รีเซต

‘ปธ.กมธ อุตสาหกรรม สภาฯ’ ห่วงรง.ไฟไหม้บ่อย จ่อเรียกขรก.แจง ป้องเกิดซำ้

‘ปธ.กมธ อุตสาหกรรม สภาฯ’ ห่วงรง.ไฟไหม้บ่อย จ่อเรียกขรก.แจง ป้องเกิดซำ้
มติชน
3 ธันวาคม 2564 ( 20:00 )
27
‘ปธ.กมธ อุตสาหกรรม สภาฯ’ ห่วงรง.ไฟไหม้บ่อย จ่อเรียกขรก.แจง ป้องเกิดซำ้

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย(พท.) ในฐานะประธานกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า กรณีเพลิงไหม้ที่โรงงานชัยสิทธิ์บรรจุภัณฑ์และแกนกระดาษ เลขที่ 195 ม.3 ถ.บางนาตราด กม.29 อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ใกล้กับวัดบางบ่อและโรงพยาบาลรวมชัยประชารักษ์ โดยมีรถดับเพลิงกว่า 10 คันเข้าระงับเพลิงไหม้ จากการไหม้เป็นเวลานานทำให้โรงงานเกิดความเสียหาย จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ในหลายโรงงานในปี 2564 ไม่ว่าจะเป็นโรงงานหมิงตี้เคมีคอล ฯลฯ ที่ผ่านมาอาจส่งผลให้ลดความเชื่อมั่นต่อการลงทุนจากต่างชาติ สร้างความเสียหายให้กับชุมชนและสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในที่อยู่อาศัย จากที่มีการประชุมในคณะกรรมาธิการอย่างต่อเนื่อง มีการตั้งประเด็นว่าอาจด้วยประเด็นปัญหาที่เป็นปัจจัยหลักในการแก้ไขกฎหมายใน พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 ในปี 2562 ซึ่งอยู่ในยุค คสช. ที่แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทำให้ผ่านร่าง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2562 โดยมีการแก้ไขเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญของกฎหมายที่อาจส่งผลโดยตรงต่ออุบัติภัย เนื่องจาก 1.) ให้ยกเลิกมาตรา 14 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ส่งผลให้ ไม่ต้องต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ทุกๆ 5 ปี 2.) มีการปรับแก้กฎหมายเปิดช่องให้สามารถให้สร้างอาคารได้ก่อนขอใบ รง.4 ทำให้ไม่ต้องทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA/ EHIA) ส่งผลให้เป็นช่องโหว่ของจุดที่ตั้งของโรงงาน 3.) การแก้กฎหมายใน

 

“มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “โรงงาน” และ “ตั้งโรงงาน” ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “โรงงาน” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวม ตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามเพื่อประกอบกิจการโรงงาน ทั้งนี้ ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง”

 

หมายความว่า การกำหนดคำว่าโรงงาน “เปลี่ยนไป”โดยมีการกำหนดจำนวนพนักงานที่ 50 คน และเครื่องจักรที่ 50 แรงม้า เป็นตัวแปลของคำว่า “โรงงาน” นั่นหมายความว่า หากมีการแบ่งจำนวนพนักงาน มีการลดกำลังแรงม้า ที่ไม่ถึงจำนวนที่กฎหมายกำหนดก็ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นโรงงานตามกฎหมาย ทำให้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมก็จะเข้าไม่ถึง ทำให้เกิด “โรงงาน” ที่ไม่ใช้โรงงานตามกฎหมายบัญญัติ ทำให้ไม่มีหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงเข้ามากำกับ ส่งผลให้เกิดผลต่อการควบคุม เป็นผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม หากเกิดรูปแบบการจัดตั้งโรงงานเล็กๆ ที่ไม่เข้าขอบเขตของนิยามว่าโรงงาน ประเทศชาติก็อาจเสียหายโดยการไม่ได้เก็บภาษี การไม่เข้าถึงการตรวจสอบ และประชาชนได้รับความเดือดร้อน ทั้งนี้ตนจะเสนอต่อ กมธ. ให้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงในชั้น กมธ. สิ่งนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขโดยเร่งด่วน เพราะปัจจุบันชี้ให้เห็นแล้วว่าการแก้กฎหมายในสมัยรัฐบาล คสช. มิได้ช่วยให้การย้ายฐานการผลิตจากโรงงานต่างๆ ไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ลดลง

 



ด้านดร.ณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวเพิ่มเติมว่าในเบื้องต้นได้ประสานสอบถามไปยังนายเศรษฐา ขันตี รองอุตสาหกรรมสมุทรปราการ ได้ทราบว่า เหตุเพลิงไหม้ มีการสันนิษฐานเบื้องต้นว่าอาจมาจากเครื่องจักรที่ทำงานมากจึงเกิดความร้อน และด้วยเป็นโรงงานกระดาษลูกฟูกจึงทำให้เป็นเชื้อเพลิงอย่างดีทำให้เกิดเพลิงไหม้ดังกล่าว จากเหตุการณ์ไฟไหม้ดังกล่าวเป็นอาคารติดต่อกันจำนวน 5 หลัง โดยอาคารที่ 4 อาคารต้นเพลิงได้รับความเสียหายเพียงอาคารเดียว อาคารดังกล่าวด้วยเป็นโครงสร้างเหล็กหลังคาจึงได้ถล่มลงมา โดยทราบเบื้องต้นว่าไม่มีคนงานได้รับบาดเจ็บ แต่พนักงานดับเพลิงได้รับบาดเจ็บ 3-4 ราย ขณะนี้ได้สั่งการให้หยุดปฏิบัติงานในอาคารที่ 4 แล้ว ทั้งนี้จะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตาม พ.ร.บ.โรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบเครื่องจักร คัดแยกกากอุตสาหกรรม ฯลฯ ต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง