เป็นที่ทราบกันทุกคนว่า โรคระบาดโควิด-19 สร้างผลกระทบทั้งทางร่างกาย เศรษฐกิจ สังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้นในภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการ และคนค้าขาย ย่อมได้รับผลกระทบเหมือนลูกโซ่ วันนี้จึงขอเล่าถึง “4 NO” การตลาดที่เปลี่ยนไปในยุคโควิด-19 และ “4 ส” การตลาดหลังยุคโควิด-19 ดังนั้นขอเรียกรวม ๆ ว่า “4 NO 4 ส”“4 NO” การตลาดที่เปลี่ยนไปในยุคโควิด-19 ประกอบไปด้วย1) “NO Touch” ผู้คนในสังคมไม่อยากแตะอะไรรอบตัว เพราะกลัวจะรับเชื้อโรคมาสู่ตัวเอง เช่น ที่จับประตู ที่กดลิฟต์ แม้แต่เงินสดที่เป็นธนบัตรและเหรียญ ก็ยังไม่อยากจับกัน มีหนึ่งอาชีพที่น่าเป็นห่วง คือ อาชีพหมอนวดและบริการสปา ที่ต้องแตะ สัมผัสกับผู้คน ในสถานที่ที่เป็นห้องอากาศไม่ค่อยถ่ายเท2) “NO Move” ลูกค้าที่ต้องการสินค้าและบริการไม่อยากเคลื่อนที่ ไม่อยากออกบ้านเดินทางไปที่ร้าน ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าบริษัทขนส่งเติบโตมากในช่วงนี้ เพราะสั่งสินค้าจากแอปพลิเคชั่น ผลต่อมาก็คือ อาชีพที่ให้คนมาหาจะต้องคิดกลยุทธ์ให้มากขึ้น เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาหาตนเอง3) “NO share” ก่อนเกิดวิกฤต การบริการที่เป็นการแชร์รถ แชร์ที่พัก มีการเติบโตที่มาก พอวิกฤตนี้เกิดขึ้นจึงทำให้คนอยู่บ้าน ไม่ได้ออกจากบ้าน กลัวการไปใช้สินค้าและห้องที่แชร์กับคนอื่น ดังนั้นการบริการนี้จึงขาดรายได้ไปหลายเดือน4) “NO Brand” แบรด์หรูและราคาแพงอาจเติบโตน้อยลง เนื่องจากผู้คนอยู่บ้านนาน ๆ ไม่รู้จะซื้อสินค้าแพงไปโชว์ใคร เมื่อก่อนไปทำงาน เจอเพื่อนร่วมงาน เจอสังคม อดีตขนาดอาหารการกินยังเลือกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็แพงมากกว่า 10 บาทเมื่อการตลาดเปลี่ยนคน เราจึงต้องปรับเปลี่ยนโดยพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หลายธุรกิจการเติบโตตัวเลขติดลบ การจะเดินหน้าต่อไปข้างหน้าในการตลาดจึงต้องตั้งสติ และปรับใหม่โดยใช้หลัก “4 ส” ประกอบไปด้วย1) “ส.สุขภาพ” มนุษย์เรามีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ต้องดี ดังนั้นสินค้าและบริการด้านสุขภาพจะดีมากในช่วงนี้และหลังยุคโควิด-19 เช่น ธุรกิจหน้ากากอนามัย ธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายสารตั้งต้นแอลกอฮอล์ ยาและเวชภัณฑ์ สินค้าพวกนี้จะขายดีไปเรื่อย ๆ ส่วนสุขภาพจิตก็สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นต้องเน้นการให้ความบันเทิง เฮฮา เป็นที่ปรึกษาเมื่อมีเรื่องทุกข์ใจ ในปัจจุบันดูได้จากอาชีพหมอดู ที่มีคิวเต็มทุกวันเลยในช่วงยุคโควิด-192) “ส.ส่ง” เมื่อลูกค้า “NO Move” เราต้องปรับการให้บริการใหม่และเร็ว โดยเน้นการจัดส่งอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ลูกค้าถูกใจ3) “ส.สารสนเทศ” อดีตที่ผ่านมาผู้บริหารมักบอกว่าประชุมออนไลน์ไม่ได้ผล แต่ปัจจุบันกลับเปลี่ยนแนวคิดแล้วว่าได้ผลจริง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ขอแค่มีข้อมูลอยู่ในมือ ก็สามารถนำเสนอและแก้ไขปัญหาได้เช่นกัน ผ่านแอปพลิเคชั่นที่ทันสมัย อาชีพที่ใช้บริการนี้บ่อยคงหนีไม่พ้นอาจารย์และครู ที่สอนสอนออนไลน์กันมากขึ้น4) “ส.สนุก” ทุกการบริการ ทุกงานที่ทำ ต้องใส่ความสนุกลงไปด้วย เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินของการบริการ และผูกใจลูกค้าในระยะยาวดังนั้น ธุรกิจและผู้ประกอบการช่วงนี้จะเป็นช่วงของการเรียนรู้ ที่จะพัฒนาการตลาด ระบบการให้บริการ และการบริการให้ดีขึ้น บนพื้นที่ฐานที่ต้องให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต เช่น สร้างแบรนด์ที่เป็นการบริโภคในขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ส่วนใหญ่ลูกค้าจะซื้อสินค้าที่เห็นผลได้ในระยะสั้น ต่อไปคนจะคิดถึงเหตุผลมากกว่าอารมณ์ (Emotion) เช่น ซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ต้องคิดก่อนว่าราคาต่างกัน 2 ถึง 3 เท่า แต่อิ่มเหมือนกัน ต้มออกมาหน้าตาเหมือนกัน แล้วจะซื้อแพงกว่าไปทำไม สรุปคือ ทุกคนที่ทำการตลาดเราต้องตั้งสติ หลังจากนั้นกลับไปทบทวนระบบในอดีต ไม่ว่าจะเป็นผลของงาน เงินที่ใส่ลงไป คนทีมีในระบบ และต้องใช้นโยบายรัฐบาลให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เช่น การหักภาษี การผ่อนชำระหนี้ สุดท้ายขอส่งแรงใจไปให้ผู้ประกอบทุกคนว่า..เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน โดยมีการพัฒนาที่ดีขึ้นติดตามพวกเราสายเที่ยวสายแดกได้ที่•𝙁𝙖𝙘𝙚𝙗𝙤𝙤𝙠 : https://bit.ly/2xbgIao•𝙔𝙤𝙪𝙩𝙪𝙗𝙚 : https://bit.ly/2W0OkAb•𝙄𝙣𝙨𝙩𝙖𝙜𝙧𝙖𝙢 : https://bit.ly/2KwSOce.ขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay รูปหน้าปก / รูปประกอบที่ 1 / รูปประกอบที่ 2 / รูปประกอบที่ 3