รีเซต

ซีเนียร์คอมสร้างซอฟต์แวร์ใหม่ ช่วยลูกค้ารับมือ New Normal

ซีเนียร์คอมสร้างซอฟต์แวร์ใหม่ ช่วยลูกค้ารับมือ New Normal
มติชน
3 กรกฎาคม 2563 ( 14:32 )
102
ซีเนียร์คอมสร้างซอฟต์แวร์ใหม่ ช่วยลูกค้ารับมือ New Normal

ซีเนียร์คอมลั่นงานพัฒนาซอฟต์แวร์รับอานิสงส์โควิด-19 ขยายตัวไม่หยุด ลูกค้าพร้อมลงทุนรับ New Normal พิสูจน์ความเป็นตัวจริงในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่ยืนหนึ่งมาเฉียด 30 ปี

นายสมเกียรติ อึงอารี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเนียร์คอม จำกัด กล่าวว่า จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลก ต่อเนื่องถึงวิกฤตโควิด-19 ภาคธุรกิจล้วนเผชิญนานาปัญหาและอุปสรรค ต่างต้องสรรหากลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดขององค์กร ในฐานะบริษัทเป็นซอฟต์แวร์เฮาส์ ผู้นำซอฟต์แวร์ยานยนต์แห่งอนาคต และบริการทางการเงิน ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมมาประมาณ 29 ปี โดยมีอัตราการเติบโตของธุรกิจตลอดมา แม้เผชิญสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเป็นระยะๆ ล่าสุดคือ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่แก่ทุกภาคส่วน ทั้งภาคธุรกิจ ภาคสังคมทั่วโลก ก้าวสู่ยุค New Normal แต่บริษัทไม่เคยหยุดการพัฒนา และให้บริการลูกค้าตลอดมาในทุกๆ วัน ตั้งแต่ก่อน ถึงหลังมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ work from home จนถึงวันนี้ที่ธุรกิจต่างทยอยกลับสู่ระบบการทำงานปกติเกือบทั้งหมดแล้ว

พร้อมรับมือธุรกิจเปลี่ยน

บริษัทตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และวางแผนรับมืออย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2562 เพื่อขับเคลื่อนองค์กรที่มีพนักงานรวม 70 ชีวิตต้องอยู่รอด และก้าวหน้าอย่างยั่งยืน นั่นหมายถึงบริษัทต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ธุรกิจของลูกค้าเดินหน้าต่ออย่างมั่นคง ไร้รอยสะดุด

ทั้งนี้ ลูกค้าของบริษัทแบ่งตลาดเป็น 2 กลุ่ม คือ Local Market ที่เป็นผู้ค้าปลีก และ Enterprise Market ธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสาขาของบริษัทระดับโลก ซึ่งลูกค้ากลุ่มแรกยังอาจลังเล ปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลง หรือมีสภาพคล่องต่ำ แต่ลูกค้ากลุ่มหลังพร้อมเดินหน้าลงทุนขยายกิจการ เพราะมีงบประมาณเพียงพอที่จะนำมาใช้ และจำเป็นต้องลงทุนรับมือความเปลี่ยนแปลง

ไฟแนนซ์รายใหญ่ลงทุนเพิ่ม

ในฐานะผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่จับธุรกิจหลัก 2 กลุ่ม คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมการเงิน โดยกลุ่มการเงิน มีลูกค้า Local ธุรกิจเช่าซื้อ (Hire Purchase) เงินกู้ (Loan) ซึ่งยังมีฐานะเพียงพอจะทำธุรกิจ แต่มีปัญหา credit scoring ของฐานลูกค้าที่ต่างจากยุคก่อนโควิด จะลังเลการตัดสินใจลงทุน บริษัทต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ลงรายละเอียดมากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจนำไปตัดสินใจได้อย่างมีเหตุมีผล ขณะลูกค้า Enterprise มองการขยายธุรกิจระดับทั่วประเทศอย่างจริงจัง เพราะคาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันสำคัญ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีบัญชีกู้ยืมเงินต้องดูแล 5 แสน-1 ล้านบัญชี เป็นลูกค้าที่มีเพิ่มขึ้นๆ โดยเฉพาะผู้ใช้เอเอส/400 ถึงเวลาต้องย้ายฐานมาไว้บน Cloud Based/Web Based ตามการ disrupt ของเทคโนโลยี

ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ ยุค New Normal ถึงจะมีปัญหายอดขายตกแต่ไม่กระทบ Supply Chain ธุรกิจยังขยาย สภาพคล่องยังมีอยู่สูง เพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่เกือบทั้งสิ้น ซึ่งบริษัทได้รับมอบหมายให้ดูรายละเอียดซอฟต์แวร์ที่จะรองรับธุรกิจที่เปลี่ยนมิติไป การติดต่อสื่อสารระหว่างลูกค้ากับผู้ขายที่ยังต้องเว้นระยะห่าง แต่เพิ่มความสะดวกสบายด้านการทำธุรกิจ

เปิดตัวนวัตกรรมแรกของโลก

บริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นใหม่ Kanri Next: The next generation of lead management system รองรับความเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของธุรกิจลูกค้า โดยยกการทำงานโปรแกรมบริหารจัดการขายรถมาไว้บนมือถือ ด้วยแนวคิดการพัฒนา “Today Tomorrow” นำอนาคตมาทำให้เป็นจริงในปัจจุบัน ตอบโจทย์ความต้องการข้อมูลของยักษ์ยานยนต์โลกที่จะนำไปวางแผนการผลิต และการจำหน่ายที่เหมาะสม เป็นการใช้นวัตกรรมซอฟต์แวร์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจได้ เกิดประโยชน์ทั้งแก่ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้จัดการฝ่ายขาย ตัวแทนขาย และลูกค้าผู้ซื้อรถ

Kanri Next ถือเป็นนวัตกรรมแรกของโลกที่เป็น Data Visualization เฉพาะด้านยานยนต์ โดยดึงข้อมูลเรียลไทม์มาใช้โดยไม่ต้องคาดเดาเชิงสถิติ ไม่ต้องรอสรุปข้อมูลรายเดือน ผู้ผลิตจะรับทราบข้อมูลต่างๆ เช่น การนัดหมายจองรถเพื่อทดสอบ (Test Drive) ของลูกค้า คำสั่งซื้อต่างๆ ความสนใจรถรุ่นต่างๆ ประกอบการตัดสินใจวางแผนการผลิต หรือโปรโมตสินค้าได้ตรงเป้าหมาย จัดโปรแกรมการขายที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย เป็นต้น ผู้จัดการซึ่งดูแลทีมขายจะวางแผนบริหารเซลส์ได้ถูกต้อง เข้าช่วยแก้ปัญหาทันท่วงที ลูกค้าได้ประโยชน์ ตัวแทนขายมีข้อมูลตอบสนองความต้องการของลูกค้า และจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เกิด paperless จริง จากการนำเอไอเข้ามาใช้ จะทำให้ได้ข้อมูลสำคัญระยะ 2-3 เดือน ซึ่งจำเป็นต่อการตัดสินใจทางธุรกิจมากกว่าข้อมูลรายปี และจะเก็บข้อมูลบิ๊ก ดาต้า นำไปสร้างโปรแกรมเวอร์ชั่นที่ชาญฉลาดเพิ่มขึ้นๆ

หน้าตาของโปรแกรมออกแบบ User Interface (UI) ที่ใช้งานสะดวก คล่องตัว ทำความเข้าใจง่าย ข้อมูลดิบมาเปลี่ยนเป็นกราฟ แผนภูมิ สร้าง dash broad อธิบายปริมาณ ตัวเลขที่ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลเหล่านั้น เปลี่ยนแนวคิดการสร้างคุณค่าข้อมูล ให้ค้นพบรูปแบบใหม่ๆ และมองเห็นแนวโน้มของข้อมูลมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง