รีเซต

นายกฯ ย้ำชัด! ไม่เคอร์ฟิว ไม่ล็อคดาวน์ หลังโควิด-19 ระบาดหนัก

นายกฯ ย้ำชัด! ไม่เคอร์ฟิว ไม่ล็อคดาวน์ หลังโควิด-19 ระบาดหนัก
16 เมษายน 2564 ( 16:09 )
2.3K
2
นายกฯ ย้ำชัด! ไม่เคอร์ฟิว ไม่ล็อคดาวน์ หลังโควิด-19 ระบาดหนัก

 

 

ข่าววันนี้ 16 เมษายน 2564 เมื่อเวลา 15.45 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าว ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศคบ.) ถึงมาตรการในการควบคุมโควิด-19 ว่า ขอแรงบุคลากรทางการแพทย์ที่เกษียณอายุไปแล้วมาช่วยฉีด วัคซีนโควิด หากได้รับมากขึ้น

 

"การฉีดวัคซีนไม่ใช่ทำให้ไม่ติดโควิด แต่ทำให้ลดระดับความรุนแรง ยันไม่อยากให้ใครตาย เพราะครอบครัวก็จะเสียใจ ผมเป็นคนรักครอบครัว ใครไม่ชอบผม ผมก็ดูแล อย่างที่ฉีดให้นักการเมืองทั้งหมด ใครไม่อยากฉีดก็ว่ามา ขอย้ำทุกคนต้องรักษาวินัย ระยะห่าง ใส่แมสก์ ล้างมือ เผยที่บ้านก็ใช้ช้อนกลาง นั่งกินห่างกัน"  พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

 

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้ำชัดว่า ไม่เคอร์ฟิวส์ ไม่ล็อกดาวน์

 

จากนั้น นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้แถลงต่อเกี่ยวกับ(ร่าง) ข้อกำหนด ออกตามความในมาตราการ 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ว่า โดยมาตรการที่จะเกิดขึ้น จะทดลองใช้ มาตรการนี้ 2 สัปดาห์ ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

 

ข้อ 1 การห้ามการดำเนินการหรือจัดกิจกรรมหรือที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค

 


(1) ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค เว้นแต่การใช้เป็นที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือการใช้สถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลืออุปการะ หรือการใช้สถานที่ตามข้อยกเว้นที่กำหนเไว้ในข้อ 1 ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2564

 

 

(2) ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 50 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค โดยให้ดำเนินการ ตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผุ้ว่าราชการจังหวัด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัดกิจกรรมและสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่รับผิดชอบ

 

 

ข้อ 2 การปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร

 

ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พิจารณาสั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการ อาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยให้สั่งปิดสถานที่ดังกล่าวไว้เป้นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน

 

 

กรณีที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้มีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าวไว้ เป็ฯการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วันแล้ว ตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 9 เมษายน 2564 ให้คำสั่งดังกล่าวคงมีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้ประเมินสถานการณ์และดำเนินการ ตามาตรการหรือแนวทางปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีกำหนด)

 

 

ข้อ 3 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์

 

 

กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณการ จำแนกตามเขตพื้นที่ ดังนี้

 

(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุด ใช้พื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระยอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุดรธานี รวม 18 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด

 

 

(2) พื้นที่ควบคุม ให้พื้นที่จังหวัดอื่นนอกจากที่กำหนดใน (1) รวม 59 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุม

 

 

ข้อ 4 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์

 

กำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรค ที่ทางราชการกำหนด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน

 

 

(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุด

 


ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้าน ได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มได้จนถึงเวลา 23.00 น. ในลักษณะของการนำไปบริโภคที่อื่น

 

ข. การจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน 

 

ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุกกที่งดการให้บริการ

 

 

. ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนักลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติสถานที่นั้น แต่ไม่เกินเวลา 23.00 น. สำหรับร้าน หรือสถานที่ ซึ่งตามปกติเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ให้เริ่มเปิดดำเนินการได้ในเวลา 04.00 น.

 


จ. สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส สามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 นง และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยจำกัดจำนวนผู้ชมในสนาม

 

 

(2) พื้นที่ควบคุม

 

 

ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม และการบริโภคในร้านได้ ไม่เกินเวลา 23.00 น.

 

 

ข. การจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

 

 

ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุกที่งดการให้บริการ

 

 

ข้อ 5 การงดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทาง รัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนงดหรือชะลอหารเดินทางในช่วงเวลานี้ โดยไม่มีเหตุจำเป็น โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคที่อาจทำให้เสี่ยงหรือมีโอกาสติดโรค

 

 

การตั้งจุดสกัดกั้นหรือจุดคัดกรอง ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ดำเนินการเท่าที่จำเป็น และเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ตามมาตรการที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) กำหนด และต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ

 

 

ให้กระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบกำกับดูแล การให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นการชนส่งสารธารณะทุกประเภท โดยต้องมีการจัดระบบ และระเบียบต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ที่ ศปก.ศบค. กำหนด

 

 

ข้อ 6 การจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์

 

ขอความร่วมมือให้ประชาชนเลื่อนหรืองดการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ งานเลี้ยงหรืองานรื่นเริงในช่วงเวลานี้ก่อน

 

 

ข้อ 7 การดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานที่เหมาะสม

 

 

ขอความร่วมมือให้เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาและดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานของบุคคลากร ในความรับผิดชอบในช่วงเวลานี้ โดยอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การสลับวันทำงาน หรือวิธีการอื่นใดที่เหมาะสม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการติดเชื้อ

 

 

ข้อ 8 มาตรการเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ

 

 

ให้ "ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19" ร่วมกับ "ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทย" และ "ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้าความมั่นคง" เร่งดำเนินการจัดหาสถานที่เพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับ ดูแลรักษา และ แยกกัก กักกันตัวผู้ติดเชื้อหรือผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อโดยด่วน โดยขอความร่วมมือจากสถานศึกษา มหาวิทยาลัย โรงแรม หอประชุม สถานที่เอกชน หรือสถานที่อื่นใดที่มีความเหมาะสม รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และสารธารณสุข ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์เพื่อการตรวจและรักษาโรค และอุปกรณ์อื่น ที่จำเป็นให้เพียงพอตามาตรฐานทางสาธารณสุข

 

 

ให้ผู้ติดเชื้อทุกรายเข้ารับการตรวจรักษาและแยกกัก ในสถานที่และตามระยะเวลา วึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสานะารณสุขกำหนด จนกว่าจะได้ตรวจทางการแพทย์แล้วว่าพ้นระยะติดต่อของโรค หรือ สิ้นสุดเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค

 

 

เพื่อจำกัดการระบาดและเพื่อความปลอดภัยของประชาชนส่วนรวม ให้ผุ้ติดเชื้อหรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อรีบแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุข หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในพื้นที่ ทันทีเมื่อทราบว่าตนติดเชื้อหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อดังกล่าว เพื่อรับทราบแนวแฏิบัติจน และแยกกักหรือกักกัน เพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่จะเข้ารับการตรวจหรือรักษาตามขั้นตอนทางสาธารณสุขต่อไป

 

 

ข้อ 9 การประเมินสถานการณ์

 

 

ให้ ศปก.ศบค. พิจารณาและประเมินสถานการณ์ เพื่อการปรับเปลี่ยนระดับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการรวมทั้งปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ได้ ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในห้วงเวลาต่าง ๆ และเสนอต่อนายกรับมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาต

 

 

เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณืของแต่ละพื้นที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด อาจพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อในการสั่งปิด จำกัด หรือห้ามการดำเนินการของพื้นที่ สถานที่ หรือพาหนะ หรือสั่งให้งดการทำกิจกรรม ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพิ่มเติมจากที่กำหนดได้ โดยให้ดำเนินการสอดคล้องกับมาตรการหรือแนวปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีกำหนด

 

 

 

อีกทั้ง ก่อนหน้านี้ การประชุม ศบค.ชุดใหญ่ในวันนี้ ประเด็นสำคัญ อยู่ที่การพิจารณาข้อเสนอจากที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เสนอแนะมาตรการยกระดับการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ช่วงหลังสงกรานต์ ป้องกันผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการแพร่เชื้อไปยังครอบครัว กลุ่มเพื่อน ที่ทำงาน และสถานที่อื่นๆ เพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้โดยเร็ว ลดจำนวนผู้ติดเชื้อ ลดการเสียชีวิต และลดผลกระทบระบบสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม เมื่อโรคสงบลง จะกลับมาฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวต่อไป

 

โดย คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบการกำหนดพื้นที่ควบคุมโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยดูจากสถานการณ์ในจังหวัด ความเสี่ยงในการระบาด โดยปรับพื้นที่จังหวัดเป็น 2 ระดับ ดังนี้ 

 

1.พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง)

ประกอบด้วย 18 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่, ชลบุรี, สมุทรปราการ, ประจวบคีรีขันธ์, สมุทรสาคร, ปทุมธานี, นครปฐม, ภูเก็ต, นครราชสีมา, นนทบุรี, สงขลา, ตาก, อุดรธานี, สุพรรณบุรี, สระแก้ว, ระยอง และขอนแก่น 

 

2. พื้นที่ควบคุม (สีส้ม)

จำนวน 59 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) และยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรค เพื่อลดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ดังนี้

 

1. ปิดสถานบันเทิง ผับ,บาร์,อาบ อบนวด ทุกจังหวัด 

2. ร้านอาหาร นั่งรับประทานในร้านได้ งดจำหน่ายและงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยพื้นที่สีแดงเปิดไม่เกินเวลา 21.00 น. สีส้มเปิดไม่เกิน 23.00 น. 

3. งดกิจกรรมที่มีคนรวมกลุ่มกันเกิน 50 คน กรณีที่จำเป็นให้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร 

4. งดกิจกรรมงานเลี้ยง สังสรรค์ ยกเว้นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน 

5. งดการเรียนการสอนในห้องเรียน 6.ปิดสวนสนุกและงดเล่นเครื่องเล่นในห้างสรรพสินค้า 

 

รวมทั้งการขอความร่วมมือภาคเอกชน Work from Home ให้มากที่สุด เข้มมาตรการองค์กร DMHTT คือ การเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย 100% ล้างมือบ่อยๆ ตรวจวัดอุณหภูมิ และสแกนไทยชนะ/ หมอชนะ แยกกันรับประทานอาหาร ผู้ที่เดินทางไปต่างจังหวัดขอความร่วมมือ Work from Home สังเกตอาการ 14 วัน และมาตรการอื่น ๆ เป็นไปตามข้อกำหนดใน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  โดยต้องรอ มติจากที่ประชุมศบค. เพื่อเป็นแนวปฏิบัติต่อไป

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง