องค์ประกอบของสารพันธุกรรมเราสามารถจัดเรียงองค์ประกอบของสารพันธุกรรมจากขนาดเล็กไปใหญ่ได้เป็น Gene DNA Chromosome Nucleus และ cell ตามลำดับ ซึ่งในบนความนี้ก็จะขอพูดถึงเพียงแค่ องค์ประกอบเพียง 3 ชนิด นั่นก็คือ Gene DNA และ Chromosome 1. Gene (ยีน) เป็นหน่วยที่ใช้ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต อยู่ภายใน DNA และอยู่บนโครโมโซม ซึ่งตำแหน่งของยีนที่อยู่บนโครโมโซมนี้ จะเรียกว่า Locus 1.1 ประเภทของยีน 1.1.1 Dominant gene (ยีนเด่น) เป็นยีนที่แสดงลักษณะเด่น เช่น ผมหยิก ผิวสี ตัวสูง จมูกโด่ง หัวล้าน และโรคเท้าแสนปม เป็นต้น มักแสดงสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ใน ภาษาอังกฤษ ‘T’ 1.1.2 Recessive gene (ยีนด้อย) เป็นยีนที่แสดงลักษณะด้อย เช่น ผิวขาว ผมตรง ความเตี้ย และโรคผิวเผือก เป็นต้น มักแสดงสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรพิมพ์เล็กใน ภาษาอังกฤษ ‘t’ 1.2 การเข้าคู่ของยีน ปกติยีนจะอยู่กันเป็นแบบ Diploid เป็นคู่ๆเรียกว่า Allele ซึ่งมีการเข้าคู่แบบ 1.2.1 Homologous gene เป็นยีนคู่เหมือน ซึ่งจะเป็นยีนพันธุ์แท้ เช่น TT หรือ tt ก็ได้ 1.2.2 Heterozygous gene เป็นยีนคู่ต่าง ซึ่งจะเป็นยีนพันทาง เช่น Tt เป็นต้น2. DNA (Deoxyribonucleic Acid) คือ กรดนิวคลีอิก ที่มีโครงสร้างเป็นสายพอลิเมอร์ ซึ่งเกิดจากหน่วยย่อยคือ Nucleotide โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 2.1 น้ำตาลเพนโทส (น้ำตาลดีออกซีไรโบส) ซึ่งประกอบด้วย C 5 อะตอม H 10 อะตอม และ O 4 อะตอม 2.2 ไนโตรเจนเบส 4 ชนิด ได้แก่ A (Adenine) T (Thymine) C (Cytosine) และ G (Guanine)ซึ่งมี A คู่กับ T และ C คู่กับ G 2.3 หมู่ฟอสเฟส จะเป็นตัวที่เชื่อม Nucleotide เข้ากับ DNA3. Chromosome (โครโมโซม) เกินจาก Chromatin มีลักษณะเป็นเส้นใยเล็กๆที่ประกอบด้วยโปรตีน อยู่กันเป็นคู่ๆ เรียกว่า Homologous chromosome 3.1 ส่วนประกอบของโครโมโซม 3.1.1 ประกอบด้วย 2 Chromatid 3.1.2 รอยคอดที่เกิดจากการขดตัวของโครโมโซม เรียกว่า Centromere 3.2 ประเภทของโครโมโซม 3.2.1 Autosome (โครโมโซมร่างกาย) 3.2.2 Sex chromosome (โครโมโซมเพศ) 3.3 จำนวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต ไม่ขึ้นกับขนาดของสิ่งมีชีวิต (สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีจำนวนโครโมโซมที่มาก) 3.2.1 จำนวนโครโมโซมของมนุษย์ มี 23 คู่ 46 แท่ง เป็น โครโมโซมร่างกาย 22 คู่ และเป็นโครโมโซมเพศ 1 คู่ 3.2.2 จำนวนโครโมโซมของแมว มี 16 คู่ 38 แท่ง 3.3.3 จำนวนโครโมโซมของสุนัขมี 39 คู่ 78 แท่ง 3.3.4 จำนวนโครโมโซมของกบมี 13 คู่ 26 แท่ง 3.3.5 จำนวนโครโมโซมของลิงชิมแปนซี มี 24 คู่ 48 แท่ง 3.3.6 จำนวนโครโมโซมของแมลงหวี่มี 4 คู่ 8 แท่ง 3.4 ความผิดปกติของมนุษย์ที่เกิดจากโครโมโซม 3.4.1 เกิดจาก Autosome - Down’s syndrome เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง - Edward’s syndrome เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง - Patau’s syndrome เกินจากโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง - Cri-du chat’s syndrome เกิดจาโครโมโซมคู่ที่ 5 แหว่งวิ่น (จำนวนโครโมโซมเท่าเดิม) 3.4.2 เกิดจาก Sex chromosome - Turner’s syndrome (X0+44) พบในผู้หญิง ไม่มีหน้าอก และเป็นหมันเนื่องจาก โครโมโซม X หายไป 1 แท่ง - Klinefelter’syndrome (XXY+44) พบในผู้ชาย มีหน้าอก เป็นหมัน เนื่องจากมีโครโมโซม X เกินมา 1 แท่ง - Triple X syndrome (XXX+44) พบในผู้หญิง มีสติปัญญาต่ำกว่าปกติ เนื่องจากมี โครโมโซม X เกินมา 1 แท่ง - Double Y syndrome (XYY+44) พบในผู้ชาย โมโหง่าย ก้าวร้าว เนื่องจากมีโครโมโซม Y เกินมา 1 แท่ง เครดิตรูปภาพหน้าปก Freepik / เครดิตรูปภาพที่ 1 Freepik / เครดิตรูปภาพที่ 2 Pixabay / เครดิตรูปภาพที่ 3 Unsplash