พืชสมุนไพรนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งในด้านของการนำมาใช้เป็นตัวยารักษาโรคต่าง ๆ บางชนิดสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารที่มีประโยชน์ หรือปลูกไว้ตามบ้านเพื่อเป็นไม้มงคล หรือไม้ประดับเพื่อให้ความสวยงาม ซึ่งในปัจจุบันคนรุ่นหลังเริ่มรู้จักสมุนไพรต่าง ๆ น้อยลง จึงทำให้ไม่ทราบว่าพืชชนิดใดบ้างที่เป็นสมุนไพร บางครั้งคิดว่าเป็นแค่วัชพืชขึ้นรกบ้าน ก็ถอนทิ้งไปบ้างก็มี ทั้งที่อาจจะเป็นเป็นสมุนไพรหายากก็ได้ นั่นก็เป็นเพราะเราไม่รู้จักสมุนไพรนั่นเอง ผู้เขียนจึงพยายามหาข้อมูลของสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาให้ผู้อ่าน รู้จักสมุนไพรแต่ละชนิดและทราบถึงคุณค่าของมัน ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำเอาข้อมูลของสมุนไพรอีกหนึ่ง ชนิดที่ควรหามาปลูกตามบ้าน และนอกจากจะเป็นไม้ประดับให้ความสวยงามแล้ว ยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคอีกด้วย นั่นก็คือ “พญาไร้ใบ” ที่นับว่าเป็นสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่หาได้ยากในปัจจุบันภาพถ่ายโดยผู้เขียน“พญาไร้ใบ” จัดเป็นพืชล้มลูกที่มีลำต้นแตกกิ่งก้านสาขา และมีความเปราะบาง ดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบมีขนาดมาก ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีเขียว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ไม่มีกลีบดอก และอยู่ในช่อเดียวกัน มีแต่กลีบรองดอกสีขาวภาพถ่ายโดยผู้เขียนสรรพคุณของ “พญาไร้ใบ” สามารถใช้รักษาโรคริสีดวงทวาร แก้ปวดท้อง แก้กระเพราะอาหารอักเสบ แก้ปวดบวม แก้ปวดข้อ ระบายท้อง น้ำยางใช้เป็นยากัดหูดสมัยเด็ก ๆ ผู้เขียนเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “หูด” ที่บริเวณเท้าทั้งสองข้างและลามขึ้นมาตามขา ไปรักษาที่โรงพยาบาลและคลินิกหลายครั้งก็ไม่หาย ไม่ว่าจะเป็นการจี้ด้วยฟ้า การผ่าออก การกัดด้วยกรด ก็ไม่ได้ผล จนปู่ของผู้เขียนนำยางของต้น “พญาไร้ใบ” มาทาที่หัวหูดติดต่อกันหนึ่งสัปดาห์ แล้วหัวหูดก็ค่อย ๆ หลุดและหายไป ซึ่งก็ทำให้ตอนนี้ผู้เขียนดีใจมาก ที่สามารถรักษาหูดได้ นอกจากนี้ปู่ยังเคยนำต้นของ “พญาไร้ใบ” มาต้มให้กินเพื่อรักษาอาการไอเจ็บคอได้อีกด้วย แต่ก็มีข้อควรระวังคือห้ามไม่ให้น้ำยางของ “พญาไร้ใบ” เข้าตาเด็ดขาดเพราะจะทำให้ตาบอดได้ที่กล่าวมานั้นคือเรื่องราวประสบการณ์ที่ผู้เขียนเคยประสบมา และประทับใจในสรรพคุณของสมุนไพรชนิดนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว “พญาไร้ใบ” ยังสามารถนำไปใช้เป็นยาแก้อาการได้อีกหลายโรค หากผู้อ่านท่านใดสนใจก็ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ ซึ่งผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะทำให้ทุกผ่านให้มาสนใจคุณค่าของสมุนไพรมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการรักษาไว้ให้คงอยู่สืบต่อไปภาพถ่ายโดยผู้เขียน