ภาพโดย canvas ภาพโดย Free-Photos จาก Pixabay จรวด long march 5B คืออะไร จรวด long march 5B การพัฒนาของประเทศจีนในการสำรวจอวกาศ Long March 5B ซึ่งเป็นจรวดที่มีต้นแบบมาจาก Long March 5 จรวด Long March 5B มี Boosters ขนาบข้างอยู่ทั้งหมด 4 อันไว้สำหรับเพิ่มแรงยกขณะ Lift-off ทำให้จรวดใน Variant Long March 5 เป็นจรวดชนิด Heavy-Lift Launch System ซึ่งสามารถเทียบได้กับจรวดอย่าง Falcon 9, Ariane 5 และ Delta IV Heavy เลยทีเดียว จรวด Long March 5 รุ่นแรกถูกปล่อยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2016 และรุ่นต่อมาซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงคือ Long March 5B ก็พึ่งถูกปล่อยครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2020 นี้นี่เอง โดยการนำจรวด long march ของจีนขึ้นนั้นมีเพื่อส่งดาวเทียมสื่อสารขึ้นสู่วงโคจรอวกาศ แต่ในความคิดของผู้เขียนนั้นจีนไม่ได้มีจุดประสงค์ในการส่งจรวดขึ้นไปเพียงแค่ส่งดาวเทียม แต่ยังเกี่ยวข้องกับการโชว์ศักยภาพของประเทศตัวเองว่าตนเองก็เป็นประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่งจึงไม่สามารถที่จะยอม่อนข้อให้กับประเทศอเมริกาได้ และในเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2021 สื่อจีนได้รายงานว่า ชิ้นส่วนบรรทุกของจรวด Long March 5B คได้ร่วงลงสู่ชั้นบรรยากาศโลกเมื่อเวลาประมาณ 10.24 น. ตามเวลาในปักกิ่ง หรือประมาณ 09.24 น. ที่ผ่านมา ตามเวลาไทย ซึ่งการที่ชิ้นส่วนจรวดร่วงกลับสู่โลกนั้นถือเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับชิ้นส่วนบรรทุกของจรวด Long March 5B นั้นก่อให้เกิดความกังวล เนื่องจากไม่สามารถควบคุมพิกัดในการร่วงได้เหมือนดาวเทียมหรือชิ้นส่วนจรวดอื่นๆ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญคาดเดาได้ยากว่าชิ้นส่วนจะร่วงลงสู่จุดไหนของโลก และก่อให้เกิดผลกระทบมากน้อยแค่ไหน แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมากที่เศษชิ้นส่วนจะร่วงลงในเมืองใหญ่ทั่วโลก และทำให้เกิดอันตรายกับผู้คน เนื่องจากวัตถุอวกาศส่วนใหญ่มักจะเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ แม้จะมีบางส่วนที่ทนความร้อนและร่วงลงสู่โลกได้ ขณะที่พื้นผิวโลกส่วนใหญ่ยังปกคลุมไปด้วยมหาสมุทรและมีผืนแผ่นดินจำนวนมากที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ จึงกล่าวได้ว่าการสำรวจอวกาศของจีนนั้นยังถือว่าไม่สำเร็จเท่าที่ควรมากนัก เมื่อช่วงเวลาที่จรวด long march 5B ได้ร่วงลงมายังเปลือกโลก ประเทศไทยได้มีการมีการออกอากาศโดยให้ประชาชนได้ระวังถึงวัตถุที่อาจตกลงมาจนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งตัวผู้เขียนนั้นกลัวถึงขั้นไม่กล้าออกไปไหนเลย...กลัว ภาพโดย SpaceX-Imagery จาก Pixabay หลังจากนั้นจีนก็มุ่งมั่นในการคิดค้นหรือผลิตจรวดกันมาอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2020 สื่อจีนรายงานว่าความล้มเหลวยังไม่สามารถลดทอนกำลังใจของจีนได้เพราะจีนได้ผลิตจรวดรุ่นใหม่เพื่อสำรวจอวกาศอีกครั้งที่มีชื่อว่า “Long March-7A” หรือ “CZ-7A” ภาพโดย WikiImages จาก Pixabay แต่ก็เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีกครั้งเมื่อ สื่อจีนรายงานมาว่า เมื่อเวลา 21.34 น.ของวันจันทร์ (16 มี.ค) จีนได้ปล่อยจรวดรุ่นใหม่ขึ้นสู่ฟากฟ้าจากศูนย์ปล่อยจรวดเหวินชาง ที่เกาะไห่หนาน อย่างไรก็ดี จรวดดังกล่าวไม่สามารถทำงานได้ตามที่ควรจะเป็น ขณะนี้ เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบสาเหตุความผิดพลาดในการดำเนินงานของจรวดรุ่นใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความล้มเหลวของจีนอีกครั้ง จีนก็ยังไม่ได้ลดละความพยายามจากความล้มเหลวจนเมื่อ 20 กันยายน 2021 องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน (CMSA) เปิดเผยว่าจรวดขนส่งลองมาร์ช-7 วาย4 (Long March-7 Y4) ซึ่งบรรทุกยานบรรทุกสัมภาระเทียนโจว-3 ทะยานออกจากฐานปล่อยยานอวกาศเหวินชาง ในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของประเทศ หลังจากจรวดฯ แล่นทะยานนาน 597 วินาที ยานเทียนโจว-3 ได้แยกตัวออกจากจรวดฯ และเข้าสู่วงโคจรที่กำหนด ต่อจากนั้นทำการกางแผงโซลาร์เซลล์และเริ่มทำงานอย่างเหมาะสม ซึ่งองค์การฯ ชี้ว่าเป็นหมุดหมายความสำเร็จของการส่งยานดังกล่าว ภาพโดย SpaceX-Imagery จาก Pixabay การส่งยานเทียนโจว-3 ขึ้นสู่ห้วงอวกาศครั้งนี้ นับเป็นภารกิจครั้งที่ 20 ของโครงการอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมของจีน และภารกิจครั้งที่ 389 ของจรวดขนส่งตระกูลลองมาร์ช สำหรับตัวผู้เขียนนั้น คิดว่าการที่จีนนำจรวดขึ้นไปสำรวจนั้น เพื่อที่จะหาความสามารถมาแข่งกันกับทางด้าน USA หรือจะเรียกว่าไม่ยอมน้อยหน้ากันนั่นเอง แล้วเพื่อนๆคิดว่าการสำรวจของจีนนั้นจะสามารถสู้ของทางฝั่ง USA ได้ไหม ? อัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !