ขึ้นชื่อว่าวิชาภาษาไทยย่อมมาคู่กันกับวรรณคดีและบทร้อยกรองประเภทต่างๆ แน่นอนว่าร้อยทั้งร้อยหนีไม่พ้นการแต่งกลอน การบ้านสุดคลาสสิคของนักเรียนไทยหลายๆคน เนื่องจากการแต่งคำประพันธ์ต่างๆที่จำกัดทั้งจำนวนคำ ฉันทลักษณ์ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงเสียงและสัมผัสนั้นจำเป็นต้องใช้ทักษะและการฝึกฝนอยู่พอสมควร ทำให้ดูเหมือนเป็นเรื่องยากสำหรับใครก็ตามที่เป็นมือใหม่หัดแต่ง ดังนั้นวันนี้เราจึงมี ๕ เทคนิคดีๆเล็กๆน้อยๆที่จะช่วยให้การแต่งร้อยกรองหรือคำประพันธ์ต่างๆง่ายขึ้นมาฝากกัน๑.ทำความเข้าใจแผนผังหรือฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆคำประพันธ์แบ่งหลักๆออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย โดยทั่วไปที่มักสอนกันในระดับประถมและระดับมัธยมศึกษาได้แก่ กลอนสี่ กลอนหก กลอนแปด (กลอนสุภาพ) กาพย์ยานี11 และโคลงสี่สุภาพดังนั้นอย่างแรกเราควรทำความเข้าใจคือแผนผัง หรือที่เรียกกันว่าฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆเสียก่อน เพื่อให้รู้ว่ามีสัมผัสบังคับอยู่ตรงไหนบ้าง โดยเฉพาะโคลงสี่สุภาพและกลอนแปดในระดับที่สูงขึ้นซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงเสียงวรรณยุกต์บังคับตามตำแหน่งต่างๆทริค : เปิดแผนผังคำประพันธ์ไว้ข้างๆขณะแต่งจะช่วยให้แต่งได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นตัวอย่าง แผนผังคำประพันธ์ต่างๆ๒.ทำความเข้าใจหัวข้อที่ได้รับมอบหมายเมื่อได้รับมอบหมาย อีกสิ่งที่สำคัญคือเราควรทำความเข้าใจหัวข้อนั้นๆก่อน เพื่อให้รู้ว่าเราสามารถกล่าวถึงอะไรได้บ้าง การทำแบบนี้จะช่วยให้เรียบเรียงเนื้อหาและคำศัพท์ที่จะใส่ในบทกลอนได้ดีขึ้นทริค : เขียนคีย์เวิร์ดสำคัญๆที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อจะช่วยให้เรียบเรียงและจัดระเบียบได้ง่ายตัวอย่าง หัวข้อเรื่อง “สวนสนุก” คีย์เวิร์ดสำคัญได้แก่ ตั๋ว เครื่องเล่น ม้าหมุน ชิงช้าสวรรค์ สายไหม บ้านผีสิง ตัวตลก เป็นต้น ๓.บริเวณที่เป็นสัมผัสบังคับควรใช้คำที่หาคำคล้องจองได้ง่ายกำหนดคำบริเวณที่เป็นสัมผัสบังคับให้เป็นสระง่ายๆ เช่น สระอา สระไอ สระอี เป็นต้น เนื่องจากสามารถหาคำได้ง่าย มีคำให้เลือกใช้มากมาย อีกทั้งยังง่ายต่อการหาเสียงวรรณยุกต์สำหรับการแต่งกลอนในระดับที่สูงขึ้นไปด้วยทริค : เมื่อแต่งถึงคำที่ตำแหน่งบังคับสัมผัสแรก ลองเขียนคำที่คล้องจองทั้งหมดที่นึกออกลงไป จะช่วยให้เลือกใช้และเรียบเรียงคำในตำแหน่งบังคับสัมผัสถัดไปได้ง่ายมากขึ้นตัวอย่าง (กลอนแปด) หยาดน้ำฝนโอบอุ้มชุ่มพฤกษา ตำแหน่งบังคับสัมผัสแรกคือคำว่า -ษา จะเห็นได้ว่ามีคำที่สามารถสัมผัสในวรรคต่อไปได้มากมายเช่น ผืนป่า พัฒนา ฝูงปลา ผืนฟ้า ท้องฟ้า เจิดจ้า แสงจ้า สว่างจ้า เป็นต้น ๔. ใช้คำไวพจน์ คำไวพจน์หรือคำที่มีความหมายเดียวกันคือตัวช่วยสำคัญที่ทำให้บทกลอนดูมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น และลดการกล่าวถึงคำซ้ำที่มากเกินไป ยิ่งผู้แต่งมีคลังคำศัพท์เยอะมากเท่าไหร่จะยิ่งสามารถปรับเปลี่ยนคำประพันธ์ให้มีความไหลลื่นสละสลวยและแฝงคารมคมคายได้มากขึ้นเท่านั้นทริค : ลองเปลี่ยนมาใช้คำไวพจน์ง่ายๆในบางวรรค และหาว่าคำไหนเข้ากับบทกลอนที่กำลังเขียนอยู่มากที่สุด เช่น ใช้คำว่า ธารา วารี สายชล ชลธี แทนคำว่าน้ำ เป็นต้น๕. สัมผัสในสัมผัสในหรือสัมผัสภายในวรรคที่อยู่นอกเหนือจากฉันทลักษณ์ที่บังคับ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่ทำให้บทกลอนมีความไพเราะสละสลวยมากยิ่งขึ้นตัวอย่าง ลองสังเกตความแตกต่างระหว่างกลอนสองบทนี้ลำธารใส เย็นฉ่ำ มีปลาว่ายธารน้ำใส ไหลเย็น เห็นตัวปลา สรุป เทคนิคทั้ง ๕ ได้แก่1.ทำความเข้าใจแผนผังหรือฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ2.ทำความเข้าใจหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย3.บริเวณที่เป็นสัมผัสบังคับควรใช้คำที่หาคำคล้องจองได้ง่าย4. ใช้คำไวพจน์5. สัมผัสในขอให้ทุกคนมีความสุขกับการแต่งกลอนนะคะ *เครดิตภาพปกจาก Canva *STAR COVER"อย่ามัวแต่ดูมาดังกัน"*ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ขอชวนทุกคนมาสนุกโคฟเวอร์ พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท (5 รางวัล) โคฟคนที่ใช่ ไลค์คนที่ชอบ`ร่วมสนุกได้ที่ ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ห้อง cover บนแอปทรูไอดี`คลิกเลย >> https://ttid.co/UAnK/7y9jfqkqอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3O1cmUQร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2565 - วันที่ 3 สิงหาคม 2565