แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 จำนวน 55 ข้อ พร้อมเฉลยบทนำ แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560” เพื่อให้ผู้ที่สนใจสอบราชการ อ่านเป็นแนวทางในการสอบและได้ทดสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวทางที่เหมาะสมและครบถ้วน ทั้งนี้เนื้อหาในข้อสอบนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมแต่ละคำตอบ และผู้เขียนได้รวบรวมสาระสำคัญของ และความยากของ “พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560” ไว้ในนี้แล้ว1.พระราชบัญญัตินี้ให้ไว้เมื่อใดก.วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560ข.วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560ค.วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560ง.วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560ตอบ ข.2.พระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ ใครก.สภานิติบัญญัติแห่งชาติข.รัฐสภาค.วุฒิสภาง.สภานิติบัญญัติตอบ ก.3. “การจัดซื้อจัดจ้าง” หมายถึงข้อใดก.การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุโดยการซื้อ จ้าง เช่า แลกเปลี่ยน หรือโดยนิติกรรมอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงข.งานบริการ งานก่อสร้าง งานจ้างที่ปรึกษาและงานจ้างออกแบบ หรือควบคุมงานก่อสร้าง รวมทั้งการดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงค.งานจ้างบริการ งานจ้างเหมาบริการ งานจ้างทำของและการรับขน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลง.สิ่งปลูกสร้างถาวรที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ เช่น อาคารที่ทำการ โรงพยาบาล โรงเรียน สนามกีฬา หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆตอบ ก.4.วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หมายถึงข้อใดก.งานก่อสร้างข.สินค้าค.งานบริการง.งานจ้างที่ปรึกษาตอบ ข.5. งานจ้างบริการ งานจ้างเหมาบริการ งานจ้างทำของและการรับขน หมายถึงข้อใดก.งานก่อสร้างข.สินค้าค.งานบริการง.งานจ้างที่ปรึกษาตอบ ค.6.งานอันเกี่ยวกับการประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การโทรคมนาคม การระบายน้ำ การขนส่งทางท่อ ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ หรือทางราง หรือการอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดำเนินการในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน หรือเหนือพื้นดิน ข้อความขึ้นต้นหมายถึงข้อใดก.อาคารข.งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างค.การบริหารพัสดุง.สาธารณูปโภคตอบ ง.7.สิ่งปลูกสร้างถาวรที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ เช่น อาคารที่ทำการ โรงพยาบาล โรงเรียน สนามกีฬา หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยสำหรับอาคารนั้น ๆ เช่น เสาธง รั้ว ท่อระบายน้ำ หอถังน้ำถนน ประปา ไฟฟ้า หรือสิ่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของตัวอาคาร เช่น เครื่องปรับอากาศ ลิฟต์ หรือเครื่องเรือน ข้อความขึ้นต้นหมายถึงข้อใดก.อาคารข.งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างค.การบริหารพัสดุง.สาธารณูปโภคตอบตอง ก.8.ข้อใดหมายถึง “ราคากลาง”ก.ราคาที่ได้มาจากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการราคากลางกำหนดข.ราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุที่กรมบัญชีกลางจัดทำค.ราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณหรือหน่วยงานกลางอื่นกำหนดง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่นข้อเสนอ ได้ยื่นเสนอไว้ซึ่งสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้จริงตามลำดับ ดังตอไปนี้(1) ราคาที่ได้มาจากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการราคากลางกำหนด(2) ราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุที่กรมบัญชีกลางจัดทำ(3) ราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณหรือหน่วยงานกลางอื่นกำหนด(4) ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด(5) ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลาสองปีงบประมาณ(6) ราคาอื่นใดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ9. “คณะกรรมการ ค.ป.ท.” หมายถึงข้อใดก.คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียนข.คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตค.คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐง.คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐตอบ ข.10. “คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์” หมายถึงข้อใดก.คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียนข.คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตค.คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐง.คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐตอบ ก.11.ให้ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ก.นายกรัฐมนตรีข.รัฐมนตรีค.คณะรัฐมนตรีง.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตอบ ง.12.คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐ หมายถึงข้อใดก.คณะกรรมการราคากลางข.คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ค.คณะกรรมการนโยบายง.คณะกรรมการวินิจฉัยตอบ ค.13.พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ใครก.การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงข.การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติค.การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนาง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 7 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่(1) การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง(2) การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติโดยวิธีรัฐบาล ต่อรัฐบาลหรือโดยการจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศที่กฎหมายของประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น(3) การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา เพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา หรือการจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ที่ไม่สามารถดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ได้(4) การจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศทั้งในระดับรัฐบาลและที่มิใช่ระดับรัฐบาล มูลนิธิ หรือเอกชนต่างประเทศ ที่สัญญาหรือข้อกำหนดในการให้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น(5) การจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศทั้งในระดับรัฐบาลและที่มิใช่ระดับรัฐบาล มูลนิธิ หรือเอกชนต่างประเทศ ที่สัญญาหรือข้อกำหนดในการให้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือนั้นร่วมกับเงินงบประมาณ ซึ่งจำนวนเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือที่ใช้นั้นเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา(6) การจัดซื้อจัดจ้างของสถาบันอุดมศึกษาหรือสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐโดยใช้ เงินบริจาครวมทั้งดอกผลของเงินบริจาค โดยไม่ใช้เงินบริจาคนั้นร่วมกับเงินงบประมาณ14.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการตามข้อใดก.คุ้มค่าข.โปร่งใสค.มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลง. ถูกทุกข้อตอบ ง.15.โดยมีการเก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ข้อความขั้นต้นหมายถึงข้อใดก.ตรวจสอบได้ข.โปร่งใสค.คุ้มค่าง.มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตอบ ก.16.โดยพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างต้องมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ ในการใช้งานของหน่วยงานของรัฐ มีราคาที่เหมาะสม และมีแผนการบริหารพัสดุที่เหมาะสมและชัดเจน ข้อความขั้นต้นหมายถึงข้อใดก.ตรวจสอบได้ข.โปร่งใสค.คุ้มค่าง.มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตอบ ค.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 8 การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการ ดังต่อไปนี้(1) คุ้มค่า โดยพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างต้องมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ ในการใช้งานของหน่วยงานของรัฐ มีราคาที่เหมาะสม และมีแผนการบริหารพัสดุที่เหมาะสมและชัดเจน(2) โปร่งใส โดยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุต้องกระทำโดยเปิดเผย เปิดโอกาสให้มี การแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกัน มีระยะเวลาที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการยื่นข้อเสนอ มีหลักฐานการดำเนินงานชัดเจน และมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุในทุกขั้นตอน(3) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยต้องมีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ล่วงหน้าเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีกำหนดเวลาที่เหมาะสม โดยมีการประเมินและเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ(4) ตรวจสอบได้ โดยมีการเก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการตามวรรคหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ หากการจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว แต่ไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างมีนัยสำคัญหรือเกิดจากกรณีเร่งด่วน หรือมีเหตุผลหรือความจำเป็นอื่น การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป17.การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้าง ให้หน่วยงานของรัฐ คำนึงถึงตามข้อใดก.คุณภาพข.เทคนิคค.วัตถุประสงค์ของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุง. ถูกทุกข้อตอบ ง.18.ข้อใดหมายถึง “การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต”ก.จัดให้ ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์ข.กำหนดให้มี การจัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐค.จัดทำเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้ประกอบการที่จะเข้า ยื่นข้อเสนอ ง.ถูกทุกข้อตอบ ง.19.มาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการ ต้องจัดให้มีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ใครกำหนดก.คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียนข.คณะกรรมการ ค.ป.ท.ค.คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ง.คณะกรรมนโยบายตอบ ข.20.ใครเป็นประธาน “คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ”ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมค.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีง.ปลัดกระทรวงการคลังตอบ ก.21.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคนให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ในด้านใดก.ความเชี่ยวชาญข.ประสบการณ์ค.มีความรู้ง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 20 ให้มีคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ประกอบด้วย (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังซึ่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ(2) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อัยการสูงสุด อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จากสภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แห่งละหนึ่งคน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบาย22.ให้ใครเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐก.ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินข.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณค.อธิบดีกรมบัญชีกลางง.อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตอบ ค.23.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปีก.หนึ่งปีข.สองปีค.สามปีง.สี่ปีตอบ ค.24.จากข้อ 23 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอาจได้รับ แต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกี่วาระไม่ได้ก.หนึ่งวาระข.สองวาระค.สามวาระง.สี่วาระตอบ ข.25.เมื่อครบกำหนดตามวาระแล้ว ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายใน กี่วันก.สามสิบวันข.สี่สิบห้าวันค.หกสิบวันง.เก้าสิบวันตอบ ค.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 22 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับ แต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายใน หกสิบวัน ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจาก ตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่26.ข้อใดหมายถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายก.เสนอแนะนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรีข.กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของหน่วยงานของรัฐค.กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 24 ให้คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้(1) เสนอแนะนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี(2) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น(3) กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไป ตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้(4) วินิจฉัยความเป็นโมฆะของสัญญาหรือข้อตกลงตามมาตรา 104 รวมทั้งตีความและ วินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับประกาศที่คณะกรรมการนโยบายออกตามความในพระราชบัญญัตินี้(5) กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่(6) กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติ แบบหรือตัวอย่าง เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบที่ออก ตามความในพระราชบัญญัตินี้(7) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละ หนึ่งครั้ง(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี มอบหมาย27.ใครเป็นประธาน “คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ”ก.นายกรัฐมนตรีข.ปลัดกระทรวงการคลังค.ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมง.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจตอบ ข.28.ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายข้าราชการของกรมบัญชีกลางคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอีกกี่คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก.สองคนข.สามคนค.สี่คนง.หกคนตอบ ก.29.ใครเป็นคนแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการดำเนินงานของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐก.ผู้แทน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจข.ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีค.อธิบดีกรมบัญชีกลางง.ปลัดกระทรวงการคลังตอบ ง.30.จากข้อ 29 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินกี่คนก.ห้าคนข.หกคนค.เจ็ดคนง.แปดคนตอบ ค.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 27 ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ประกอบด้วย(1) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ(2) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมบัญชีกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผู้แทน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคนซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อ การดำเนินงานของคณะกรรมการวินิจฉัย31.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการวินิจฉัย”ก.เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ต่อคณะกรรมการนโยบายข.ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ค.กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติ แบบหรือตัวอย่าง เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบที่ออก ตามความในพระราชบัญญัตินี้ง.จัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเสนอ คณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งตอบ ค.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 29 ให้คณะกรรมการวินิจฉัยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้(1) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ต่อคณะกรรมการนโยบาย(2) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้(3) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้(4) ยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงหรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้(5) เสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงการคลังในการพิจารณาสั่งให้ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา เป็นผู้ทิ้งงาน และการเพิกถอนรายชื่อผู้ทิ้งงาน รวมทั้งเสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงการคลังและรัฐมนตรี ในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้เป็นผู้ทิ้งงาน(6) จัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเสนอ คณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง(7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย32.ข้อใดไม่ใช่ “คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ”ก.ผู้แทนกระทรวงกลาโหมข.ผู้แทนสำนักงบประมาณค.ผู้แทนกระทรวงการคลังง.ผู้แทนสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดินตอบ ข.33.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นประโยชน์ต่องานของคณะกรรมการราคากลางจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนแต่ไม่เกินกี่คนก.ไม่เกินเจ็ดคนข.ไม่เกินเก้าคนค.ไม่เกินสอบเอ็ดคนง.ไม่เกินสิบสามคนตอบ ค.34.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการราคากลาง”ก.ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางข.ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางค.จัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการกำหนดราคากลางของ หน่วยงานของรัฐง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 34 ให้คณะกรรมการราคากลางมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้(1) ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลาง(2) กำกับดูแลการกำหนดราคากลางให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้(3) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการกำหนดราคากลาง(4) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลาง(5) ยกเว้นหรือผ่อนผันกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามรายละเอียดของหลักเกณฑ์และวิธีการ กำหนดราคากลางตาม(6) พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการกำหนดราคากลาง(7) ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีสิทธิ เป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ(8) จัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการกำหนดราคากลางของ หน่วยงานของรัฐ และการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐเสนอ คณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง(9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย35.