บ่อยครั้งที่อยู่หน้างานบริการการจ่ายยายาทุกรายการที่ผ่านออกจากเภสัชกรจะต้องผ่านการตรวจสอบในทุกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อเป้าหมายหลักที่สำคัญ คือ " ความปลอดภัย " ของผู้ใช้บริการในกระบวนการที่หลากหลายขั้นตอนนั้น สิ่งที่อยากชี้ให้เห็นคือ"ความเหมือน เเละ ความต่าง ของลักษณะแผงยา"ยา ที่เหมือนกัน .. แทนกันได้ หรือ ไม่ - บางบริษัทผลิตยาออกมา มีลักษณะ " แผง " ที่คล้ายกัน- บางบริษัทผลิตยาออกมา มีลักษณะ " เม็ดยา " ที่คล้ายกัน- บางบริษัทผลิตยาออกมา มีลักษณะ " กล่องยา" ที่คล้ายกัน- บางบริษัทผลิตยาออกมา มีลักษณะ " ขวดยา " ที่คล้ายกัน- บางบริษัทผลิตยาออกมา มีลักษณะ " สีแผงยา " ที่คล้ายกัน** เเต่ ความคล้ายที่บอกว่า คล้ายกันนั้น ไม่สามารถบอกได้ว่า แทนกัน!! ได้หรือไม่ ? ซึ่งการจะบอกได้ว่า สามารถทดแทนกันได้หรือไม่นั้น ต้องสังเกตุจาก " ชื่อตัวยาสำคัญเเละขนาดยา " ที่เเสดงอยู่บนแผงยา,กล่องยาหรือขวดยา เป็นหลัก . . . เท่านั้น !! ซึ่งถ้าเป็น ตัวยาสำคัญตัวเดียวกัน สามารถทดเเทน กันได้* เเต่ถ้าเป็นตัวยาสำคัญคนละตัวกัน จะไม่สามารถทดแทนกันได้ทันที ดังนั้น ก่อนถึงตัวย่างของการได้รับยาเดิมที่เปลี่ยนแปลงไป ผมจะพาทุกท่าน สังเกตชื่อตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์ในการรักษา((ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการรักษา)) * โดยปกติ ยาทุกชนิด จะประกอบด้วย ชื่อการค้า(ชื่อการตลาดของผู้ผลิต) + ชื่อตัวยาสำคัญพร้อมขนาดยาว่ากี่มิลลิกรัม (ชื่อยาที่ออกฤทธิ์ในการรักษาโรค) โดยจะอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของกล่องยา หรือ แผงยาดังตัวอย่างในภาพ - * ชื่อการค้า คือ Tanzaril 100- * ชื่อตัวยาสำคัญ คือ Losartan ขนาดความเเรง 100 มิลลิกรัม ต่อเม็ด ภาพประกอบที่ถ่ายเองเเละสร้างสรรค์เองจากสถานที่ปฏิบัติงานจริง เเละ ภาพต่อไปเป็นตัวอย่าง ของ บริษัทเดียวกัน ที่มี ยา มากกว่า 1 ขนาด เช่น - กล่องเขียว : ชื่อการค้า คือ Tanzaril 100(ชื่อตัวยาสำคัญ คือ Losartan : 100 มิลลิกรัม ต่อเม็ด)- กล่องฟ้า : ชื่อการค้า คือ Tanzaril(ชื่อตัวยาสำคัญ คือ Losartan : 50 มิลลิกรัม ต่อเม็ด) หมายความว่า ยาทั้ง 2 แผงนี้ เป็นตัวยาชนิดเดียวกัน ที่ออกฤทธิ์ในการรักษาเหมือนกัน ต่างกันเพียงความเเรงของยาที่ต่างกันคือ 50 มิลลิกรัม ต่อเม็ด เเละ 100 มิลลิกรัมต่อเม็ด ภาพประกอบที่ถ่ายเองเเละสร้างสรรค์เองจากสถานที่ปฏิบัติงานจริง ดังนั้น เมื่อทราบวิธีการสังเกตชื่อตัวยาสำคัญ ขนาดยา เเล้ว ตัวอย่างต่อไปในการรับยาจึงสำคัญ เช่นเดิมเคยใช้ยาลดความดันโลหิต losartan 100 mg ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้งหลังอาหาร เช้า . . .- ด้วยเหตุผลตามระเบียบการสั่งซื้อยา หรือการจัดสรรยา ที่ไม่สามารถ จ่ายยา losartan 100 mg ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้งหลังอาหาร เช้า เช่นเดิมได้ ทำให้มีการ จ่าย " losartan ขนาด 50 mg รับประทาน ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 1 ครั้งหลังอาหาร เช้า ทดเเทน losartan 100 mgซึ่ง เหตุการณ์นี้ สามารถ ทดเเทนกันได้!!! เเม้ ลักษณะของยา จะเเตกต่างกัน ... ก็ตามเพราะ "ยึดชื่อตัวยาสำคัญเป็นหลัก" มาก่อนเสมอ !!!ซึ่งถ้าระหว่างการรับยา ไม่ทันฟังอย่างชัดเจน เข้าใจว่า ยาที่ได้รับไป เป็นยาลดความดันโลหิตชนิดเดิมคือ losartan 100 mg ซึ่งเคยรับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด (ได้รับ 100 มิลลิกรัม ต่อวัน)เเต่วันนี้ได้รับ losartan ขนาด 50 mg กลับบ้านไปและรับประทานอย่างเดิมที่เคย คือ วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด ( จะได้ขนาดยาที่ต่ำกว่าที่เคยทานคือ ได้รับ 50 มิลลิกรัม ต่อวัน )ทำให้ ส่งผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของตนเองต่อไป . . .ด้วยความปรารถนาดี หากสงสัยปัญหาการใช้ยา โปรดปรึกษาเภสัชกรหลังรับยากลับบ้านทุกครั้ง + อ่านฉลากก่อนการใช้ยา . . .