เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา Intel วางจำหน่ายซีพียู Gen 13th Raptor Lake ซึ่งออกมาไล่ๆ กันกับ AMD ที่ปล่อย Ryzen 7000 ออกมา ตลาดซีพียูที่กลับมาแข่งขันกันอย่างดุเดือดอีกครั้ง Intel ชูว่า Gen นี้เป็นซีพียู Desktop ที่แรงที่สุดในโลก ซึ่งมีหลายๆ ท่านรีวิวให้ดูแล้ว อีกทั้งมีถึงมีบุคคลที่ทำการ Overclock ได้ถึง 8.8 GHz นับเป็นที่ซีพียูที่แรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา เดิมๆ ก็ไป 5 GHz แล้วสำหรับ Gen 13th แรงจริง แรงแบบถึงขั้นเดือด รวมถึงราคาด้วย จริงๆ แล้ว Intel มีซีพียูหลากหลายให้เลือกใช้งาน ซึ่งตัวที่เป็นที่นิยมสำหรับชาว PC หรือ Desktop ก็คงจะเป็นตระกูล Intel Core ไล่กันตั้งแต่ i3 i5 i7 i9 หากคุณไม่ได้ติดตามข่าวหรือทำงานที่เกี่ยวกับด้านนี้ เมื่อเห็นรูปร่างหน้าตากล่องผลิตภัณฑ์ ก็อาจจะมีอาการงงว่ามันคืออะไร รู้แค่ว่ามันคือซีพียูของ Intel แล้วฉันจะไปต่อยังไง มีตั้งหลาย i ถ้าจะซื้อเอาไปใช้งานฉันควรเลือกแบบไหนละ อ่านตรงนี้อาจจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น การเลือกซื้อซีพียูของ Intel Core นั้นควรใช้เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกดังนี้1. เอาไปใช้ทำอะไร คุณต้องรู้จุดประสงค์ก่อนว่าจะเอาไปใช้งานประเภทไหน ซึ่งแยกตามความต้องการผู้ใช้งานหลักๆ โดยทั่วไปก็จะมีLower ต้องการใช้งานแค่ ดูหนังฟังเพลง เล่นเน็ต ทำงานเอกสารบ้าง การทำงานระดับนี้ไม่ได้ใช้ทรัพยากรเครื่องมากMiddle ต้องการใช้ทำงานและเล่นเกมด้วย ทำงานประเภทเขียนโปรแกรม ทำเว็บไซต์ กราฟฟิก ตัดต่อวิดีโอ เกมทั่วไปในตลาด ไม่ได้เปิดโหมดกราฟฟิกแบบ Ultra ต้องการสตรีมเกม ทำงานแบบ Muti สำหรับผู้ใช้ระดับนี้สายเกมส่วนใหญ่จะซื้อการ์ดจอแยกต่างหากอยู่แล้ว ส่วนสายตัดต่ออย่างเรนเดอร์เร็วก็ต้องอาศัยความสามารถซีพียูเป็นหลักHigh ต้องการใช้งานด้านกราฟฟิก ตัดต่อ 3D แบบลื่นไหล เรนเดอร์งานเร็วปรี๊ดๆ เขียนโปรแกรม คอมไพล์ไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว ทำงานระดับ Multitask หลายจอ แน่นอนครับว่าคุณต้องการซีพียูระดับ High เพื่อซื้อเวลาในการทำงาน และใช้ความสามารถของ Hardware และ Software สูงสุดเท่าที่จะมอบให้คุณได้ใช้มันอย่างสูงสุด2. รู้จัก Core Thread และ Gen (อ่านว่า คอร์ เทรด และ เจน) ต้องรู้จักทั้งสามตัวนี้ครับ เพราะแต่ละ Gen ที่ออกมา Core และ Thread ไม่เท่าเดิมนะครับ Gen ใหม่ จะเพิ่ม Core และ Thread มาให้มากกว่าหรืออาจน้อยกว่า แต่แน่นอนประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้นกว่า จำง่ายๆ Gen ใหม่กว่าจะดีกว่าครับ นึกถึงรถยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน แต่คนละ GenCore แกนหลักในการประมวลผลของซีพียูThread ช่องทางในการส่งงานของซีพียู เป็นเหมือนตัวช่วยจัดการงานของซีพียูGen ลำดับการพัฒนาของซีพียูรุ่นนั้นๆซึ่งแต่ละโปรแกรมในที่นี้ผมขอเรียกว่า Software ละกันครับ ความต้องการระบบในการรัน Software แต่ละตัวจะแตกต่างกันออกไป หรือเรียกว่า System Requirement จำนวน Core และ Thread ยิ่งมากยิ่งดี แต่เดี๋ยวครับ มันดีกว่าก็จริงแต่ถ้าหากทางผู้พัฒนาไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับ เราก็อาจใช้มันได้ไม่คุ้มค่า อาทิเช่น Software ต้องการทำงานที่ ระดับ 4 Core แต่คุณมีซีพียู 8 Core อยู่ในมือ หมายความว่าอีก 4 Core ก็จะไม่ได้ถูกใช้งานแล้วจะซื้อ 8 Core มาเพื่ออะไร แต่ Core มากกว่าก็ยังดีกว่า Core ไม่พอใช้งาน ถูกต้องไหมครับ Core และ Thread หากมีมากจะส่งผลดีกว่า เหมาะอย่างยิ่งในการทำงานระดับ Multitask ให้คุณนึกถึงสภาพแวดล้อมคนที่สตรีมเกม เขาจะต้องใช้ซีพียูทำงานอะไรบ้างขณะนั้น เปิดเกมที่ใช้สตรีมอยู่ เปิด Discord, Social media, Youtube และในระหว่างนั้นก็บันทึกวิดีโอในระดับ 4K ขณะที่เขาสตรีมด้วย ดังนั้นหากเรียงลำดับในการเลือกซื้อ ให้ดูที่ Gen ก่อน ตามด้วย Core และ Thread ว่าเพียงพอกับที่คุณต้องการไหม หัวข้อนี้ไหนๆ พูดเรื่อง Core แล้วขออนุญาตเขียนถึง P-Cores กับ E-Cores ด้วยละกันนะครับ P-cores และ E-Cores เป็น Core ซีพียูที่มีเฉพาะในรุ่นที่เป็น Hybrid เท่านั้นซึ่งการทำงานสำหรับ P-Cores นั้นจะทำงานในระดับ Performance เน้นไปทางประสิทธิภาพเครื่องเป็นหลัก เช่น การเล่นเกมที่ต้องใช้สมรรถนะเครื่องอันหนักหน่วง ส่วน E-Cores จะทำงานในระดับ Efficient เพื่อช่วยให้ P-Cores สามารถรันงานหนักได้ดีแบบราบลื่น ฟังดูคล้ายๆ กับ Thread เพียงแต่มันทำงานอยู่ในระดับเดียวกัน Core ทั้ง 2 ประเภทนี้ถูกออกแบบให้วางอยู่บนวงจรเดียวกัน จำง่ายๆ ก็พี่ P-Cores น้อง E-Cores3. เลือกตัวไหนดี Intel Core i3 i5 i7 i9 ทาง Intel ตัวเลขไม่ได้หมายถึงจำนวน Core นะครับ แต่คือชื่อรุ่น หรือผลิตภัณฑ์ โดยแยกตามความต้องการของผู้ใช้งานi3 เหมาะสำหรับผู้ใช้งานระดับเบื้องต้น ไม่ต้องการความสามารถของซีพียูมากนัก ใช้งานเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก เล่นเน็ต เล่นเกมระดับต้นๆ กราฟฟิกค่อนข้างต่ำ งานเอกสารระดับพื้นฐานi5 เหมาะสำหรับผู้ใช้งานระดับกลาง ครอบคลุมทั้งการเล่นเกมและทำงาน i5 เหมาะกับผู้ใช้งานด้านการเขียนโปรแกรม งานกราฟฟิกที่ไม่ต้องเปิดซ้อนกันหลายเลเยอร์ ตัดต่อวิดีโอได้ ขอแค่ให้ซีพียูสามารถทำงานได้ตามความต้องการของ Software ขั้นพื้นฐานไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพซีพียูสูงๆi7 เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการซีพียูประสิทธิภาพสูง เล่นเกมระดับสูง ทำงานได้ราบรื่นหรืองานหนักๆ ได้ดีในระดับนึง สภาวะการทำงานแบบมัลติเทรด