ผักตบชวา ขยายพันธุ์ยังไง กำจัดแบบไหนดี มีผลเสียไหม | บทความโดย Pchalisa วัชพืชลอยน้ำได้ที่หลายคนคุ้นตากันดีน่าจะหนีไม่พ้นผักตบวา ผักตบชวาเรามักพบเห็นได้ทั่วไปในแหลงน้ำตามธรรมชาติ และถ้าใครเป็นผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระผักน้ำผันสภาพ สถานการณ์นี้ก็ทำให้พบการเจริญเติบโตของผักตบชวาเหมือนกัน แต่เป็นการนำผักตบชวามาใส่ในสระพักน้ำโดยตรงค่ะ ซึ่งผู้เขียนเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้เกี่ยวข้องกับผักตบชวาค่ะ โดยทั้งได้นำวัชพืชลอยน้ำชนิดนี้มาบำบัดน้ำเสียและใช้ประโยชน์แบบทั่วไป ดังนั้นพอพูดถึงผักตบชวาจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และมีข้อมูลหลายอย่างที่ผู้เขียนอยากส่งต่อเอาไว้ในบทความนี้ค่ะ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งคำถามหนึ่งที่หลายคนอาจสงสัยมาตลอดก็คือ ทำไมผักตบชวาถึงเกิดง่ายตายยาก? และคำตอบของเรื่องนี้มีมาให้แล้วค่ะ ดังนั้นต้องอ่านต่อให้จบ ดังเนื้อหาต่อไปนี้ คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? ผักตบชวาเป็นพืชน้ำล้มลุกที่มีลักษณะเด่นหลายอย่างมาก ดังนี้ ลำต้นและราก ลำต้น: สั้น อวบน้ำ มีไหล (Stolon) ทอดไปตามผิวน้ำแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ราก: เป็นรากฝอย มีสีม่วงดำ แตกออกมาจากลำต้นบริเวณข้อ ทำหน้าที่ช่วยในการยึดเกาะและดูดซึมสารอาหาร ดอก ช่อดอก: ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีดอกย่อยหลายดอก สีดอก: ม่วงอ่อน กลีบดอก: มี 6 กลีบ กลีบบนสุดขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ๆ และมีจุดเหลืองที่กลางกลีบ ผล ผลเป็นชนิดแคปซูล: ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ด: มีรูปร่างกลม ใบ ใบเดี่ยว: รูปไข่หรือเกือบกลม ก้านใบกลมอวบน้ำตรงกลางพองออก ภายในเป็นช่องอากาศคล้ายฟองน้ำ ช่วยพยุงให้ลำต้นลอยน้ำได้ เรียงตัวเป็นกลุ่ม: ใบจะเรียงตัวเป็นกลุ่มรอบลำต้น ผิวใบ: เรียบ มีสีเขียวเข้ม หลายคนรู้มาว่าผักตบชวาเป็นวัชพืชน้ำ ซึ่งลักษณะเด่นที่ทำให้ผักตบชวากลายเป็นวัชพืช มีดังนี้ค่ะ การเจริญเติบโตเร็ว ผักตบชวาสามารถเพิ่มจำนวนเป็น 2 เท่าภายใน 5-10 วัน ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ผักตบชวาสามารถทนต่อสภาพอากาศที่หลากหลาย สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ทำให้ควบคุมการแพร่กระจายได้ยาก การขยายพันธุ์ของผักตบชวา จากที่เราก็รู้มาแล้วว่า ผักตบชวาเป็นพืชน้ำที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง จึงทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดในแหล่งน้ำหลายแห่งอย่างมาก โดยการขยายพันธุ์ของผักตบชวามี 2 วิธีหลักๆ ได้แก่ 1. การขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ (Vegetative propagation) การแตกหน่อ: เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สำคัญที่สุดและพบได้บ่อยที่สุดในธรรมชาติ ผักตบชวาจะแตกหน่อออกจากลำต้นหลัก ซึ่งหน่อเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถแตกหน่อต่อไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นค่ะ การแตกไหล: ไหลเป็นลำต้นที่เลื้อยไปตามผิวน้ำและเมื่อถึงปลายไหลจะเกิดรากและใบขึ้น ทำให้เกิดต้นใหม่ขึ้นมาอีกต้นหนึ่ง การแตกหน่อจากส่วนที่ขาด: แม้ว่าจะตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของผักตบชวาออกไป แต่ส่วนที่ขาดนั้นก็สามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้นะคะ 2. การขยายพันธุ์แบบใช้เพศ (Sexual reproduction) การผลิตเมล็ด: ผักตบชวาสามารถออกดอกและติดเมล็ดได้ แต่การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดนั้นมีความสำคัญน้อยกว่าการแตกหน่อ เนื่องจากเมล็ดของผักตบชวาจะงอกได้ช้ากว่าและมีอัตราการรอดต่ำกว่าค่ะ โดยในธรรมชาติปัจจัยที่ไปส่งเสริมการขยายพันธุ์ของผักตบชวาอย่างรวดเร็วมีหลายอย่าง ได้แก่ สภาพอากาศ: ผักตบชวาเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งเป็นสภาพอากาศทั่วไปของประเทศไทย แหล่งน้ำ: แหล่งน้ำนิ่งหรือน้ำไหลช้าที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ เช่น น้ำเสียจากชุมชน อุตสาหกรรม หรือการเกษตร จะเป็นแหล่งที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของผักตบชวา การขยายพันธุ์: ผักตบชวาสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อเป็นวิธีที่ทำให้ผักตบชวาเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว การขาดผู้ล่าทางธรรมชาติ: ในบางพื้นที่ขาดสัตว์น้ำที่กินผักตบชวาเป็นอาหาร ทำให้ผักตบชวาไม่มีศัตรูตามธรรมชาติคอยควบคุมจำนวนประชากร การปล่อยน้ำเสีย: น้ำเสียจากชุมชน อุตสาหกรรม และการเกษตร ทำให้น้ำในแหล่งน้ำมีธาตุอาหารสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของผักตบชวา การขุดลอกแหล่งน้ำไม่สม่ำเสมอ: การขุดลอกแหล่งน้ำที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ทำให้เกิดตะกอนสะสม ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของผักตบชวา การขนย้ายผักตบชวาโดยไม่ตั้งใจ: การขนย้ายผักตบชวาไปยังแหล่งน้ำอื่นๆ อาจเกิดจากการขนส่งทางน้ำหรือติดไปกับสัตว์น้ำ ทำให้ผักตบชวาแพร่กระจายไปยังพื้นที่ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าผักตบชวาจะเป็นพืชน้ำที่ดูสวยงาม แต่เมื่อมีปริมาณมากเกินไปก็ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้ค่ะ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ทำให้น้ำเน่าเสีย: ผักตบชวามากเกินไปจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง เนื่องจากตอนกลางคืนผักตบชวาจะหายใจเอาออกซิเจนในน้ำไปใช้ ทำให้น้ำขาดออกซิเจนและเกิดการเน่าเสีย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและแมลงศัตรูพืช: ผักตบชวาที่ทับถมกันหนาแน่นเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์ของยุงและแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนและสัตว์ อุดตันทางน้ำ: ผักตบชวาจะลอยไปอุดตันตามคลอง แม่น้ำ ทำให้การระบายน้ำไม่สะดวก เกิดน้ำท่วมขัง และยังเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมทางน้ำ แย่งอาหารและพื้นที่ของพืชน้ำชนิดอื่น: ผักตบชวาจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและแย่งอาหาร แสงแดด และพื้นที่ของพืชน้ำชนิดอื่น ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำลดลง สะสมสารพิษ: ผักตบชวามีความสามารถในการดูดซับสารพิษต่างๆ เช่น โลหะหนัก สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อสะสมสารพิษมากเกินไปก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและต่อมนุษย์เมื่อบริโภคสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีผักตบชวา ซึ่งการปรับปรุงคุณภาพน้ำและสภาพแวดล้อมให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของผักตบชวาสามารถทำได้ และต่อไปนี้คือวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำและสภาพแวดล้อมค่ะ ลดปริมาณสารอาหาร: บำบัดน้ำเสีย: ก่อนปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ ควรผ่านกระบวนการบำบัดเพื่อลดปริมาณสารอาหาร ควบคุมการใช้ปุ๋ย: เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสมและหลีกเลี่ยงการปล่อยปุ๋ยลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง เพิ่มการไหลเวียนของน้ำ: สร้างระบบชลประทาน: การสร้างระบบชลประทานที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของน้ำและลดการตกตะกอนของสารอาหาร ขุดลอกแหล่งน้ำ: การขุดลอกแหล่งน้ำเป็นระยะจะช่วยเพิ่มความลึกและความกว้างของแหล่งน้ำ ทำให้ผักตบชวาลอยตัวได้ยากขึ้น ควบคุมระดับน้ำ: ปรับระดับน้ำ: การปรับระดับน้ำให้เหมาะสมจะช่วยลดพื้นที่ผิวสัมผัสของน้ำกับอากาศ ทำให้ผักตบชวาสังเคราะห์แสงได้น้อยลง ปลูกพืชริมตลิ่ง: พืชบังร่ม: การปลูกพืชริมตลิ่งที่ให้ร่มเงาจะช่วยลดปริมาณแสงที่ส่องลงไปในน้ำ พืชดูดซับสารอาหาร: พืชบางชนิดสามารถดูดซับสารอาหารในน้ำได้ ช่วยลดปริมาณสารอาหารที่เป็นอาหารของผักตบชวาได้ การเก็บเกี่ยว: เป็นวิธีที่ตรงไปตรงมาที่สุด คือ การใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรในการเก็บผักตบชวาออกจากแหล่งน้ำ การกั้น: การสร้างแนวป้องกันเพื่อขัดขวางการแพร่กระจายของผักตบชวา เช่น การใช้ตาข่ายหรือแผงกั้น การตัด: การใช้เครื่องมือตัดผักตบชวาให้มีขนาดเล็กลง เพื่อลดความหนาแน่น การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเพื่อทำลายผักตบชวา อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในน้ำ การใช้ศัตรูธรรมชาติ: การนำศัตรูธรรมชาติของผักตบชวามาใช้ เช่น ด้วงงวงผักตบชวา หรือเชื้อราที่ทำลายผักตบชวา การปลูกพืชน้ำชนิดอื่นมาแข่งกับผักตบชวา: การปลูกพืชน้ำชนิดอื่นที่สามารถแข่งขันกับผักตบชวาได้ ทำให้การเกิดของผักตบชวาชะลอตัวลงได้ค่ะ โดยล่าสุดนั้นที่นี่ได้นำผักตบชวามาใส่ในบ่อที่เลี้ยงปลาดุกค่ะ ซึ่งการกำจัดผักตบชวาใช้หลักการง่ายๆ คือ กำจัดส่วนที่แก่และเน่าเสียออกจากบ่อ ที่จะนำผักตบชวามาใส่แค่เพียงบางส่วน ที่ยังเหลือพื้นที่ของผิวน้ำในบ่อให้สัมผัสกับแสงแดดอยู่ในนะคะ ในบ่อเลี้ยงปลาเป็นสภาวะแวดล้อมอีกแบบที่สามารถทำให้ผักตบชวามีชีวิตอยู่ได้ค่ะ จากที่ในบ่อเลี้ยงปลามีสารอาหารที่เกิดจากอาหารปลาและของเสียจากที่ปลาขับถ่ายออกมา เมื่อสารอาหารนี้เปลี่ยนรูปไปอยู่ในรูปที่ผักตบชวาใช้ได้ ผักตบชวาก็นำไปใช้และจะเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนมากขึ้นค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจน จึงพบว่าพอมีผักตบชวาแล้ว น้ำในบ่อไม่ค่อยเน่าเสียและไม่ได้เปลี่ยนน้ำบ่อยค่ะ ซึ่งนี่เป็นเป็นข้อดีจากที่เราสามารถควบคุมปริมาณการเกิดของผักตบชวาได้นะคะ แต่ถ้ามีมากเกินไปผลเสียก็จะเกิดตามข้อมูลข้างต้นที่ผู้เขียนได้พูดไว้แล้ว และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://news.trueid.net/detail/oaXxmLoEmV1a https://food.trueid.net/detail/VXJ32VD8yg4N https://news.trueid.net/detail/YnYA4PwXolJn เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !