รีเซต

มท.สั่งผู้ว่าฯทุกจว.ยึดแนวศบค.ปลดล็อค 6 กิจการ เริ่ม 3 พ.ค. ตรังลุยทันที คลายล็อก 8 ธุรกิจวันนี้

มท.สั่งผู้ว่าฯทุกจว.ยึดแนวศบค.ปลดล็อค 6 กิจการ เริ่ม 3 พ.ค. ตรังลุยทันที คลายล็อก 8 ธุรกิจวันนี้
มติชน
1 พฤษภาคม 2563 ( 09:13 )
282
มท.สั่งผู้ว่าฯทุกจว.ยึดแนวศบค.ปลดล็อค 6 กิจการ เริ่ม 3 พ.ค. ตรังลุยทันที คลายล็อก 8 ธุรกิจวันนี้

มท.สั่งผู้ว่าฯทุกจว.ยึดแนวศบค.ปลดล็อค 6 กิจการ เริ่ม 3 พ.ค. ตรังลุยทันที คลายล็อก 8 ธุรกิจวันนี้

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดต่างๆ ขานรับมาตรการภายหลังประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ออกมาตรการผ่อนปรน เป็นมาตรฐานกลางของการเปิดให้บริการกิจการและกิจกรรมในทุกพื้นที่ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดรายละเอียดต่อไป กำหนดให้มีความเข้มข้นมากได้แต่น้อยกว่ามาตรฐานกลางไม่ได้ แนวทางการดำเนินงานต้องคำนึงจากสาธารณสุขเป็นหลัก สังคมและเศรษฐกิจตามมา โดยจะเริ่ม 3 พฤษภาคมนี้ แล้วนับไปอีก 14 วัน จะประเมินตัวเลขผู้ติดเชื้อว่ามากขึ้นหรือน้อยลง ถ้ามากขึ้นจะทบทวนใหม่ทั้งหมด ถ้าน้อยลงจะคลายมาตรการเพิ่มขึ้น

สำหรับกิจการที่จะมีการผ่อนคลายมี 6 กิจกรรมคือ 1.ตลาด 2.ร้านจำหน่ายอาคาร 3.กิจการค้าปลีกส่ง 4.กีฬาสันทนาการ 5.ร้านตัดผม เสริมสวย 6.อื่นๆ เช่น ร้านตัดขนสัตว์ ร้านรับฝากเลี้ยงสัตว์ โดย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติราชการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัด มท. และผู้บริหารระดับสูง หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด มท.ร่วมประชุม ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตั้งแต่วันที่ 1-31 พฤษภาคม และเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา นายกฯได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 4 ให้บรรดาประกาศหรือคำสั่งของผู้ว่าฯ กทม. ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อก่อนวันที่ข้อกำหนดนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปเช่นเดิม จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสนในการพิจารณาออกคำสั่งและประกาศใดๆ ให้ผู้ว่าฯรอฟังนโยบายจาก ศบค. และ ศบค.มท. เพื่อให้เกิดเอกภาพพร้อมกันทั่วประเทศ และมีข้อกฎหมายรองรับในการปฏิบัติ นอกจากนี้ รัฐบาลมีมาตรการผ่อนปรนใน 6 กิจการเพื่อให้ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตและทำมาหากินได้ แต่ต้องเป็นไปตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ขอให้ผู้ว่าฯ ทำความเข้าใจและสร้างการรับรู้กับผู้ประกอบการใน 6 กิจการดังกล่าวด้วย

นายฉัตรชัยกล่าวว่า ขณะนี้บรรดาคำสั่งและประกาศของจังหวัดที่มีผลใช้บังคับถึง 30 เมษายนนี้ ให้ถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงตามข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 4 รวมทั้งในการพิจารณาออกคำสั่งหรือประกาศของจังหวัด ขอให้พิจารณาตามนโยบาย ศบค.และให้ผู้ว่าฯเตรียมพร้อมการดำเนินตามมาตรการตามข้อกำหนด โดยให้ยึดมาตรฐานกลางของ ศบค. เป็นหลักในการปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
ขณะที่ จ.ตรัง นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตรัง เพื่อพิจารณาผ่อนปรนในบางมาตรการ

ทั้งนี้ คณะกรรมการมีมติจะออกคำสั่ง ผ่อนปรนมาตรการภายใน จ.ตรัง 8 รายการ (จากคำสั่งปิด 22 รายการ) แต่จะทำการประเมินผลทุกๆ 14 วัน เริ่ม 1-14 พฤษภาคม แบ่งออกเป็น 2 มาตรการคือ 1.มาตรการลดการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่เสี่ยง โดยมีมติให้ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อต่อไป ยกเว้นเตรียมสั่งเปิด 8 รายการ ประกอบด้วย สถานที่ออกกำลังกายโล่งแจ้ง, ร้านอาหาร, ห้องสมุดสาธารณะ ร้านจำหน่ายหนังสือ, ห้างสรรพสินค้าอนุญาตให้เปิดเพิ่มในแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และแผนกเสื้อผ้า อุปกรณ์ของใช้สำหรับแม่และเด็ก, สวนสาธารณะ ให้เฉพาะที่ออกกำลังกายและพักผ่อน, ร้านนวดแผนไทย แพทย์ทางเลือก ทุกกิจกรรม จะต้องปฏิบัติตามมาตรการของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด 2.มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค คงปิดช่องทางเข้า-ออก คนที่จะผ่านด่านเข้าจังหวัดตรัง นับจากวันที่ 1 พฤษภาคมเป็นต้นไป จะต้องผ่านกระบวนการของ สธ.ตรัง ทั้งการตรวจวัดอุณหภูมิที่ด่าน ทำบันทึกข้อมูลส่วนตัวลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการเสียบบัตรประชาชนเข้ากับการ์ดลีดเดอร์แทนการกรอกข้อมูลด้วยมือเหมือนที่ผ่านมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง