รีเซต

'โอไมครอน' นักวิชาการไทยตั้งชื่อ นู 'หมอยง' ติง ตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่เป็นหน้าที่ WHO

'โอไมครอน' นักวิชาการไทยตั้งชื่อ นู 'หมอยง' ติง ตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่เป็นหน้าที่ WHO
มติชน
27 พฤศจิกายน 2564 ( 19:33 )
46
'โอไมครอน' นักวิชาการไทยตั้งชื่อ นู 'หมอยง' ติง ตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่เป็นหน้าที่ WHO

 

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า

 

โควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.529

ไวรัสสายพันธุ์ที่พบใหม่นี้ เป็นสายพันธุ์ที่พบในแอฟริกาใต้ องค์การอนามัยโลกตั้งชื่อสายพันธุ์นี้ว่า “โอไมครอน”

 

โดยก่อนหน้านี้มีนักวิชาการ (เกิน) ของไทยได้ตั้งชื่อก่อน เป็น นู (Nu) ผมเองก็แปลกใจ ที่เราตั้งชื่อกันเอง ก็คงมีแต่ประเทศไทยนี่แหละ ที่จริงภาษากรีก ตัว N จากต้องอ่านว่า นิว (อังกฤษ: nu) หรือ นี (กรีก: νι, ตัวใหญ่ Ν, ตัวเล็ก ν) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 13 ไม่ใช่อ่านว่า นู

 

ในสมัยก่อนการตั้งชื่อไม่ว่าจะเป็นไวรัส ชื่อโรค เรามักจะใช้สถานที่ เช่นสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ชื่อสัตว์เช่นไข้หวัดหมู เป็นต้น ต่อมาพบว่า การใช้ดังกล่าวตั้งแต่ไข้หวัดใหญ่ 2009 ถ้าจะเรียกจริงๆก็จะต้องเรียกว่าไข้หวัดใหญ่อเมริกันหรือไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก เพราะพบครั้งแรกที่อเมริกา โดยมาจากเม็กซิโก อเมริกันเองไม่ยอม เพราะเหมือนเป็นตราบาป ของสถานที่ ก็เลยต้องเรียกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ต่อมา covid-19 เกิดขึ้นที่เมืองอู่ฮั่น แม้กระทั่งประธานาธิบดีสหรัฐ ก็ยังจะเรียกว่าปอดบวมจีน หรือเน้นคำว่าจีน จะเรียกโรคปอดบวมอู่ฮั่น ทางจีนก็คงไม่ยอม องค์การอนามัยโลกเลยตั้งชื่อเป็นตัวย่อของเชื้อไวรัสที่ก่อโรคเพื่อไม่ให้เกิดตราบาปต่อสถานที่

 

องค์การอนามัยโลกตั้งใจที่จะตั้งชื่อสายพันธุ์ของไวรัสก่อโรค COVID โดยใช้พยัญชนะภาษาลาตินเรียงลำดับ ดังนั้น เรียงลำดับไปถึงโอไมครอน หรือเขียนเป็นตัว Ο ο อ่านว่า โอไมครอน

 

การตั้งชื่อไวรัสโควิด- 19 ที่มีการกลายพันธุ์ องค์การอนามัยโลกจะเป็นผู้ตั้งชื่อขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนเรียกเหมือนกัน ไม่ใช่ตั้งชื่อกันเอง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง