DNS method เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการวิธีหาปริมาณน้ำตาล ซึ่งวิธีที่แพร่หลาย และสามารถใช้ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบ ซึ่งการวิเคราะห์โดยการหาปริมาณน้ำตาลนี้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และสารเคมีเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มความแม่นยำ ซึ่งหัวข้อที่ถูกหยิบยกนำมาพูดในวันนี้ เป็นการวิเคราะห์หาปริมาณของน้ำตาลรีดิวซ์มาทำความเข้าใจน้ำตาลรีดิวซ์กันก่อน น้ำตาลเป็นชื่อทั่วไปที่คนโดยส่วนใหญ่รู้จัก หากแต่น้ำตาลรีดิวซ์นั้นจะรู้จักกันในแวดวงของวิทยาศาสตร์ ซึ่งน้ำตาลรีดิวซ์นั้นก็คือ น้ำตาลที่ถูกย่อยสลายหรือที่เรียกกันว่าไฮโดรไลซิส ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ นั่นก็คือกลุ่มดีไฮด์หรือกลุ่มคีโตน ซึ่งจะมีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่ซึ่งในการทดสอบโดย DNS method สามารถนำมาใช้ในการหาความเข้มข้นของน้ำตาลโมเลกุลเดี๋ยวและโมเลกุลคู่ที่มีอยู่ได้ โดยใช้สารละลายกรดไดไนโตรสาลิไซลิก ซึ่งสารชนิดนี้ จะมีสารเคมีและปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการทำสารละลายกรดไดไนโตรสาลิไซลิกแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการนำสารละลายกรดไดไนโตรสาลิไซลิกมาใช้จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะกับงานที่ต้องการจะวิเคราะห์ ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารที่ไวต่อแสงมาก ซึ่งการทดสอบควรทำในที่มีแสงน้อย และใช้เวลารวดเร็วในการทดสอบ เครื่องมือสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ขาดไปได้นั่นคือ เครื่อง UV - VIS Spectrophotometry ซึ่งหลักการทำงานของมันก็บ่งบอกไว้ตามชื่อของมัน คือมีแสง UV เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมีข้อจำกัดอยู่ที่แสงที่ใช้ในการทดลองจะอยู่ในช่วงความยาวคลื่นของแสงที่มองเห็น นั่นก็คือประมาณ 190 - 1000 นาโนเมตร โดยวิธีการทำงานนั้นคือต้องมีสารตั้งหรือสารเปรียบเทียบที่ต้องนำมาใช้ในการทดสอบ โดยสารนี้จะไม่ถูกเปลี่ยนขณะที่ทำการทดสอบ แต่สารอีกตัวที่เราต้องการเปรียบเทียบนั้น โดยใช้สารละลายกรดไดไนโตรสาลิไซลิกกับสารที่นำมาทดสอบและนำไปวัดกับเครื่องหลังจากที่ผ่านการเจือจางเรียบร้อยแล้วในการวิเคราะห์หาปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์นั้นจะใช้สารละลายกรดไดไนโตรสาลิไซลิกผสมกับน้ำกลั่นในสัดส่วนที่แตกต่างกัน เพื่อทำการลดความเข้มข้นและเจือจางความเข้มข้นของสารละลายตัวนี้ ก่อนนำมาไปวิเคราะห์กับเครื่อง UV - VIS Spectrophotometry ซึ่งก่อนที่จะหาปริมาณของน้ำตาลรีดิวซ์ได้นั้น จำเป็นต้องต้องสร้างกราฟมาตรฐานขึ้นมาก่อน จากการใช้สัดส่วนความเข้มข้นที่แตกต่างกันของสารละลายกรดไดไนโตรสาลิไซลิก โดยวัดที่ความยาวคลื่นที่ต้องการ ก็จะได้ความเข้มข้นของน้ำตาลรีดิวซ์ที่ต้องการ เป็นค่าการดูดกลืนแสงของสารละลายข้อจำกัดในการทดสอบนั้นคือ เครื่องสามารถวัดการดูดกลืนแสงของสารที่นำมาใช้ในการทดสอบได้จำกัด เนื่องจากถ้ามีความเข้มข้นมากเกินไป ค่าการดูดกลืนแสงจะเกินค่าที่เครื่องรับไหว และไม่สามารถทราบค่าได้ ซึ่งค่าการดูดกลืนแสงที่ดีนั้นจะไม่เกิน 1 แต่ไม่เกิน 4 ขึ้นอยู่กับเครื่องที่ใช้ในการทดสอบ ดังนั้นอุปกรณ์ที่สำคัญและจำเป็นในการทดสอบอีกชนิดหนึ่งก็คือ ไมโครปิเปต อีกทั้งยังมีความแม่นยำสูงกว่ามากกว่าการใช้ปิเปตธรรมดา ในการเจือจางสารที่ต้องการทดสอบสุดท้ายนี้การใช้วิธีหาปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์หรือน้ำตาลโมเลกุลเล็กๆ โดยใช้วิธี DNS method ในการวิเคราะห์หาปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ได้แม่นยำและแพร่หลาย แต่การคำนวณหาปริมาณน้ำตาลที่อยู่ในสารที่นำมาใช้ในการทดสอบนั้นจำเป็นจะต้องใช้ UV - VIS Spectrophotometry ซึ่งถ้าไม่มีเครื่องมือตัวนี้ในการทดสอบก็ไม่สามารถหาปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ได้ และอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่าแทนที่มา : ภาพหน้าปก / ภาพที่ 1 / ภาพที่ 2 / ภาพที่ 3