การงานแผนการเงินขั้นพื้นฐานคือสิ่งจำเป็น ทั้งในด้านของการวางแผนเกษียณ ภาษี ทำประกัน ฯลฯ เราจะให้เงินถูกแบ่งไปในสัดส่วนมากขนาดนี้ เราต้องรู้ว่าจะมีเงินพอจะนำไปจัดสรรมากหรือน้อยแค่ไหน เพื่อไม่ให้เงินขาดมือ หรือหากเราไม่สนใจวางแผนอะไรเลย เราก็เจอควาามเสี่ยงในอนาคตได้เหมือนกัน ลงทุนศาสตร์ หรือ กิตติศักดิ์ คงคา จะมาแนะนำเรื่องวางแผนการเงินในแบบฉบับของคนที่ชอบใส่ใจในรายละเอียดและป้องกันความเสี่ยงด้วยสูตรคณิตศาสตร์ทางการเงินที่มีรูปแบบชัดเจน ความรู้ความประทับใจในมุมมองของครีเอเตอร์ 1.เป้าหมายวางแผนทางการเงินแบบ SMIRT Specific คือ จุดมุ่งหมายในการลงทุน Measurable คือ จํานวนเม็ดเงินเป็นตัวเลข Important คือ ระบุว่า Want (ต้องการ) หรือ Need (จําเป็น) Risk Acceptance คือ บอกระดับความเสี่ยงที่รับได้เป็นเปอร์เซ็นต์ Time-bounded คือ กําหนดว่าต้องการได้มาในกี่เดือน ยกตัวอย่าง เป้าหมายทางการเงินของฉัน คือ ฉันต้องการเก็บเงิน ซื้อบ้านหลังใหม่เพื่ออยู่อาศัย จํานวนเงิน 5,000,000 บาท ภายในเวลา 60 เดือน (5 ปี) ความสําคัญระดับ Need บนความเสี่ยงที่รับได้ที่ 8.51% 2.แผนเกษียณวิธีใช้เงินต้น วิธีนี้เรียบง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด นั่นคือ เราไม่มุ่งหวังดอกผล จากการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น เก็บเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ แล้วแบ่งใช้ ไปเรื่อย ๆ เมื่อเลิกทํางานแล้ว วิธีนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง เงินก้อนเกษียณ = (เงินเดือนเกษียณ x 12) × ปีที่เสียชีวิต - ปีที่เริ่มต้นเกษียณ) เงินก้อนเกษียณ หมายถึง จํานวนเงินทั้งหมดที่เราต้องมีเพื่อให้บรรลุ ตามแผนเกษียณที่ต้องการ ส่วนเงินเดือนเกษียณ หมายถึง จํานวนเงิน ที่เราต้องการใช้ต่อเดือนยามเกษียณ ยกตัวอย่าง หากคุณคาดว่าจะต้องใช้เงินเดือนละ 30,000 บาท เพื่อดํารงชีวิตหลังเกษียณ แล้วตั้งใจจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และ คาดว่าจะเสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี คุณก็คํานวณเงินที่ต้องการสะสมเพื่อใช้ตอนเกษียณได้ 3.แผนเกษียณวิธีใช้กระแสเงินสด นี่เป็นวิธีวางแผนเกษียณอันดับหนึ่งที่ผมอยากแนะนําให้ทุกคนใช้โดยเฉพาะคนที่พอจะมีความรู้ทางการเงินอยู่บ้าง วิธีนี้จะช่วยทุ่นแรงได้ มากกว่าวิธีแรกที่ต้องเก็บเงินจํานวนมาก แถมยังมีแต่เรื่องไม่แน่นอน โดยจะเน้นการนําเงินก้อนไปลงทุนในสินทรัพย์เพื่อสร้างผลตอบแทน เป็นกระแสเงินสด เราก็ใช้จ่ายด้วยกระแสเงินสดเหล่านั้น ส่วนเงินต้นก็นําไปลงทุนเรื่อย ๆ ปล่อยให้เป็นเครื่องจักรผลิตเงินต่อไป 4.เงินก้อนเกษียณ = (เงินเดือนเกษียณ x 12) ÷ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ยกตัวอย่าง หากคุณคาดว่าจะต้องใช้เงินเดือนละ 30,000 บาทเพื่อดํารงชีวิตหลังเกษียณ คุณคาดว่าจะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ปีละ 5% คุณก็คํานวณเงินที่ต้องการสะสมเพื่อใช้ตอนเกษียณได้ เงินก้อนเกษียณ = (เงินเดือนเกษียณ x 12) ÷ ผลตอบแทน ที่คาดว่าจะได้รับ เงินก้อนเกษียณ = (30,000 × 12) ÷ 0.05 บาท เงินก้อนเกษียณ = 7,200,000 บาท 5.กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนเตรียมตัวเกษียณภาคสมัครใจ ของพนักงานเอกชน โดยบริษัทเอกชนจะมีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือไม่ก็ได้และในกรณีที่มี พนักงานจะเข้าร่วมหรือไม่ก็ได้เช่นกัน หลักการคล้าย กองทุนประกันสังคม คือ ลูกจ้างสมทบส่วนหนึ่ง นายจ้างสมทบส่วนหนึ่ง ในจํานวนเท่ากับที่ลูกจ้างส่ง แต่ไม่เกินเพดานที่กําหนดไว้ เช่น บริษัทอาจกําหนดกรอบอยู่ที่ 2-15% แต่บริษัทจะส่งเงินสมทบไม่เกิน 5% เท่านั้น แบบนี้สัดส่วนที่คุ้มค่าที่สุดในการส่งก็คือเพดานสูงสุดที่บริษัทจะสมทบให้นั่นเอง 5 ขั้นตอนการคํานวณเงินเก็บเพื่อใช้สําหรับเตรียมตัวเกษียณ 1. ประเมินเงินที่ต้องการต่อเดือนตอนเกษียณ 2. ปรับมูลค่าเงินที่ต้องการตามอัตราเงินเฟ้อ 3. หักเงินบํานาญที่คาดว่าจะได้รับ 3. นําเงินส่วนที่เหลือซึ่งต้องการตอนเกษียณมาคํานวณเพื่อหาเงินก้อนที่ต้องเก็บให้ได้ 4. หักเงินบําเหน็จที่คาดว่าจะได้รับ 5. คํานวณย้อนกลับมาเป็นเงินลงทุนต่อเดือน 6.เราทําประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงจาก การเสียชีวิต เป้าหมายสําคัญคือเมื่อเราเสียชีวิต คนข้างหลังจะยังมี เงินก้อนให้พอใช้จ่ายจนกว่าจะตั้งหลักได้อีกครั้ง สิ่งอื่นที่ติดมากับประกัน คือทางเลือกเสริม เราควรมุ่งมั่นไปที่การประกันชีวิตเป็นหลัก โดยพื้นฐาน แล้วประกันชีวิตมี 5 ประเภท ได้แก่ (1) ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (2) ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (3) ประกันชีวิตแบบบํานาญ (4) ประกันชีวิต แบบสะสมทรัพย์ และ (5) ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน 7.จุดมุ่งหมายสูงสุดของการประกันชีวิต คือ การประกันความเสี่ยง ในกรณีเสียชีวิต ไม่ใช่การออมหรือการลดหย่อนภาษี เราจึงควรยึดเป้าหมายเรื่องความคุ้มครองเป็นที่ตั้ง หลักพื้นฐานคือ ทุนประกันควรเท่ากับ 2-5 เท่าของรายได้ต่อปีของเรา (หมายถึงจํานวนปีที่คาดว่า คนข้างหลังจะตั้งตัวและหารายได้เลี้ยงตัวเองได้) แต่เบี้ยประกันที่จ่าย ไม่ควรมากกว่า 10-15% ของรายได้รวมตลอดปี หรือไม่เป็นภาระให้ กับเราจนมีโอกาสที่จะส่งเบี้ยประกันไม่ไหวในอนาคต หากเราเป็นเสาหลักของครอบครัว ระยะต้นของการทำงานอาจเลือกทําประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาก่อนเพื่อสร้างความคุ้มครองที่สูงในเวลาอันรวดเร็ว ก่อน จะเพิ่มประกันชีวิตแบบตลอดชีพเพื่อเป็นหลักประกันในภายหลัง 8.วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยวิธีเงินได้สุทธิกันก่อน การคำนวณเงินได้ด้วยวิธีนี้ต้องรู้ 3 ปัจจัยหลักด้วยกัน ได้แก่ เงินได้พึงประเมิน ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน เราต้องแยกให้ได้ก่อนว่ารายได้ของเราจัดเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทไหน โดยทั่วไปเวลามีรายได้ ผู้จ่ายเงินให้เราบางประเภทมีหน้าที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายส่งให้กรมสรรพากร นัยว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เราหนีภาษีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ได้แปลว่าจ่ายภาษีเสร็จแล้ว เราต้องนำรายได้ก้อนนั้นไปคำนวณภาษีตามปกติ ได้ยอดภาษีจ่ายเท่าไหร่ก็มาหักยอดภาษี ณ ที่จ่ายที่จ่ายไปแล้ว เราก็นำจ่ายแค่ส่วนที่เหลือ หรือถ้าหักไปเกิน เราก็ขอคืนภาษีได้เช่นกัน 9.หลังจากคํานวณจนได้เงินได้สุทธิแล้วก็นํามาเข้าอัตราภาษีตาม ขั้นบันได โดยกระจายรายได้ตามขั้นภาษี ก่อนจะนําผลรวมมารวมกัน เพื่อหาภาษีจ่ายรวม ย้ำอีกครั้งว่ากระจายคิดตามขั้น ไม่ใช่จับคุณขั้นที่ สูงที่สุด เช่น หากเรามีเงินได้สุทธิ 350,000 บาท แปลว่าเราต้องจ่ายภาษี คือ 150,000 แรกเสียอัตรา 0% 150,000 ถัดไปเสียอัตรา 5% หรือ 7,500 บาท และ 50,000 สุดท้ายเสียอัตรา 10% หรือ 5,000 บาท รวมเป็นจ่ายภาษี 12,500 บาท 10.ข้อเสียอีกข้อหนึ่งของตราสารหนี้ คือ ใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก โดยทั่วไปจะระบุไว้ว่าทวีคูณของเท่าไหร่ เช่น ทวีคูณของ 10,000 บาท เป็นต้น ซึ่งอาจไม่เหมาะกับนักลงทุนรายย่อยเท่าไหร่ ทั้งยังทยอยลงทุน ได้ยาก เพราะตราสารหนี้จะออกเป็นรุ่น ๆ สําหรับใครที่มีเงินน้อย แต่อยากลงทุนในตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารหนี้จะตอบโจทย์มากกว่า เพราะเริ่มต้นด้วยเงินไม่มากและทยอยซื้อต่อเนื่องได้ง่าย โดยสรุปเนื้อหาภายในเล่มอ่านยาก ด้วยสำนวนแบบคนเรียนมาสูง การจะนำไปปรับใช้ต้องไม่มองข้ามแบบฝึกหัดท้ายบทที่แนบไว้ให้ เราจะได้ทำการทบทวนตัวเองถึงเนื้อหาที่ได้เรียนไป มันไม่ใช่แค่การตอบคำถาม แต่เป็นการถามตัวเองว่าชีวิตของเราควรจะวางแผนการเงินในรูปแบบไหน เครดิตภาพ ภาพปก โดย Photo By: Kaboompics.com จาก pexels.com ภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียน ภาพที่ 3 โดย Pixabay จาก pexels.com ภาพที่ 4 โดย Pixabay จาก pexels.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจ รีวิวหนังสือ MONEY 101 เริ่มต้นชีวิตสู่การเงินอุดมสุข (ฉบับปรับปรุงใหม่) รีวิวหนังสือ PASSIVE INCOME รีวิวหนังสือ มนุษย์เงินเดือนต้องรอด The Woke Salaryman รีวิวหนังสือ THINK & GROW RICH FOR THE MODERN READER คิดให้รวย ฉบับอัปเดต ย่อยง่าย กระชับที่สุด รีวิวหนังสือ ปิดประตูเจ๊ง ให้ธุรกิจเฮงเฮง เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !