โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการสร้างการรับรู้เป็นจำนวนมากรวมทั้ง 6 จุดดำเนินการมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนไม่น้อยกว่า 400 ราย  แต่ละจุดดำเนินการผู้มีเชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านผ้าไทย งานหัตถกรรมรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ที่ลงพื้นที่ร่วมให้ความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ช่างทอผ้า ทายาทและเยาวชนของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 


 

ในการจัดประชุมเชิงปฎิบัติการในครั้งนี้ ได้ช่วยกันสืบสาน รักษา และต่อยอด ภูมิปัญญาด้านงานผ้า งานหัตถกรรม ที่จะได้เรียนรู้ผ่านการถ่ายทอดของวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านผ้าและหัตถศิลป์ไทย ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบงานผ้า จนอาจสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานที่ดีที่สุดในชีวิต และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากร  และโครงการนี้มุ่งมั่นที่จะช่วยกันรักษาชาติไทยให้คงความเป็นชาติ เพราะมีวัฒนธรรมไทย มีหัตถกรรมไทย และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ให้คงอยู่คู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทยไปตราบนานเท่านาน



ภาพจาก กระทรวงมหาดไทย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง