ความสำเร็จตามเป้าหมายที่เราต้องการดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าเราถอดใจล้มเลิกไปก่อน สิ่งที่เราต้องการก็คงไม่เกิดขึ้น เราจึงควรเริ่มต้นทีละเล็กทีละน้อย ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จอย่างที่เราต้องการ แต่เรื่องเล็กๆนี่แหละ...ที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป James Clear ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้จะมาให้มุมมองที่น่าสนใจดังกล่าวจนทำให้กลายเป็นหนังสือขายดีในที่สุด แปลโดย ประพาฬรัตน์ ยงมานิตชัย ความรู้ความประทับใจในมุมมองของครีเอเตอร์ 1.คนส่วนมากให้คุณค่ากับเรื่องใหญ่ในชีวิตเกินจริง และไม่ค่อยให้คุณค่าของการปรับปรุงอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆในชีวิตประจำวัน — แต่รู้หรือไม่ ถ้าเราพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นวันละ 1% เป็นเวลา 1 ปี ผลที่ได้คือเราจะก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม 37 เท่าการเริ่มต้นด้วยสิ่งเล็ก ๆ จะส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงต่ออนาคตของเรา นิสัยเปรียบเสมือนการสะสมดอกเบี้ยจากการพัฒนาตัวเองเรื่อย ๆ ถ้ามองย้อนไปสัก 5 ปีก็จะเห็นชัดว่าผลจากนิสัยของเราเป็นอย่างไร 2.ละวางเป้าหมายลงบ้าง แล้วมุ่งเน้นที่กระบวนการแทน เป้าหมายของกีฬา คือ จบเกมด้วยแต้มที่ดีที่สุด แต่ถ้าตลอดการแข่งขันเราเอาแต่จ้องเป้าคะแนนมันก็คงไม่ใช่ สิ่งสำคัญคือจัดการรูปเกม ปรับแก้ให้เหมาะสมเรื่องอื่น ๆ ก็คล้ายกัน เป้าหมายคือสิ่งที่ดีสำหรับกำหนดทิศทาง แต่กระบวนการต่างหากที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างความก้าวหน้า โดยเราควรทำความเข้าใจถึงความจริง 4 ข้อเกี่ยวกับ ‘เป้าหมาย’ (1.) ผู้ชนะกับผู้แพ้มีเป้าหมายเดียวกัน แต่มีเพียงผู้ชนะเท่านั้นที่มีกระบวนการที่ต่างกัน (2.) ความธรรมดุเป้าหมายเป็นไปตามค่านิยมคับกันในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่ใช่เครื่องการันตีถึงการเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม (3.) เป้าหมายอาจจำกัดความสุข มันอาจทำให้เรามองข้ามความจริงว่าความสุขในชีวิตไม่ได้อยู่ตรงจุดหมายปลายทาง มันอยู่ระหว่างทาง (4.) เป้าหมายอาจทำให้เราไม่เลือกวิธีการ จนเกิดผลร้ายตามมา 3.สองขั้นตอนช่วยให้ตัวเราดีขึ้น นิสัยเกิดขึ้นได้จากการที่เรากำหนดตัวตนของเราให้เป็นอย่างไร โดยสองขั้นตอนต่อไปนี้จะช่วยเราเปลี่ยนแปลงตัวตนให้ดีขึ้นได้ (1.) ตัดสินใจเลือกแบบฉบับของคนที่เราต้องการเป็น เช่น ถ้าเราตั้งคำถามกับตัวเองว่า “อะไรคือสิ่งที่คนสุขภาพดีเขาทำกัน” เราจะพยายามหาคำตอบในระหว่างวัน เช่น คนสุขภาพดีจะเดินขึ้นบันไดหรือวิ่ง คนสุขภาพดีล้างฟันทุกวันหรือทานผัก (2.) พิสูจน์ให้ตัวเองเห็นจากความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปเรื่อย เช่น ออกกำลังกายทุกวัน วัดผลความคืบหน้าทำให้เป็นคนสุขภาพดี 4.**นิสัยที่ดี ช่วยให้ชีวิตของเรามีอิสระภาพมากขึ้นได้** นิสัยคือพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่เราทำจนกลายเป็นอัตโนมัติ การสร้างนิสัยเกิดจากการลองผิดลองถูก ในตอนแรกที่เจอสถานการณ์ไม่คุ้นเคย สมองเราจะวิเคราะห์อย่างระมัดระวัง ลองผิดลองถูก เรียนรู้จนพบกระบวนการรับมือที่เหมาะสม — หากกระบวนการรับมือนั้นทำให้เราพอใจ สมองก็จะจดจำขั้นตอนกระบวนการนั้น และทำการใช้กระบวนการเดิมนั้นหลาย ๆ ครั้ง เรียนรู้และปรับปรุงเรื่อย ๆ จนเป็นประโยชน์ กระบวนการก็จะเป็นนิสัยของเรา โดยข้อดีของนิสัย คือช่วยให้เราควบคุมและจัดการชีวิตพื้นฐานดีขึ้น เพื่อที่เราจะมีอิสระมากขึ้นที่จะใส่ใจสิ่งท้าทายใหม่ ๆ 5.วงจรนิสัย' ที่ควรทำความเข้าใจ ทุกพฤติกรรมถูกผลักดันจากปัญหา บางปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เราอยากได้ บางปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เราอยากแก้ไข ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นที่มาของ 'วงจรนิสัย ปัจจัยกระตุ้น: ข้อมูลบางอย่างส่งสัญญาณให้เราตอบสนองบางอย่าง เช่น ได้กลิ่นโดนัทแถวออฟฟิศ อยากกินเลยไปซื้อมากิน ความปราถนา: คือความรู้สึกที่เกิดจากปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ เช่น โดนัทแถวออฟฟิศนั้นทําให้เรารู้สึกตื่นตาตื่นใจและอยากกิน ตอบสนอง: พฤติกรรมที่ทำเพื่อให้สมปรารถนา บางครั้งอาจจําเป็นต้องพยายามมาก เช่น ยอมต่อคิวยาวเพื่อชื้อโดนัทให้ได้ รางวัล: ทำให้พอใจและคลายความปรารถนา หากรางวัลนั้นมีคุณค่า เราจะจดจํามัน เช่น โดนัทอร่อยมาก จนต้องกลับไปซื้อซ้ำ 6.เมื่อนิสัยหนึ่ง ๆ ฝังลึกลงในตัวเราแล้ว มันแทบจะกลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอัตโนมัติ ดังนั้น 'สติ' จึงสำคัญ เพราะมันจะช่วยให้เราเห็นนิสัยของตัวเองชัดขึ้น โดยในชีวิตประจำวัน เราสามารถเตือนตัวเองก่อนจะทำกิจวัตรบางอย่าง พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลเหล่านั้น เช่น ตื่นตี 5, เช็คมือถือ, ชั่งน้ำหนัก, อาบน้ำ, แต่งตัว, กินขนมปัง จากนั้นให้พิจารณาว่านิสัยนั้น ๆ ช่วยในการสร้างตัวตนใหม่ของเราไหม เช่น ถ้าอยากเป็นคนรักสุขภาพ ดังนั้น ตื่นตี 5 (+), เช็คมือถือ (-), ชั่งน้ำหนัก (+), อาบน้ำ (+), แต่งตัวดี (+), กินขนมปัง (−) เมื่อพบว่านิสัยที่ท่าอยู่ในแต่ละวันเป็น (-) ต่อตัวตนใหม่ที่อยากเป็นก็ควรปรับเปลี่ยนนิสัยนั้นซะ เช่น ไม่เช็คมือถือ กินคลีนแทนขนมปัง 7.