น้องซิ่วมาแล้วหลายปี?ทำยังไงดีกี่ปีก็สอบเข้าเรียนหมอไม่ได้?#อยากไปแตะขอบฟ้าแต่เหมือนว่าไม่มีใครเข้าใจ ก็เรือน้อยอยากออกจากฝั่ง..ก็คนอยากเป็นหมอ!!!ค่าเทอมล่ะ? เอกชนไทยแพงกว่าเมืองนอกจนพ่อแม่ถอนใจเฮือกใหญ่ จะส่งไหวถึงฝั่งหรือจะพายเรือกลับบ้านก่อนเพราะท่อน้ำเลี้ยงหมดก๊อก?อเมริกา อังกฤษก็ปีละเป็นล้าน ยุโรปบางประเทศก็ปาเข้าไปแค่ค่าเทอมก็ปีละเกินครึ่งล้าน ค่ากินอยู่อีกเท่าไหร่?Eastern Europe ไง, น่าสนใจนะ เรามาดูกันว่าฝั่งนี้ (ที่ดูไม่แพงเลย ไม่แพ๊งงงแบบเสียงสูงโซปราโน) น้องเราเลือกสมัครเรียนต่อเพื่อเข้าเรียนแพทยศาสตร์ (หลักสูตรเตรียมตัวด้านภาษาโรมาเนียนเพื่อศึกษาต่อแพทยศาสตร์) ที่มหาวิทยาลัย Babes Boyai เมือง Cluj Napoca อยู่ในแคว้นทรานซิลวาเนีย ( นั่นแหละ ที่มีปราสาทท่านเคาท์แดรกคูลาอยู่ไม่ไกลกันเท่าไหร่) สาขานี้อยู่ใน Faculty of letter เพราะเรียนด้านภาษา แต่หลักสูตรนี้กระทรวงการศึกษาธิการประเทศโรมาเนียออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาต่างชาติที่ต้องการเรียนหมอไม่ว่าจะหลักสูตรภาษาอะไร ( ที่นั่นมีหลักสูตรEnglish/French/German/Hungarian/Romanian) เด็กยุโรปมากมายทั้งใน EU /EEA ก็ไปเรียนกันเยอะแยะ และจำนวนไม่น้อยที่สมัครเข้าหลักสูตรนี้เพื่อเตรียมพร้อมด้านภาษาโรมาเนียนให้ได้ใบ Level 1 (ใบ Level 1 นี่พอได้มาหลังสอบเสร็จ ก็เอาไปใช้สมัครเรียนหมอได้เลย แต่น้องเราสบายไปแล้ว เพราะสถานะนักศึกษาหลักสูตรนี้ใช้สมัคร Early Admission ได้ โดยไม่ต้องใช้ผลวัดระดับภาษาใดๆอีก เดี๋ยวเรามารีวิวให้น้องรอบหลังนะอันนั้น ว่าจะสมัครเข้าเรียนแพทย์ต้องใช้อะไรบ้าง เจออะไรบ้าง เพราะมันเยอะ บอกเลย มันเยอะมากกกก )ทำไมถึงประเทศโรมาเนียล่ะ? นอกจากค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ถูกสุด ( ตามงบประมาณไงล่ะ) ในยุโรปแล้วนั้น โรมาเนียเองก็อยู่ใน EU ที่มีการศึกษาระบบยุโรปที่สามารถโอนย้ายไปในประเทศที่เป็นสมาชิกยูโรเปียนยูเนี่ยนหรือสหภาพยุโรปนั่นเองประเทศนี้เริ่มป๊อปปูลาห์ในหมู่นักศึกษาไทยไปเรียนหมอและคณะอื่นๆอยู่นะ ก่อนจะตัดสินใจเราค้นคว้าหาข้อมูลกันสักหน่อย ข้อดี และข้อเสียของการไปเรียนเมืองนอก โดยเฉพาะหมอนี่ก็มีอยู่แล้วมากมาย เอาที่หลักๆ เลยดีกว่าเผื่อใครอยากตามรอยไปเรียนด้วยกัน " ข้อดี - ข้อเสีย "• ข้อดี อยู่ใน EU มีนักศึกษาไทยอยู่พอสมควร มหาวิทยาลัยแพทย์ที่ได้รับการรับรองแล้วจากแพทยสภา(และน่าจะมีเด็กไปเรียนและขอรับรองใหม่เรื่อยๆ เพราะหลักสูตรเดียวกันในสหภาพยุโรป) ก็มีอยู่ แสดงว่ามีเด็กไทยไปเรียนแน่ๆ และขอยื่นหลักสูตรให้แพทยสภาไทยรับรองได้ทุกมหาวิทยาลัยที่สมัครเข้าไปได้เลย เพราะหลักสูตรโบล๊อกน่าเท่ากันทั้งอียู นึกออกง่ายๆ ก็แบบเด็กฝรั่งเรียนอยู่เยอรมันอยากย้ายหน่วยกิตมาโรมาเนียก็ได้ เรียนจบก็สามารถย้ายกลับไปสอบแพทย์ประเทศตนเองได้ และมหาวิทยาลัยแพทย์บางที่ก็มีโปรแกรมแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยแพทย์ที่เมืองไทยอยู่นะ แบบนักศึกษาแพทย์รามาธิบดีก็เคยไปแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยแพทย์ตีร์กูมอเรส ที่น้องเรากำลังสมัครเรียนระหว่างเรียนหลักสูตรเตรียมตัวนี่แหละค่าเทอม หลักสูตรเตรียมพร้อมที่น้องสมัครและกำลังเรียนอยู่นี่เพียงปีละสองพันยูโรหรือแปดหมื่นบาท ค่าเทอมเรียนหมอเพียงปีละหกพันยูโร ( ณ ตอนนี้เพียงสองแสนบาท บวกลบ ในห้วงเวลาแพนดามิค ค่าเงินพุ่งลงพรวดพราด) ค่าครองชีพนี่ อยู่กรุงเทพยังแพงกว่าสินะ ( ค่าที่พักเดือนละห้าพัน เจ็ดพัน กินพอๆกับบ้านเรา ถ้าหากซื้อของสด ทำอาหารเอง หนึ่งเดือนค่าใช้จ่ายไม่เกินหมื่นสองเท่านั้นล่ะ )• สถานฑูตไทยดูแลทั่วถึงเพราะคนไทยยังน้อย มีไม่มากนะในโลกนี้ ส่วนใหญ่แค่ประตูสถานฑูตยังเข้าถึงยาก แต่สำหรับที่นี่ เพราะมีคนไทยยังน้อยอยู่ ท่านฑูตทุกคนที่รับภารกิจในประเทศโรมาเนียจึงทำงานใกล้ชิดคนไทยในประเทศ นักศึกษาไทยไปรายงานตัวขอเข้าพบ ท่านก็ปลีกเวลามานั่งคุย ให้คำปรึกษา ตอบคำถามและแนะนำนักเรียนใหม่ๆ ในการปรับตัวและใช้ชีวิต โอกาสและการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ซึ่งในประเทศอื่นๆ แค่หน้าประตูยังเข้ายากลำบาก แต่นี่ตั้งแต่แค่มาลงทะเบียนคนไทย แนะนำตัวเท่านั้น ทางสถานฑูตต้อนรับขับสู้จนคุณพ่อคุณแม่ซึ้งใจ ไม่ต้องพูดถึงเวลามีปัญหา เข้าถึงสถานฑูตไทยได้ง่ายและความอุ่นใจเหมือนดั่งครอบครัวเลยล่ะ เวลามีงานอีเวนท์วันสำคัญๆ ทางสถานฑูตก็จะแจ้งให้เด็กนักเรียนไทยและคนไทยที่อาศัย (ทั้งประเทศเพียงหลักร้อยต้นๆ) ถ้าหากใครสะดวกก็จะให้มามีส่วนร่วมเสมอๆ ซึ่งในด้านสังคมแล้วถือว่าดีเลยล่ะ นี่เสียดายแทนน้องไปเรียนอีกเมืองหนึ่ง ถ้าหากได้อยู่เมืองหลวงคงได้ไปช่วยงานบ้าง ( รักเมืองไทยขึ้นมาเลยเชียว)• ข้อเสีย ไกลบ้าน คิดถึงพ่อแม่และไลฟ์สไตล์เด็กไทย class culture ที่เป็นยุโรปหรืออีกนัยคือ อยากรู้หรือ ถามสิ อ่านเอง หาเอา อ่านหนังสือเป็นตั้งๆ และต้องเรียนภาษาโรมาเนียนแม้ว่าจะเรียนหลักสูตรอังกฤษ เพื่อสอบเข้าชั้นคลินิกในปีสาม (ตามประสาการเรียนหมอในทุกประเทศที่ไม่ได้อังกฤษเป็นภาษาแม่ เช่น จีน รัสเซีย โปแลนด์..) น้องเราต้องเรียนหนักแม้แต่ในคลาสภาษาที่ต้องเจอกับนักศึกษาจากสารพัดชาติ เด็กไทยที่พื้นฐานภาษาแค่พอได้ และต้องไปเจอกับอีกภาษาหนึ่งที่ยากแบบบวกไปอีกหลายเท่า เด็กสายเอเชียแบบเราๆนี่ต้องวิ่งสู้ฟัดกัดฟันมากกว่าเขาเยอะ" สิ่งที่ควรรู้ "• ข้อควรรู้ : เรียนหมอที่นี่ พิจารณาจากคุณสมบัติเป็นส่วนใหญ่ คือ จบมัธยมปลายสายวิทย์คณิต + ผลโทอิค + เกรดสวยหน่อยก็ไปได้เริ่ดๆ + ถ้าหากมีใบประกาศนียบัตรรางวัล / อาสากาชาด /อาสาในทางการแพทย์ คะแนนก็จะบวก บวกไปอีกนะเธอส่วนหลักสูตรเตรียมพร้อมด้านภาษาโรมาเนียนเพื่อนักศึกษาแพทย์นี่ไม่ต้องใช้ผลภาษาใดๆ แค่ใบทรานสคริปต์ ใบรับรองจบ ใบประกาศนียบัคร และจบมัธยมปลายสายวิทย์คณิต ซึ่งข้อดีก็มีหลายอย่างนะ ทั้งได้ปรับตัวในการใช้ชีวิตต่างบ้านต่างเมืองแบบเครียดน้อยกว่าไปลงเรียนหมอเลย ยังได้เรียนภาษาโรมาเนียนจนได้ใบประกาศระดับ Level 1 เมื่อเข้าไปเรียนแพทย์ในปีต่อไป นอกจากชีวิตง่ายขึ้นเพราะภาษาท้องถิ่นดีกว่าคนอื่นแล้ว เมื่อถึงชั้นคลินิกในปีสามที่ต้องสอบภาษาโรมาเนียนก็ผ่านได้เลยเพราะเรียนและสอบถึงระดับแล้ว แถมยังได้สมัคร Early admission ชิลๆ ไม่ต้องเครียดไปสอบโทอิคหรือไอเอลท์เพื่อยื่นอีกแล้ว ** สอบเทียบได้ไหม? GED + SAT และถ้าหากยิ่งมี BMAT ยิ่งดี!! อายุนี่สามสิบสี่สิบก็เรียนได้ (ถ้าหากยังมีไฟ เพราะเรียนหมอนี่ร่วมสิบปีนะ)• ข้อได้เปรียบ คือ จบแล้วเหมือนไฟลท์บังคับสอบใบประกอบยุโรป ( ก็ไปเรียนถึงนู่นแล้วนะ) และยังกลับมาสอบใบประกอบโรคศิลป์ไทยได้อีก!! เลือกฝึกงานได้ทั้งในไทยและต่างประเทศ ฝึกกันตั้งแต่ปีหนึ่งนะ เขาอยากให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง• มีนักศึกษารุ่นพี่ๆ ที่ฝึกงานกับ รพ. รามา / จุฬา และ รพ. ตำรวจ ในไทย และเมืองนอกแบบอเมริกา อียิปต์ อินเดีย และในโรมาเนียเองด้วย • **** ถ้าหากสอบใบประกอบยุโรปได้ไม่ต้อง extern แล้วในไทย สบายไปเลย สอบใบประกอบโรคศิลป์ของไทยได้ก็ทำงานได้เลยนะ• มีรุ่นพี่ๆ ที่ปีนี้จะจบ หลายคนกลับไทยตามความมุ่งหวังแรก มีคนเก่งๆ ที่ไปถึง UK ด้วยเช่นกัน เรือน้อยมีความหวัง พ่อแม่ไม่ต้องส่งปีละเป็นล้าน ก็ไปเรียนยุโรปได้เก๋ๆ จากข้อมูลขั้นต้นที่ว่ามา ยุโรปตะวันออกก็เป็นตัวเลือกที่ไม่ไกลเกินเอื้อม ลองดูไหม ใครอยากไปเรียนหมอเพื่อเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ให้แก่โลก ( ที่พอเรามีโรคระบาดอาละวาดจึงรู้ว่าช่างขาดแคลน!)ยกมือขึ้น จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน! ขอบคุณภาพประกอบpic 1 : GMEG Education Group / pic 2 : GMEG Education Group / pic 3 : GMEG Education Group