คณะกรรมการราคากลางต้องพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนด ราคากลางอย่างน้อยปีละกี่ครั้งก.ปีละหนึ่งครั้งข.ปีละสองครั้งค.ปีละสามครั้งง.ปีละสี่ครั้งตอบ ก.36.ใครเป็นประธาน “คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ”ก.อธิบดีกรมบัญชีกลางข.ปลัดกระทรวงการคลังค.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติง.ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตอบ ข.37.องค์กรเอกชนที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านการทุจริตหรือส่งเสริมด้านคุณธรรม และจริยธรรมต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ และได้ดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่ากี่ปีก.หนึ่งปีข.สองปีค.สามปีง.สี่ปีตอบ ข.38.จากข้อ 37. ใครเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก.อธิบดีกรมบัญชีกลางข.ปลัดกระทรวงการคลังค.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติง.ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตอบ ก.39.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต”ก.กำหนดแบบของข้อตกลงคุณธรรมและแบบรายงานของผู้สังเกตการณ์ข.คัดเลือกผู้สังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐค.ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการ ความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 39 ให้คณะกรรมการ ค.ป.ท. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้(1) กำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ(2) กำหนดแบบของข้อตกลงคุณธรรมและแบบรายงานของผู้สังเกตการณ์(3) คัดเลือกโครงการการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ(4) คัดเลือกผู้สังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐ(5) ตีความและวินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการ ความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (1)(6) ยกเว้นหรือผ่อนผันกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามรายละเอียดของแนวทางและวิธีการ ในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (1)(7) พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทาง และวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตาม (1)(8) จัดทำรายงานผลการประเมินโครงการการจัดซื้อจัดจ้างที่เข้าร่วมโครงการความร่วมมือ ป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเสนอคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง(9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้40.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งจากองค์กรเอกชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ตามข้อใดก.เป็นประโยชน์ต่อ การดำเนินงานของคณะกรรมการวินิจฉัยข.เป็นประโยชน์ต่องานของคณะกรรมการราคากลางค.ต่อต้านการทุจริตหรือส่งเสริมด้านคุณธรรม และจริยธรรมง.เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายตอบ ค.41.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน”ก.พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางของ พระราชบัญญัตินี้ข.จัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียนค.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการนโยบาย รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายง. ถูกทุกข้อตอบ ง.42.จัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน เสนอคณะกรรมการนโยบายอย่างน้อยปีละกี่ครั้งก.หนึ่งครั้งข.สองครั้งค.สามครั้งง.สี่ครั้งตอบ ก.43.ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กระทำการตามหน้าที่โดยสุจริต ย่อมได้รับการคุ้มครอง ไม่ต้องรับผิดตามข้อใดก.ทางแพ่งข.ทางอาญาค.ทางปกครองง. ถูกทุกข้อตอบ ง.44.ใครมีหน้าที่ในการดูแลและพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประกาศเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศก.องค์กรสนับสนุนดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐข.คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐค.กรมบัญชีกลางง.กระทรวงการคลังตอบ ค.45.กรมบัญชีกลางต้องปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุ อย่างน้อยปีละกี่ครั้งก.หนึ่งครั้งข.สองครั้งค.สามครั้งง.สี่ครั้งตอบ ข.46.ใครมีหน้าที่รวบรวม วิเคราะห์ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัตินี้ และจัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการพร้อมข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐก.องค์กรสนับสนุนดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐข.คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐค.กรมบัญชีกลางง.กระทรวงการคลังตอบ ค.47.การจัดทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการพร้อมข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐเสนอคณะกรรมการนโยบาย อย่างน้อยปีละกี่ครั้งก.หนึ่งครั้งข.สองครั้งค.สามครั้งง.สี่ครั้งตอบ ก.48.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ”ก.ให้กรมบัญชีกลางประกาศรายชื่อผู้ประกอบการงานก่อสร้างข.ให้คณะกรรมการราคากลางมีอำนาจประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ให้งานก่อสร้างค.ให้ผู้ประกอบการงานก่อสร้างทุกรายมีสิทธิขอขึ้นทะเบียนได้ ตลอดเวลาง. ถูกทุกข้อตอบ ง.49.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุก.วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปข.วิธีคัดเลือกค.วิธีเฉพาะเจาะจงง. ถูกทุกข้อตอบ ง.50.ให้ใช้กับงานที่ไม่ซับซ้อน งานที่มีลักษณะ เป็นงานประจำของหน่วยงานของรัฐ หรืองานที่มีมาตรฐานตามหลักวิชาชีพ และมีที่ปรึกษาซึ่งสามารถ ทำงานนั้นได้เป็นการทั่วไป ข้อความขั้นต้นหมายถึงข้อใดก.งานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกข.งานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปค.งานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจงง. ไม่มีข้อใดถูกตอบ ข.