ทักษะเฉพาะตัวในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์สอนกฎหมาย รวมถึงเป็นนักอ่าน และช่างสงสัย ขออนุญาตแนะนำนิสิต/นักศึกษา และบรรดาว่าที่นิสิตใหม่ว่า เรียนกฎหมายไม่ใช่อาศัยเพียง "ความจำ" แต่มันต้อง "เข้าใจ" และช่วย "สงสัย" หรือ ถามในประเด็นที่กำลังอ่าน/เรียนด้วย นั่นอาจเป็นเพราะเมื่อเหล่าบัณฑิตกำลังจะจบ หรือจบไปแล้ว คุณจะไม่มีอาจารย์ไว้สอบทานอีกแล้ว เพราะการทำอะไรผิดพลาดจะเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่ผิดจากการทำข้อสอบ ดังนั้นทักษะที่สมควรมีอยู่ติดตัวเลยนั่น คือ ต้องหัดเอ๊ะ/สังเกต/สงสัยไปเรื่อย ใครคือเจ้าของบัตร ATMยกตัวอย่างอาจารย์เองสมัยเป็นนิสิตอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ผมเองได้หยิบบัตร ATM ขึ้นมา เลยแอบเห็นว่า บัตรนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร มันจึงเกิดคำถามในใจมาตลอดว่า ในฐานะผู้ถือบัตร ทำไมธนาคารต้องสงวนกรรมสิทธิ์ไว้ แต่ผมเพิ่งจะมาอ๋อเมื่อเพื่อนร่วมรุ่นที่ทำงานธนาคารอธิบาย (ใช่ครับ อาจารย์เก็บความสงสัยมา 10 ปี) ทำให้อาจารย์ถึงบางอ้อว่า ถ้าธนาคารไม่สงวนกรรมสิทธิ์ไว้ พอผู้ถือบัตรโทรไปอายัดบัตร แล้วทำการระงับบัตรมิให้ท่านใช้งาน อาจทำให้การใช้งานสะดุดหยุดลง ถ้ามองเรื่องความปลอดภัย ก็ไม่ควรจะมีปัญหา แต่ถ้ามองในมิติของกฎหมาย เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มีสิทธิใช้อำนาจความเป็นเจ้าของได้เต็มที่ มันจะเท่ากับความผิดทางอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ หรืออาจเข้าเหตุละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งได้ คำตอบนี้ได้รับการอธิบายอย่างชัดแจ้งไม่มีข้อกังขาอีกต่อไป หากเหตุเกิดจากผล การที่อาจารย์มีนิสัยช่างคิดช่างถาม มันเลยถือเป็นอาวุธลับที่จะหยิบมาช่วงเวลาไหนก็ได้ ไม่ต้องไปเสียเวลาฝึก เคล็ดลับอ่านหนังสือขออนุญาตบอกเคล็ดลับในการอ่านหนังสือครับ คือ อาจารย์จะชอบขีดเขียน และชอบเขียนคำถามที่เกิดขึ้นในขณะอ่านว่า "ทำไม" ไม่ใช่ว่า "คืออะไร" บางทีก็จะ หึ หรือ เอ๊ะ แล้วความสงสัยจะค่อย ๆ คลายปมเมื่ออ่านไปเรื่อย ๆ เข้าลักษณะการอ่านเน้นคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ จึงไม่แปลกที่จะเห็นนิสิตบางท่าน เข้ามาถามว่าอาจารย์อ่านหนังสืออย่างไรให้จำได้ อาจารย์มักตอบว่า ไม่เน้นจำนวนหน้า แต่เน้นความเข้าใจ หรือ กล่าวอย่างง่าย คือ อธิบายเพื่อน/ลูกศิษย์เข้าใจได้ในภาษาที่ง่าย ๆ และพร้อมให้นิสิตถามเสมอ (ในเวลาราชการ) และที่สำคัญ คือ จะมีวลีติดปาก ได้แก่ "แล้วถ้า" ถามไปเรื่อย ๆ จนกว่าตัวอาจารย์จะเข้าใจ ฝากไว้ให้คิดก่อนจะจากกันไป อาจารย์ฝากไว้ให้ เอ๊ะ ดังต่อไปนี้1. ทำไมการตีความกฎหมาย แพ่ง กับ อาญาจึงต่างกัน?2. ถ้าตามกฎหมายแพ่ง องค์กรธุรกิจ ถือเป็นนิติบุคคล แต่การทุบอาคารสำนักงานทิ้งทำไมจึงไม่ผิดฆ่าผู้อื่น ตามกฎหมายอาญาตามมาตรา 288? (กฎหมายแพ่ง-พาณิชย์ และกฎหมายอาญา - กฎหมายคนละฉบับ)มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีอนึ่ง ผู้อื่น นั้นควรหมายถึงบุคคลธรรมดา (ที่มีชีวิต) ตามกฎหมาย และ "นิติบุคคล" ก็เป็นบุคคลตามกฎหมายแพ่งคำตอบคือ 288 ต้องหมายถึงบุคคลที่มีชีวิตเท่านั้น การฆ่าทารกที่ยังไม่เกิด (แท้ง) ก็ดี หรือ ทำลายอาคารสำนักงานก็ดี จึงมิใช่การฆ่าคนตามมาตรา 288 ที่มุ่งคุ้มครอง "คนธรรมดา" มิใช่บุคคลสมมุติ เช่น นิติบุคคล ส่วนการฆ่าทารก = ทำให้แท้งลูก ไม่ใช่การฆ่าคน เพราะสภาพบุคคลเริ่มแต่เมื่อคลอด อยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย *** สังเกตว่า สภาพบุคคลในส่วนนี้ย่อมหมายถึงบุคคลธรรมดา มิใช่บุคคลสมมุติที่เกิดขึ้น (ส่วนใหญ่) ด้วยการจดทะเบียน เช่น บริษัท ฯ อ๋ออออออ? 3. ทำไมผู้เยาว์ทำนิติกรรมจึงจำกัดความสามารถ แต่ถ้าบรรลุนิติภาวะถึงไม่ถูกจำกัด?4. ทำไมเกณฑ์เรื่องอายุของเยาวชน ระหว่างกฎหมายแพ่ง อาญา และมหาชน จึงต่างกัน?5. ทำไม กรรมสิทธิ์ถึงไม่ไปพร้อมการส่งมอบ?6. อนุวัติการ คืออะไร ทำไมต้องอนุวัติการ?7. ทำไมอาจารย์ชอบถามอะไรให้ งง -เอ๊ะ- ?เครดิตภาพ : ปก / ภาพที่ 1 / ภาพที่ 2 / ภาพที่ 3 / ภาพที่ 4 เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !