3 อาชีพแหล่งกำเนิดจากภาคใต้ ภาคใต้ในประเทศไทยประกอบไปด้วย 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นราธิวาส นครศรีธรรมราช ปัตตานี พัทลุง พังงา ภูเก็ต ยะลา ระนอง สตูล สงขลา สุราษธานี ดินแดนส่วนใหญ่ในภาคใต้นั้นอยู่ติดกับทะเล ทำให้ก่อเกิดอาชีพมากมาย อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวมักจะไปเยือนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ภาคใต้นั้นเป็นแหล่งกำเนิดของอาชีพมากมาย รวมทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของอาหารขึ้นชื่ออีกด้วย ภาพโดย https://pixabay.com/th/photos/suwancoffee-ชาเขียวชานมเย็น-2370934 1. อาชีพขายชาชักชาชักมีต้นกำเนิดจากระเทศมาเลเซียแต่ก็ก่อให้เกิดอาชีพกับชาวภาคใต้จนเกิดเป็นแบรนด์ดัง ชาชักจะมีสีส้ม มีกลิ่นหอมของชา มีรสชาติหวานหอม เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมอันดับต้น ๆ ที่คนไทยมักจะซื้อรับประทาน สิ่งที่น่าสนใจของชาชักนั่นคือการชักชา หากเป็นพ่อค้ามืออาชีพที่ขายมานานนั้นจะมีลีลาการชักช้าที่ชำนาญและพริ้วไหวสวยงาม การทำชาชักนั้นไม่ยากแต่ก่อนอื่นต้องรู้จักชนิดชาเสียก่อน ส่วนการชักชาให้สูงนั้นเพื่อให้เกิดออกซิเจนทำให้ชาเกิดฟองหนาและมีรสชาตินุ่ม การชักช้าต้องมีฝีมือและมีความชำนาญพอสมควร โดยราคาขายชาชักนั้นจะอยู่ที่แก้วละ 30 บาท ภาพโดย https://pixabay.com/th/photos/โขน-รามเกียรติ์-สยาม-แต่งตัว-2889123/ 2. อาชีพประดิษฐ์หัวโขนหัวโขนไทยมีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน มีเอกลักษณ์เฉพาะด้าน ในการทำหัวโขนจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักต้องอาศัยฝีมือและประสบการณ์ ที่สำคัญผู้ที่จะทำหัวโขนนั้นจะต้องมีความประณีตใจเย็น ต้องรู้จักลวดลายการเขียน โดยในอดีตนั้นหัวโขนถูกทำขึ้นจากกระดาษ แต่ในปัจจุบันมีการประยุกต์กันใหม่ด้วยการใช้ปูนปลาสเตอร์ และใช้กระดาษปิดโดยมีเรซิ่นมาช่วยในบางขั้นตอน และสีที่ใช้ทาจะต้องเป็นสีที่กันน้ำ เป็นสีที่ทนทานและสวยสด หากนำสีไม่ดีมาทาเมื่อทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดรอยด่างได้ โดยราคาขายนั้นจะอยู่ขั้นตอนการผลิตรวมทั้งวัสดุที่ใช้ผลิต หากเป็นหัวโขนที่ทำจากกระดาษก็จะมีราคาอยู่ที่หลักร้อยเท่านั้น ถ้าเป็นหัวโขนที่ใช้วัสดุคงทนก็อาจจะมีราคานับหมื่นบาท ภาพโดย https://pixabay.com/th/photos/หนังตะลุง-ลิง-แสง-ผลการดำเนินงาน-950026/ 3. อาชีพหนังตะลุงการทำหนังตะลุงนั้นจะใช้หนังวัวมาทำเพราะหนังวัวมีความเหนียวและโปร่งใสมากกว่าหนังกระบือ เวลาวาดรูปหรือลายเส้นลงไปจะเห็นได้ชัดกว่า งานทำหนังตะลุงนั้นเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิ งาน 1 ชิ้นอาจใช้เวลาทำประมาณ 6-7 วัน แต่หากเป็นลายไทยก็จะใช้เวลาค่อนข้างมากเพราะทำยาก ลวดลายส่วนใหญ่จะนำมาจากภาพตามโบสถ์และตามวัดต่าง ๆ แล้วนำมาประยุกต์ใหม่ โดยราคาขายหนังตะลุงนั้นจะอยู่ที่ 300-2,000 บาท แต่หากเป็นงานละเอียดอาจมีราคาเป็นหมื่นเป็นแสน อาชีพเหล่านี้นั้นนอกจากจะทำเงินได้เเล้ว ยังเป็นหน้าเป็นตาของประเทศไทยเรา อีกทั้งยังเป็นอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ภายในชุมชน ช่วยให้ชาวบ้านในพื้นที่มีรายได้จุนเจือครอบครัว ที่สำคัญยังเป็นอาชีพที่ช่วยอนุรักษ์ความเป็นไทยให้คงอยู่สืบไป เครดิตภาพปก https://www.pexels.com/photo/brown-on-seashore-near-mountain-1007657/