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 69 งานจ้างที่ปรึกษาอาจกระทำได้โดยวิธี ดังต่อไปนี้(1) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนที่ปรึกษาทั่วไปที่มีคุณสมบัติ ตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ(2) วิธีคัดเลือก ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนเฉพาะที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ที่หน่วยงานของรัฐกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามรายให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานนั้นมีที่ปรึกษาที่มี คุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่าสามราย(3) วิธีเฉพาะเจาะจง ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตาม เงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา51.ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยคำนึงถึง ความคุ้มค่าและวัตถุประสงค์ของงานจ้างที่ปรึกษาเป็นสำคัญ โดยให้พิจารณาเกณฑ์ด้านคุณภาพตามข้อใดก.ผลงานและประสบการณ์ของที่ปรึกษาข.ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนค.ข้อเสนอทางด้านการเงินง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 75 ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและวัตถุประสงค์ของงานจ้างที่ปรึกษาเป็นสำคัญ โดยให้พิจารณาเกณฑ์ด้านคุณภาพ ดังต่อไปนี้(1) ผลงานและประสบการณ์ของที่ปรึกษา(2) วิธีการบริหารและวิธีการปฏิบัติงาน(3) จำนวนบุคลากรที่ร่วมงาน(4) ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน(5) ข้อเสนอทางด้านการเงิน(6) เกณฑ์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง52.งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างอาจกระทำได้กี่วิธีก. 1.วิธี วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปข. 2 วิธี วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วิธีคัดเลือกค. 3 วิธี วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วิธีคัดเลือก วิธีเฉพาะเจาะจงง. 4 วิธี วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วิธีคัดเลือก วิธีเฉพาะเจาะจง วิธีประกวดแบบตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 79 งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างอาจกระทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้(1) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป(2) วิธีคัดเลือก(3) วิธีเฉพาะเจาะจง(4) วิธีประกวดแบบ53.การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญา หรือข้อตกลง ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงตามข้อใดก.เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐข.เหตุสุดวิสัยค.เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายง. ถูกทุกข้อตอบ ง.54.ข้อใดเป็นการกระทำอันมีลักษณะเป็น การทิ้งงานก.เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมไปทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ กับหน่วยงานของรัฐภายในเวลาที่กำหนดข.คู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐหรือผู้รับจ้างช่วงที่หน่วยงานของรัฐอนุญาตให้รับช่วงงานได้ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือนั้นค.มือปรากฏว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐกระทำการอันมีลักษณะเป็น การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือกระทำการโดยไม่สุจริตง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 109 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐกระทำการดังต่อไปนี้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ถือว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญานั้นกระทำการอันมีลักษณะเป็น การทิ้งงาน(1) เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมไปทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ กับหน่วยงานของรัฐภายในเวลาที่กำหนด(2) คู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐหรือผู้รับจ้างช่วงที่หน่วยงานของรัฐอนุญาตให้รับช่วงงานได้ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือนั้น(3) เมื่อปรากฏว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐกระทำการอันมีลักษณะเป็น การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือกระทำการโดยไม่สุจริต(4) เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติตามสัญญาของที่ปรึกษาหรือผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบ หรือควบคุมงานก่อสร้างมีข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐอย่างร้ายแรง(5) เมื่อปรากฏว่าผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างหรือผู้ประกอบการ งานก่อสร้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 88(6) การกระทำอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง55.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การอุทธรณ์”ก.การอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ ในหนังสืออุทธรณ์ ต้องใช้ถ้อยคำสุภาพและระบุข้อเท็จจริงและเหตุผลอันเป็นเหตุ แห่งการอุทธรณ์ให้ชัดเจน พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปด้วยข.ให้ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานของรัฐนั้นภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางค.ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ง. ถูกทุกข้อตอบ ง.สรุป แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ” ทางผู้เขียนได้เน้นสาระสำคัญของเนื้อหาและความยาก ที่เคยออกสอบบ่อยเกี่ยวกับ “พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ” เช่น ความหมายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ การส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหานพัสดุภาครัฐ คณะกรรมการการวินิจฉับปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน องค์กรสนับสนุนดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ การจัดซื้อจัดจ้าง งานจ้างที่ปรึกษา งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง การทำสัญญา การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ การทิ้งงาน การบริหารพัสดุ และการอุทธรณ์ ได้ลงไว้ในแนวข้อสอบนี้ไว้ หวังว่าผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจมีแรงบันดาลใจจากแนวข้อสอบให้ราคากลาง โดย ปลาทูหลักการการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ โดย ปลาทูอำนาจหน้าที่คณะกรรมการนโยบาย โดย ปลาทูการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอด้านคุณภาพ โดย ปลาทู ภาพทั้งหมด โดย ปลาทูเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !