เชื่อได้ว่าทุกวันนี้แค่รายได้ประจำย่อมไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของแต่ละครัวเรือนอย่างแน่นอน เพราะปัจจัย 4 ในชีวิตของคนเราล้วนแล้วแต่ต้องใช้เงินในการซื้อหามาทั้งสิ้น โดยเฉพาะสิ่งของที่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคบางครอบครัวมีคนทำงานเป็นเสาหลักแค่คนเดียว แต่ต้องรับภาระเลี้ยงดูคนอีกหลายชีวิตทำให้ต้องหาลู่ทางสู่รายได้เสริมเพื่อเพิ่มรายได้ในแต่ละเดือนของตนเองให้เพียงพอต่อภาระที่ตนเองแบกรับอยู่ การเขียนบทความก็ถือว่าเป็นรายได้เสริมอีกช่องทางหนึ่งซึ่งตัวเราเองก็เคยเขียนบทความเพื่อสร้างรายได้เสริม จน ณ ปัจจุบันเขียนเพื่อหารายได้หลักให้แก่ตนเองแล้วเนื่องจากต้องลาออกจากงานประจำในช่วงที่งานค่อนข้างหายาก จึงต้องพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสด้วยการเพิ่มความขยันมากขึ้นในการสร้างสรรค์บทความขึ้นมาให้มีรายได้เพียงพอทดแทนกับรายได้ประจำที่เสียไป โดยที่ไม่มานั่งรอโชคชะตาว่าตนเองจะหางานใหม่ได้เมื่อไหร่และค่อย ๆ หางานไปควบคู่กับการเขียนบทความทำรายได้ให้กับตัวเองไปก่อน Pixabay.comเริ่มต้นการเขียนบทความด้วยความที่ตนเองเป็นคนชอบในเรื่องการเขียนเรียงความมาตั้งแต่เด็ก ๆ คือใจคุณต้องรักในการอ่านและการเขียนซึ่งการเขียนบทความในที่นี้คือการใช้โทรศัพท์หรือใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์บทความขึ้นมา ไม่ใช่การนั่งเขียนใส่สมุดเหมือนการเขียนเรียงความในสมัยที่ยังเรียนอยู่มันจึงส่งผลให้เกิดความง่ายขึ้นในการสร้างบทความขึ้นมาแต่ละบท แต่หากเราคิดคอนเทนต์งานออกเราสามารถจดโน้ตใส่สมุดไว้ก่อนแล้วนำมาใช้ในการเขียนงานบทความได้เพราะอย่างตัวเราบางทีไม่ได้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เวลาเราไปไหนมาไหนเราเห็นสิ่งที่น่านำมาเขียนถ่ายทอดเป็นบทความเราจะรีบถ่ายรูปและจดคอนเทนต์ไว้ก่อนเลย พอมีเวลาก็จะมานั่งเรียบเรียงและสร้างสรรค์ออกมาเป็นบทความนั้นเอง สำหรับเทคนิคในการเขียนบทความที่เราอยากแชร์ให้คนที่สนใจอยากลองเป็นนักเขียนหรือนำไปปรับใช้ในการเขียนบทความของตัวเองก็มีดังนี้ Pixabay.comอย่างที่กล่าวข้างต้นเลยจุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนคือ คุณต้องชอบในการอ่าน การท่องเที่ยว หรือมีความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างชัดเจน จากนั้นเอาความสนใจที่คุณมีมาถ่ายถอดเป็นเรื่องราวเพื่อเล่าเรื่องให้คนอื่นได้รับรู้ถึงสิ่งที่คุณกำลังสนใจอยู่ ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่ง ๆ นั้นในรูปแบบของตัวคุณเองคุณต้องทำตัวเป็นนักเล่าที่ดีเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ง่ายและชวนให้น่าติดตาม หลายคนเล่าเรื่องราวที่ตนเองสนใจไปจนหมดแล้วไม่รู้จะเอาอะไรมาเล่าต่ออีก คุณก็ต้องเพิ่มสิ่งที่คุณสนใจเข้าไปเรื่อย ๆ และหาข้อมูลเอาไว้เรื่อย ๆ เพื่อไม่ทำให้งานเขียนบทความของคุณมาถึงทางตัน เพราะการเขียนถึงเพียงแค่สิ่งที่คุณสนใจมากที่สุดเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นแต่การเขียนถึงสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวางขึ้นบ่งบอกว่าพัฒนาการในงานเขียนของคุณกำลังดีขึ้นเรื่อย ๆสำหรับตัวเราเองเราเขียนงานจากรูปหรือสิ่งรอบตัวเราเป็นหลักซึ่งต้องยอมรับเลยว่าแรก ๆ เรายังจับทางไม่ถูก แม้ว่าเราจะเคยเป็นนักเขียนมาก่อนแล้วแต่งานเขียนมันต้องปรับตามความต้องการของเว็บที่จ้างงานเราหรือซื้อบทความเรา ซึ่งแน่นอนแต่ละเว็บมีความต้องการที่ต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เราจับจุดได้ในเว็บของ true ID คือเขาต้องการบทความที่สื่อมาจากตัวเราและใช้ภาษาของเราในการนำเสนอ แม้ว่าเราจะเขียนถึงเรื่องราวที่อาจจะไม่ต่างจากเว็บอื่น แต่ถ้าเราสื่อสารไปในรูปแบบของตัวเราเองงานก็จะผ่านแบบง่าย ๆ Pixabay.comช่วงแรก ๆ ที่เราเขียนบทความให้ทาง true ID เรามีปัญหาเรื่องรูปภาพปกและรูปภาพประกอบเป็นอย่างมาก เพราะเรายังไม่เข้าใจในส่วนของขนาดรูปแบบและช่องทางการหารูปภาพ แต่ปัจจุบันเราเข้าใจและสามารถทำรูปภาพออกมาได้เหมาะสมกับบทความยิ่งขึ้น โดยเฉพาะรูปที่เราถ่ายมาเองจะทำให้งานเขียนเราผ่านแบบไม่ต้องแก้ไขเรื่องรูปอีกเลย หรือหากเป็นรูปจากเว็บฟรีก็หารูปที่เหมาะสมกับบทความของตัวเองหรือปรับขนาดให้พอเหมาะกับทางเว็บตั้งขนาดเอาไว้ และพยายามเน้นชื่อเรื่องให้ดูน่าดึงดูดและน่าสนใจ รูปฟรีส่วนใหญ่เราจะนำมาจาก Pixabay.com หรือ Pexels.com เป็นหลักหลายคนที่เจอคอมเม้นต์จากทีม บก. แล้วรู้สึกถอดใจเราอยากให้เปลี่ยนแนวคิด เพราะเรามองว่าการถูกคอมเม้นต์นั้นช่วยให้เรารู้ถึงข้อบกพร่องของงานเขียนเรา และในการเขียนบทความครั้งต่อไปเราจะพยายามจะไม่ให้บกพร่องเหมือนที่เคยผ่านมา ช่วงแรก ๆ เราเคยถูกให้แก้งานถึง 3 รอบจนเหลือโอกาสแก้งานครั้งสุดท้าย เราก็พยายามแก้จนผ่านให้ได้ ปัจจุบันถึงเราจะเขียนมาซักพักแล้วแต่ก็ยังมีข้อให้แก้บ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างพวกบางคำที่เราพิมพ์ตกหล่นหรือพิมพ์ผิด หรือบางทีก็มีแก้รูปเพราะรูปอาจจะไม่เข้ากับบทความของเรา และการแก้หมวดหมู่เพราะบางทีเราใส่หมวดหมู่ผิด เป็นต้น เรามองว่าการถูกคอมเม้นต์นั้นดีกว่าการถูกปฏิเสธบทความไปเลย แต่ถ้าบางคอมเม้นต์ที่เรามองแล้วว่ามันไม่ใช่หรือไม่เป็นความจริงเราก็สามารถย้อนแย้งทางทีม บก. เพื่อทำการตรวจสอบใหม่ให้เราได้ เครดิตภาพจากผู้เขียนเราเข้าใจว่าหากมองจากมุมมองการเป็นนักเขียนอยู่แล้วมันอาจจะดูเป็นเรื่องง่าย สำหรับตัวเราเองในการสร้างสรรค์งานบทความออกมาแต่ละงาน แต่เชื่อเราเถอะว่ามันอยู่ที่ใจเราและความคิดสร้างสรรค์ของเราเป็นหลักหากเราคิดว่าเราทำไม่ได้เพราะเราไม่เคยทำมาก่อนมันก็เท่ากับว่าเราจำกัดความคิดของตัวเราเองแค่เท่านั้น แต่หากเราปรับความคิดว่าเราไม่เคยทำและอยากจะลองทำมันก็จะช่วยให้คุณเองได้ลองทำอะไรในสิ่งที่คุณไม่เคยทำอีกหลากหลายอย่าง บางทีการได้ลองทำในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยทำหรือไม่ค่อยถนัดก็ถือเป็นความท้าทายในชีวิตตัวเองได้ดีที่สุด เครดิตภาพหน้าปกจาก Pixabay.com