กราฟฟิกที่มี ความซับซ้อนมากขึ้น 3D ตัดต่อวิดีโอราบรื่นและเรนเดอร์งานได้รวดเร็วและดีi9 เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการซีพียูประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งเล่นเกมและทำงาน ซีพียูต้องสามารถทำงานได้ในระดับหนักหน่วงแบบจัดหนักจัดเต็ม ทำงานกับ 3D และตัดต่อวิดีโอแบบลื่นสุดๆ ระดับมือโปร เรนเดอร์ได้ในระยะเวลาอันสั้น4. K กับ KF บนกล่องผลิตภัณฑ์หลังตัวเลข เรียกว่า Suffix ครับ ผลิตภัณฑ์ของ Intel มีหลาย Suffix ในที่นี้ผมจะเขียนระบุไว้เฉพาะของ Intel ตระกูล Core เท่านั้น เป็น Suffix ที่เราจะพบเจอบ่อยสุด มีเพื่อบอกว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้น มีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับซีพียูตัวนั้นๆK ปลดล็อคให้สามารถทำการ Overclock ได้ สามารถปรับความเร็วของซีพียูได้มากขึ้นกว่าเดิมKF ปลดล็อคให้สามารถทำการ Overclock ได้ สามารถปรับความเร็วของซีพียูได้มากขึ้นกว่าเดิมและไม่มีชิปกราฟฟิก จำเป็นต้องมีการ์ดจอแยก สายเกมจะนิยมใช้ตัวนี้เพราะยังไงก็ต้องซื้อการ์ดจออยู่แล้ว ราคาซีพียูก็จะถูกว่า5. เงินในกระเป๋า แน่นอนครับว่าถ้าคุณมีกำลังทรัพย์มากพอที่จะซื้อ i9 ได้ก็ซื้อครับ แต่ถ้าหากคุณไม่มีมากพอหรือมองว่าไม่จำเป็นต้องใช้งานซีพียูในระดับนั้น ให้ใช้แนวทางเลือกที่ผมเขียนไว้ให้ เลือก Gen ก่อนแล้วค่อยเลือกจำนวน Core และ Thread คือเลือกดูทั้ง 3 สิ่งนี้เป็นสำคัญในลำดับต้น Gen ใหม่ หากกำลังซื้อเราไม่ไหว ให้ลดลงทีละ Gen โดยยังคงจำนวน Core และ Thread ให้ได้เท่าเดิมในจำนวนที่เราต้องการใช้งานอยู่ หากต้องการซื้อเวลาการทำงานของคุณก็ควรเลือกเป็น i9 ครับคนที่ซื้อของแพง คือ... คนที่ซื้อของมาแล้วตัวเองไม่ได้ใช้งานครับ ผมจะไม่พูดเรื่องของ GHz หรือความถี่ของซีพียูเลย จริงอยู่ครับว่ามันมีผลต่อความเร็วในการทำงานหรือประมวลผลซีพียู การเลือกซื้อซีพียูที่เหมาะกับตัวคุณเป็นเรื่องสำคัญกว่า ต้องรู้ก่อนว่าคุณจะเอาไปใช้งานอะไร ให้ดู Gen Core และ Thread ทั้ง 3 ตัวนี้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่คุณต้องการ ผมให้ความสำคัญกับส่วนนี้สำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อครับ เพราะคุณจะได้ซีพียูตรงตามความต้องการของคุณและใช้งานมันอย่างคุ้มค่ากับเงินที่เราเสียไปครับเครดิตภาพภาพปก ภาพที่ 1 by Uzair Ahmed on Unsplashภาพปก ภาพที่ 2 by Andrey Matveev on Unsplashภาพปก ภาพที่ 3 by TheDigitalArtist on Pixabayภาพประกอบที่ 1 by Ataberk Güler on Unsplashภาพประกอบที่ 2 by Uzair Ahmed on Unsplashภาพประกอบที่ 3 by Chris Ried on Unsplashภาพประกอบที่ 4 by Andrey Matveev on Unsplash7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์