ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปีจะเป็นช่วงที่เข้าหน้าฝนหรือเข้าหน้าฝนเป็นที่เรียบร้อยแล้วในประเทศไทย นอกจากจะมีน้ำฝนตกลงมาให้เราชุ่มฉ่ำแล้ว ยังมีลมพายุที่ติดสอยห้อยตามกันมาอีกด้วย แต่สิ่งที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเราได้นั้นก็คือ"ฟ้าผ่า" โดยทางสถิติแล้ว บนโลกของเรามีปรากฏการณ์ฟ้าผ่าเกิดขึ้นถึง 3 ล้านครั้งต่อหนึ่งวันและปรากฏการณ์การฟ้าแลบ 30 ครั้งต่อหนึ่งวินาที (เยอะมาก) การเกิดฟ้าผ่าบางครั้งก็เกิดขึ้นบนก้อนเมฆ แต่ถ้าหากเกิดการผ่าลมาที่พื้นดิน และบังเอิญผ่าลงมาแถวๆบริเวณที่เราอยู่จะทำอย่างไรดี วันนี้ดิฉันจะขอพาทุกท่านมารู้จักกับวิธีป้องกันตนเองจากฟ้าผ่าค่ะ ฟ้าผ่าคืออะไร? ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้ถึงการป้องกันตนเองจากฟ้าผ่านั้น เราต้องมารู้จักกับฟ้าผ่าเสียก่อน ว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ฟ้าผ่าคือการปล่อยประจุไฟฟ้าสถิตในชั้นบรรยากาศซึ่งก่อตัวเป็นเมฆซึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ของน้ำและหยดน้ำแข็ง แรงเสียดทานที่เกิดจากหยดน้ำเหล่านี้จะสร้างประจุลบในส่วนล่างของก้อนเมฆและประจุบวกในส่วนบน เมื่อประจุมีขนาดใหญ่พอที่จะเอาชนะตัวกั้นฉนวนของชั้นบรรยากาศ สายฟ้าจะพุ่งไปผ่ายังก้อนเมฆหรือพื้นดินอื่นๆหรือที่เราเรียกว่าฝ้าผ่านั่นเอง ลักษณะ 2 แบบที่ฟ้าจะผ่าลงมาสู่พื้นดิน โดยทั่วไปสายฟ้าที่ฟ้าผ่าลงมาสู่พื้นดินนั้นมาจากเมฆที่ลอยตัวต่ำหรือเมฆชั้นล่าง มันจะดึงดูดประจุบวกจากโลก ซึ่งสะสม ณ จุดใดจุดหนึ่งบนพื้นดินและจะสร้างสายฟ้าผ่านก้อนเมฆที่ทำหน้าที่เป็นตัวนำ ฟ้าจึงผ่าลงมาสู่พื้นดินได้ แต่ยังมีอีกหนึ่งลักษณะที่เป็นอันตรายมากๆ นั่นก็คือการผ่าที่เกิดมาจากกลุ่มเมฆชั้นบน (สายฟ้าที่เป็นบวกนี้ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 5 ของการผ่าลงมาเมื่อเทียบกับสายฟ้าทั้งหมด) โดยตัวมันมีประจุมากกว่าสายฟ้าธรรมดา โดยตัวมันสามารถผ่าลงมาได้ในระยะไกลและมีกำลังไฟฟ้ามาก หลีกเลี่ยงวัสดุที่สูงๆ เนื่องจากประจุไฟฟ้าที่วิ่งผ่านเมฆอยู่ใกล้กับประจุที่อยู่สูงจากพื้นดิน การที่จะผ่าลงมาเลยนั้นเป็นเรื่องธรรมดาเพราะวัตถุอยู่ใกล้กับก้อนเมฆ เช่นเปรียบเทียบต้นไม้กับถังขยะ หากเกิดการฟ้าผ่าย่อมเกิดกับต้นไม้ก่อนเป็นอย่างแน่นอน เพราะต้นไม้เป็นวัตถุที่อยู่สูงกว่านั่นเอง หากคุณติดฝนอยู่ข้างนอกในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง คุณควรหลีกเลี่ยงวัตถุที่มีความสูงเช่นต้นไม้และอาคาร เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งกระแสไฟฟ้าโดยตรงสู่พื้นดินและกระแสไฟที่ถูกผ่าลงมาสามารถไหลทะลุเข้ามาทางเท้าได้ และหากไม่มีสิ่งใดอยู่ใกล้เคียงคุณเลย คุณก็ควรนั่งยองพร้อมกับยกส้นเท้าขึ้นเหนือจากพื้น เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ตัวเองเป็นวัตถุที่สูงที่สุด แต่อย่านอนลงราบไปกับพื้นเด็ดขาดเพราะสายฟ้าเคลื่อนที่ผ่านพื้นดินมากถึง 30 เมตรจากจุดที่มันผ่าลงมา กระแสไฟบริเวณพื้นอาจจะส่งผลอันตรายร้ายแรงให้แก่ตัวคุณได้ กฎความปลอดภัยทั่วไป เมื่อคุณเห็นหรือได้ยินเสียงฟ้าผ่าให้นับจำนวนวินาทีจนกว่าคุณจะได้ยินฟ้าร้อง และหาที่หลบในบริเวณใกล้เคียงหากจำนวนนั้นน้อยกว่า 30 วินาที สถานที่หลบฝนที่เหมาะสมคือ อาคารที่มีหลังคาผนังสี่ชั้นและพื้นฉนวนหรือยานพาหนะที่มีหลังคา เช่นรถยนต์ เป็นต้น หลีกเลี่ยงลานจอดรถในที่โล่งและรถยนต์เปิดประทุน เมื่ออยู่ภายในอาคารให้หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหรือโทรศัพท์บ้านเพราะสายฟ้าจะไหลผ่านท่อประปาและสายโทรศัพท์ คุณควรอยู่ข้างในเป็นเวลา 30 นาทีหลังจากได้ยินเสียงฟ้าร้องครั้งสุดท้าย การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากพายุผ่านไปได้ไม่กี่อึดใจและผู้คนออกไปข้างนอกก่อนเวลาอันควร หลังจากผ่านไป 30 นาทีแล้ว คุณก็สามารถมั่นใจได้ว่าพายุนั้นอยู่ไกลเกินไปที่จะผ่าลงมาได้แล้วผู้เขียน NickiePinkขอขอบรูปภาพภาพที่ 1: https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8-1056419/ภาพที่ 2: https://www.piqsels.com/en/public-domain-photo-ijhjlภาพที่ 3: https://www.needpix.com/photo/1720585/lightning-tree-silhouette-ocean-lake-water-still-tranquil-stormภาพที่ 4: https://www.pickpik.com/lightning-strike-bolt-electricity-energy-storm-40670ภาพหน้าปก: https://www.flickr.com/photos/skyseeker/14404947216