รีเซต

ส่องหุ้นรับผลดี-เสียจากเงินบาทอ่อนค่า มีกลุ่มไหนบ้าง

ส่องหุ้นรับผลดี-เสียจากเงินบาทอ่อนค่า มีกลุ่มไหนบ้าง
ทันหุ้น
23 มิถุนายน 2565 ( 11:05 )
103
ส่องหุ้นรับผลดี-เสียจากเงินบาทอ่อนค่า มีกลุ่มไหนบ้าง

บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์เงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลต่อหุ้นในหลายมิติ โดยมีหุ้นในกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์หลายกลุ่ม และกลุ่มที่เสียประโยชน์ ประกอบด้วย 

 

กลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์ 

 

-กลุ่มรับเหมา-ก่อสร้าง

 

SCC : ธุรกิจ Chemical การ Quote ราคาไม่ว่าจะเป็นตลาดในประเทศหรือการส่งออกจะเป็น Dollar Link จึงได้ประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่า ส่วนธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและ Packaging ค่อนข้างจาก Neutral จากการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน ทำให้ Net Impact แล้ว เงินบาทที่อ่อนค่าลงทุก 1 บาท/USD จะส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิประมาณ 2,000 ล้านบาท/ปี เทียบกับฐานกำไร 4 หมื่นล้านบาท/ปี หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5% ของประมาณการกำไรทั้งปี

 

TPIPL : มีรายได้จากการส่งออกประมาณ 35% ของรายได้รวม หลักๆคือการส่งออก EVA และปูนเม็ด โดยเงินบาทที่อ่อนค่าลงทุก 1 บาท/USD จะส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิประมาณ 2-300 ล้านบาท/ปี เทียบกับฐานกำไร 3-5 พันล้านบาท/ปี หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5-10% ของประมาณการกำไรทั้งปี

 

TASCO : นำเข้า Crude เป็น USD ทั้งหมด โดย Crude ที่นำเข้าจะผลิตยางมะตอยเพื่อส่งออกเกือบทั้งหมด โดย Crude คิดเป็นสัดส่วน 85-90% ของต้นทุนการผลิต โดยเงินบาทที่อ่อนค่าลงทุก 1 บาท/USD จะส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิประมาณ 33 ล้านบาท/ปี คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 2% ของประมาณการกำไรทั้งปี

 

STPI : มีเงินฝากสกุลดอลลาร์ประมาณ 60 MUSD เนื่องจากธุรกิจหลักของ STPI เป็นการผลิตโครงสร้างเหล็กและประกอบ Module ทำให้เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท/USD จะส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิประมาณ 30 ล้านบาท

 

BJCHI : มีสินทรัพย์ในสกุลดอลลาร์ประมาณ 50 MUSD เนื่องจากธุรกิจหลักของ BJCHI เป็นการผลิตโครงสร้างเหล็กและประกอบ Module สำหรับลูกค้าต่างประเทศในธุรกิจ Oil&Gas ซึ่งต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสกุล USD ทำให้เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท/USD จะส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิประมาณ 50 ล้านบาท

 

VNG มีรายได้จากส่งออก : ขายในประเทศ สัดส่วน 80:20 โดยการอ่อนค่าของเงินบาททุกๆ 1 THB/USD จะส่งผลให้กำไรสุทธิปรับเพิ่ม 48 ล้านบาท คิดเป็น 3.2% ของประมาณการกำไรปี 2565

 

-กลุ่มเกษตร-อาหาร

 

กลุ่มนี้มีสถานะเป็นผู้ส่งออก จึงได้ประโยชน์จากทิศทางค่าเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่อง ซึ่งอ่อนค่ากว่าสมมติฐานค่าเงินบาทปี 2565 ที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯโดยทิศทางค่าเงินบาทปัจจุบัน จะส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2565 ของกลุ่มเกษตรอาหารให้เพิ่มขึ้น 12.0% จากปัจจุบัน (หรือราว 3.9 พันล้านบาท) มาที่ 3.6 หมื่นล้านบาท

 

-กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มนี้มีสถานะเป็นผู้ส่งออก เนื่องจากมีกลุ่มชิ้นส่วนไทยสัดส่วนรายได้ราว 70-100% เป็นดอลลาร์ฯ แต่มีสัดส่วนต้นทุนราว 50% เป็นสกุลเงินดอลลาร์ฯ จึงได้ประโยชน์จากทิศทางค่าเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่องซึ่งค่าเงินบาทปัจจุบันค่ากว่าสมมติฐานค่าเงินบาทปี 2565 ที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยหากเพิ่มสมมติฐานค่าเงินบาทขึ้นเป็น 34.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ จะส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2565 ของกลุ่มชิ้นส่วนฯให้เพิ่มขึ้น 12.6% จากปัจจุบัน (หรือราว 1.9 พันล้านบาท) มาที่ 1.78 หมื่นล้านบาท

 

-กลุ่มพลังงาน

 

กลุ่มพลังงานมี 2 บริษัท ที่มี functional currency เป็น dollar จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท ได้แก่ BANPU และ PTTEP ส่วนบริษัทอื่นๆในกลุ่มพลังงาน (อาทิ PTT, TOP, PTTGC, IRPC เป็นต้น) จะบันทึกเป็นขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหากค่าเงินบาทอ่อนค่า เพราะยังมีหนี้สินเป็นสกุลดอลลาร์ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีผลกระทบของ AP และ AR เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ขณะที่ในส่วนของการทำกำไรจะไม่กระทบมากนัก เพราะทั้งขารายได้ และต้นทุน ต่างเป็น dollar link ทั้ง 2 ขา ส่วนใหญ่จึงไม่ได้กระทบในเรื่องของประสิทธิภาพการทำกำไรมากนัก

 

กลุ่มหุ้นที่เสียประโยชน์ 

 

- กลุ่มโรงไฟฟ้า

 

บริษัทส่วนใหญ่ หากสกุลเงินบาทอ่อนค่าจะได้รับผลกระทบในแง่ของการกู้ยืมเป็นเงินสกุลต่างประเทศ โดยกรณีบาทอ่อนค่าจะต้องแปลงค่าเงินบาทเป็นสกุลต่างประเทศในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และบันทึกเป็นขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ตัวอย่างบริษัทที่เสียประโยชน์จากบาทอ่อนได้แก่ BGRIM, GULF, EGCO, BCPG, GUNKUL, TPIPP เป็นต้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง