วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 เกิดคลื่นยักษ์สึนามิที่บริเวณคาบสมุทรอินเดีย ซึ่งนับเป็นภัยพิบัติที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างขยายออกไปหลายประเทศ หนึ่งในนั้นก็คือ ประเทศไทยนั่นเอง โดยมีรายงานสัตว์ที่มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น 1วันก่อนเกิดเหตุช้างแสดงอาการเครียดแล้วร้องแผดเสียงต่อเนื่อง และ1ชั่วโมงก่อนเกิดสึนามิมีช้างวิ่งหนีขึ้นที่สูง ที่ศรีลังกา ค้างคาวบินว่อนช่วงเวลากลางวัน ส่วนอินเดียมีฝูงนกฟลามิงโกที่ทำรังวางไข่บริเวณพื้นราบต่ำก็ได้อพยพขึ้นที่สูงเช่นกัน แล้วสัตว์เหล่านี้รู้ได้ยังไง? ระหว่างมนุษย์กับสัตว์จะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการได้ยินต่างกัน มนุษย์ได้ยินเสียงแค่ในช่วงความถี่ 20-20,000 Hz. (Sonic) แต่สำหรับสัตว์นั้นได้ยินเสียงความถี่ต่ำกว่า 20 Hz. เรียกว่า “Infrasonic” หรือความถี่มากกว่า 20,000 Hz. เรียกว่า “Ultrasonic” ความแตกต่างนี้เองทำให้สัตว์มีสัญชาติญาณในการรับรู้สัมผัสมากกว่ามนุษย์นั่นเอง สัตว์ใช้ประโยชน์จากคลื่นเสียงในการดำรงชีวิต เช่น โลมาและค้างคาวปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อล่าเหยื่อแผ่นดินไหว สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด เป็นภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับกับการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกทำให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนแผ่ออกไปรอบๆ ซึ่งสัตว์ทั้งหลายสามารถรับรู้ได้จากคลื่น Infrasonic ก่อนมนุษย์จะรู้ตัวเสียอีก สัตว์จึงมีพฤติกรรมแปลกๆ เช่นสุนัขและแมว : ตัวที่เคยเชื่องจะดุร้ายขึ้นทันทีเนื่องจากมีภาวะเครียดเกิดขึ้น และมักจะวิ่งไปมา ร้องโหยหวน ปีนขึ้นต้นไม้(ที่สูง)แพนด้า : เอามือกุมหัว กระวนกระวายนก : โดยเฉพาะนกพิราบป่าที่ไวต่อสัมผัสมาก จะรีบบินอพยพหนีทันทีงู : งานวิจัยพบว่างูเป็นสัตว์ที่รู้ก่อนใครว่าจะเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากพวกมันจำศีลอยู่ในโพรงดิน ทำให้รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ง่าย งูจึงหลบภัยด้วยการขึ้นมาบนพื้นดินแม้ว่าจะเป็นฤดูหนาวก็ตาม ทั้งนี้ แม้แต่ก่อนฝนตก ก่อนเกิดพายุหรืออุบัติภัยเล็กๆ สัตว์ก็สามารถรับรู้ได้เหมือนกัน เช่นนก : หากนกบินต่ำมากแสดงว่ามีความกดอากาศต่ำ อาจเกิดฝนตกและลมพัดแรงวัว แกะ : ก่อนเกิดพายุรุนแรง พวกมันจะนอนบนพื้นราบจับกลุ่มในท่าทางป้องกันซึ่งกันและกันมด : ทำรังบริเวณโพรงใต้ดินหรือขอนไม้ผุ เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง พายุกำลังจะเข้า ทำให้อุณหภูมิและความชื้นสูงขึ้น มดก็จะรับรู้ได้ง่ายแล้วรีบอพยพกันออกจากรังวาฬ โลมา : สัตว์กลุ่มนี้ปล่อยคลื่นความถี่สูงมากๆ ออกไปแล้วให้สะท้อนกลับเข้าหาตัว เพื่อระบุตำแหน่ง ทิศทางการเคลื่อนที่ เมื่อเกิดพายุสุริยะที่ทำให้สนามแม่เหล็กโลกผิดเพี้ยนไปจากเดิม คลื่นความถี่จึงมีปัญหาด้วย ทำให้หลงเข้ามาบริเวณน้ำตื้นและเกยตื้นที่ชายหาดข้อสังเกตเกี่ยวกับช้าง นอกจากคลื่นเสียงความถี่ต่ำที่มันรับรู้ได้นั้น ยังมีอีกสิ่งที่ได้เปรียบกว่าสัตว์ชนิดอื่นอีก นั่นก็คือ "เท้า" ช้างมีเท้าที่ใหญ่มาก จึงสามารถรับรู้การสั่นสะเทือนของพื้นได้แม้จะเล็กน้อยก็ตามจากการสังเกตพฤติกรรมสัตว์เหล่านี้ทำให้บางประเทศศึกษากันอย่างจริงจัง แต่ก็พบว่าท่าทางแปลกๆ ของสัตว์ก็ไม่ได้หมายความว่ากำลังจะมีภัยพิบัติเกิดขึ้น เสมอไป การสังเกตจากสัตว์จึงเป็นเรื่องยาก และในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุ การศึกษาพฤติกรรมสัตว์จึงบ่งบอกได้ว่า สัตว์มีสัมผัสพิเศษในสิ่งที่มนุษย์ไม่มีอ้างอิง สัญชาตญาณสัตว์…การเตือนภัยแผ่นดินไหว และ สึนามิ จับพิรุธ!! ภัยธรรมชาติต่างๆ จากพฤติกรรมของสัตว์ คลื่นเสียง (Sound wave) และการได้ยินเสียง พายุสุริยะอาจทำให้วาฬเกยตื้น