งานวิจัยนับร้อยชิ้นที่แสดงให้เราเห็นว่า ความมุ่งมั่นสู่ความสําเร็จมีประสิทธิผลต่อการบรรลุเป้าหมายอย่างการวางแผนให้ชัดเจน =ว่า ‘เมื่อไหร่” และ ‘ที่ไหน” ที่จะทำนิสัยใหม่ ๆ เช่น ฉันจะทำสมาธิเป็นระยะเวลา 10 นาที ตอน 6 โมงเช้าที่ห้องพระ — ทั้งนี้ เวลาและสถานทีดังกล่าวจะต้องเอื้อให้เราสามารถทําช้า ๆ ได้มากเพียงพอ นอกจากนี้ เรายังสามารถวางแผนการสร้างนิสัยข้างต้น ด้วยการต่อยอดกับนิสัยดีๆ ที่ทำอยู่ เช่น ฉันจะทำสมาธิเป็นเวลา 10 นาที ตอน 6 โมงเช้าที่ห้องพระ หลังจากฉันอาบน้ำแต่งตัวเรียบร้อยแล้ว เมื่อคุ้นเคยวิธีการนี้ เราสามารถพัฒนาทักษะการต่อยอดนิสัยอื่นได้อีก เช่น ทุกครั้งที่กำาลังทานข้าว ฉันจะฝึกมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ 8.เปลี่ยนนิสัยได้ ด้วยการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเปรียบเสมือนมือที่มองไม่เห็น ซึ่งกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์ นิสัยบางอย่างของเราเกิดขึ้นตามบริบทภายนอก ถ้าเราต้องการให้นิสัยใด ๆ เป็นส่วนสําคัญในชีวิต เราควรปรับให้ปัจจัยที่เอื้อต่อนิสัยนั้น ๆ กลายเป็นส่วนสําคัญของสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ เช่น ถ้าอยากตื่นไปวิ่งตั้งแต่เช้า ให้ลองวางรองเท้าวิ่งไว้ในห้องนอนหรือใส่ถุงเท้าวิ่งก่อนนอน — นอกจากนี้ การเชื่อมโยงสิ่งแวดล้อมหนึ่งเข้ากับนิสัยหนึ่ง จะช่วยให้นิสัยนั้นเกิดได้ง่ายขึ้น เช่น ฝึกเป็นคนรักการอ่าน โดยพาตัวเองไปอ่านหนังสืออยู่ในร้านกาแฟเงียบ ๆ แทนที่จะเป็นห้องนั่งเล่นที่บ้านที่นั่งดูซีรีส์เป็นประจํา 9.เคล็ดลับในการควบคุมตัวเอง จงสร้างปัจจัยกระตุ้นการมีนิสัยที่ดีให้เห็นอย่างชัดเจน และจงทำให้ปัจจัยกระตุ้นสู่พฤติกรรมแย่ ๆหายไปจากสิ่งแวดล้อมของเราโดยงานวิจัยพบว่าคนที่ควบคุมตัวเองได้ดีนั้นเป็นเพราะว่าพวกเขาสร้างสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจําวันให้มีระเบียบกฏเกณฑ์มากขึ้น — เช่น วางโทรศัพท์มือถือให้ห่างตัวในเวลาทำงาน แล้วมุ่งมั่นทำงานสำคัญให้สำเร็จเรียบร้อยก่อน ส่วนการควบคุมตัวเองด้วยพลังใจล้วนๆ อาจช่วยให้เราชนะสิ่งล่อใจได้ 1-2 ครั้ง แต่ไม่นานเราก็จะวนกลับไปจุดเดิม 10.พฤติกรรมใด ๆ จะน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ถ้ามันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราโปรดปราน เหมือนกับเทคนิค 'การรวมสิ่งล่อใจไว้ด้วยกัน' ของศาตรจารย์เดวิด พรีแมก ที่แนะนำว่าให้ใช้พฤติกรรมที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นมากกว่ามาช่วยเสริมแรงพฤติกรรมที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นน้อยกว่า — เช่น จะดูซีรีส์ที่ชอบ (พฤติกรรมที่น่าสนใจมากกว่า) ขณะที่วิ่งอยู่บนเครื่องวิ่งเท่านั้น (พฤติกรรมที่น่าสนใจน้อยกว่า) การสร้างนิสัยที่ดี สามารถใช้สูตรต่อยอดนิสัย + เทคนิคการรวมสิ่งล่อใจมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น เมื่ออาบนํ้าเรียบร้อย (นิสัยดีเริ่มต้น) ฉันจะนั่งสมาธิเป็นเวลา 10 นาทีตอน 6 โมงเช้าที่ห้องพระ (สิ่งที่ต้องทำ) จากนั้นจะดื่มกาแฟแก้วโปรด (สิ่งที่อยากทํา) ก่อนที่จะไปทำงาน 11.ถ้าอยากเป็นคนแบบไหน ให้อยู่ใกล้กับคนแบบนั้น ธรรมชาติของมนุษย์ คือการพยายามปรับตัวให้เข้ากับบรรทัดฐานของกลุ่ม ธรรมชาติภายในนี้สามารถผลักดันให้เราทําพฤติกรรมเลียนแบบคนในกลุ่มได้โดยแทบไม่รู้ตัว หนึ่งในวิธีการอันมีประสิทธิภาพที่สุดในการสร้างนิสัยที่ดีคือพาตัวเองไปอยู่ในสังคมซึ่งทำาพฤติกรรมที่เราประสงค์อย่างเป็นปกติ เช่น ถ้าอยู่ท่ามกลางคนที่มีสุงภาพแข็งแรง เราก็มีแนวโน้มที่จะคิดได้ว่าการออกกําลังกายเป็นเรื่องปกติ —การไปอยู่ท่ามกลางผู้คนซึ่งมีนิสัยที่เราต้องการ เราก็จะพัฒนาไปตามพวกเขา 12.นิสัยที่สร้างได้ยาก ต้องอาศัยการปรับทัศนคติ การกำาหนดกรอบพฤติกรรมโดยมุ่งเน้นข้อดีแทนที่จะเป็นข้อเสียคือวิธีที่รวดเร็วและง่ายดาย มันช่วยให้การสร้างนิสัยใหม่ ๆ น่าดึงดูดใจมากขึ้น เช่น แทนที่จะคิดว่าการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่แลดูเหนื่อยและโหดหิน เราสามารถมองว่ามันคือ‘โอกาสดี’ที่เราจะได้ฝึกความอดทนให้ตัวเอง — นอกจากนี้ เรายังใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงพฤติกรรมเข้ากับสิ่งที่ทำให้รู้สึกเพลิดเพลินได้อีกด้วย เช่น ทุกครั้งที่ได้ไปเล่นกับน้องหมาเราจะฝึกหายใจและยิ้ม แล้วสมองของเราก็จะตีความว่าการหายใจและยิ้ม เท่ากับ ความสุข — เมื่อรู้สึกเครียดจากงานเพียงหายใจและยิ้ม เราก็จะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นไม่มากก็น้อย 13.ถ้าต้องการสร้างนิสัยใด ๆ สิ่งสำคัญไม่ใช่การทำอย่างสมบูรณ์แบบ แต่ให้เริ่มต้นด้วยการลงมือก่า หมั่นท่าช้า ๆและฝึกฝนให้คุ้นชินจนทำเป็นกิจวัตร ยิ่งทํากิจกรรมเดินช้า ๆ มากเท่าไหร่ โครงสร้างสมองก็จะยิ่งเปลี่ยนให้เรามีความชำนาญในกิจกรรมนั้น ๆ มากขึ้น โครงข่ายสัญญาณจากเซลล์หนึ่งไปอีกเชลล์หนึ่งก็จะยิ่งพัฒนาและเชื่อมโยงกันแน่นหนามากขึ้น — เช่น กรณีนักดนตรี สมองส่วนซีรีเบลลัมซึ่งจำเป็นต่อการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะใช้ดีดกีตาร์ สีไวโอลีน ก็จะมีขนาดใหญ่กว่าคนอื่น ด้วยเหตุนี้ ระยะเวลาจึงไม่ใช่ส่วนสําคัญในการสร้างนิสัยสิ่งสำคัญกว่า คือความถี่ของการทำพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ 14.การกระทําทุกอย่างย่อมต้องใช้พลังงานปริมาณที่ต่างกัน และยิ่งเราใช้พลังงานน้อยเท่าไหร่ เรายิ่งมีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมนั้น ๆ ได้ง่ายขึ้น หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างนิสัยที่ดี คือออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการท่านิสัยนั้นให้มากที่สุด เช่น ต้องการเข้าฟิตเนสเป็นประจำ การเลือกฟิตเนสที่เป็นทางผ่านทุกวันจะช่วยให้เราทำสิ่งนั้นได้ง่ายขึ้น สําหรับนิสัยที่ใบ่ดีแล้ว เราสามารถเพิ่มอุปสรรคในการทำพฤติกรรมนั้น ๆ เช่น หากอยากเลิกติดซีรีส์ เราอาจจะลบแอปสตรีมมิ่ง ออกจากดีไวซ์ที่ใช้ดูทุกครั้งหลังดูจบ เพื่อให้การเปิดดูซีรีส์ครั้งต่อไป เราจะต้องใช้ความพยายามมากขึ้น แล้วนิสัยนั้นก็จะค่อยๆ หายไป 15.เมื่อฝันถึงการสร้างความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เรามักจะรู้สึกตื่นเต้นและลงมือทำด้วยความพยายามที่มากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เราถอดใจเร็วเกินไปใช่กัน เพื่อรับมือปัญหานี้ เราสามารถนำ 'กฎ 2 นาที' มาใช้ได้ เริ่มต้นจากสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ ภายใน 2 นาที — ตัวอย่างเช่น ถ้าปัญหาของคุณคือวิ่งมาราธอน ให้เริ่มแบ่งเป้าหมายเป็นขั้นที่ทำได้ภายในระดับที่ทำได้ใน 2 นาที: วิ่งมาราธอน > วิ่งให้ได้ 5 กม. > เดินให้ได้ 10,000 ก้าว > เดิน 10 นาที > สวมรองเท้าวิ่ง เพียงสวมรองเท้าวิ่งใน 2 นาที จนเป็นนิสัย เราจะคุ้นชินและเริ่มออกทำตามที่ต้องการทำอะไรที่มากขึ้นไปอีก ในที่สุดเราก็จะสร้างนิสัยที่เป็นเป้าหมายได้สำเร็จ 16.ยิ่งรู้สึกพอใจต่อการกระทำที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากเท่าไหร่ เรายิ่งต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าสิ่งที่ได้ทำไปนั้นนำเราไปสู่เป้าหมายในอนาคตหรือไม่ นิสัยที่ดีอาจทำให้เกิดผลลัพธ์น่าพึงพอใจในทันทีได้ยาก แต่ระยะยาวนั้นจะสร้างความรู้สึกดีมากให้กับเรา กลับกันนิสัยที่มีหลายอย่างที่ให้เรารู้สึกพึงพอใจทันที แต่ระยะยาวอาจสร้างผลเสียมาก และมนุษย์เราก็ให้คุณค่ากับความพึงพอใจตรงหน้ามากกว่า เราจึงทำนิสัยที่ดีได้ยากกว่า เราควรฝึกให้รางวัลตัวเองเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อทำนิสัยที่ดีสำเร็จ 17.วิธีการติดตามผลของนิสัยเป็น วิธีง่าย ๆ ที่วัดว่าเราท่านิสัยนั้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือการทําเช็คลิสต์ว่าเราได้ทําสิ่งนั้น ๆ แล้วในแต่ละวัน วิธีการนี้มีประสิทธิภาพมากและสร้างประโยชน์ให้เราดังนี้ (1) ช่วยให้เห็นผลลัพธ์ชัดเจน: เมื่อเห็นชัดเจนว่าในเช็คลิสต์ได้ทํานิสัยหนึ่งเรียบร้อย เราจะรู้สึกอยากทําสิ่งนั้นอีกครั้ง (2) ช่วยให้อยากทําต่อไป เพราะการได้เห็นตัวเองพัฒนา มันทําให้คนเรามีความสุข และอยากที่จะพัฒนามากขึ้นอีก ช่วยให้พึงพอใจ: ความพึงพอใจ ยิ่งผลักดันให้เราใส่ใจสิ่งที่ทํามากขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นการพัฒนานิสัยให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นอีก 18.บทลงโทษ' อาจเป็นสิ่งซึ่งจําเป็นต่อการสร้างนิสัยที่ดีเราทํากิจวัตรบางอย่างที่ไม่ดีซ้ำ ๆ เพราะมันทำให้เราพอใจไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จึงเป็นเรื่องยากที่จะเลิกท่า หนทางที่ดีที่สุดที่จะเอาชนะสถานการณ์นี้คือ ต้องให้เห็นบทลงโทษจากการท่านิสัยไม่ดีนั้นให้เร็วที่สุด เช่น ให้นักเรียนได้รู้ว่า ถ้ามาเข้าเรียนไม่ตรงเวลา มันจะมีผลต่อเกรดของพวกเขา เราสามารถนําเทคนิคข้างต้นนี้มาปรับใช้กับการสร้างนิสัยที่ดีในชีวิตประจำวันได้ เช่น ทำสัญญาว่าถ้าหากเช้าวันไหนที่เราไม่ถ่ายรูปส่งให้ตัวเองออกไปวิ่งให้คนในครอบครัวหรือเพื่อน เราจะ จ่ายค่าปรับเป็นเงิน 50 บาท ให้คนนั้นคนเราจะทำนิสัยต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นและมีความสุขที่จะทําอย่างต่อเนื่อง หากนิสัยสอดคล้องกับธรรมชาติความเป็นตัวเรา ดั่งคำกล่าวที่ว่า“พันธุกรรมไม่ได้กําหนดชะตาชีวิต แต่เป็นเครื่องกำาหนดขนาดโอกาส ตัวอย่างคําถามที่ช่วยให้ค้นหานิสัยดี ๆ ที่ทำให้เราพอใจได้ (1) อะไรที่ฉันท่าแล้วสนุก: สัญญาณที่บอกว่าเราเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ คือสามารถรับมือความเจ็บปวดที่ตามมาได้ดีกว่าคนอื่น (2) อะไรที่ฉันต้องเสียเวลา: สิ่งที่เราชื่นชอบจริง ๆ จะทำให้เราจดจ่อกับสิ่งนั้นโดยแทบไม่รู้ว่าเวลาเคลื่อนไปขนาดไหนแล้ว อะไรที่ฉันทำได้มากกว่าคนทั่วไป: เมื่อพบว่าเราทําบางอย่างได้ดีกว่าผู้อื่น เราก็มักจะสนใจการท่าสิ่งนั้นเป็นพิเศษ อะไรที่เป็นธรรมชาติของฉัน: ทำแล้วรู้สึกได้ว่ามีชีวิตชีวา 19.กฎของโกลดิล็อกส์มีอยู่ว่า "มนุษย์จะเกิดแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจสูงสุดเมื่อได้ทำสิ่งที่เหมาะสมกับขอบเขตความสามารถที่มีอยู่ขณะนั้น โดยทำในสิ่งที่ไม่ยากเกินไป หรือไม่ง่ายเกินไป ให้อยู่ในขอบเขตความพอดี" เมื่อเริ่มต้นสร้างนิสัยใหม่ ๆ การทำให้ต่อเนื่องทีละเล็กละน้อยมีความสำคัญ เพราะการพัฒนาเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นมีความท้าทายใหม่ ๆ จะทำให้เราพัฒนาจนถึงโซนโกลดิล็อกส์ ซึ่งทำให้เรามีแรงจูงการทำนิสัยนั้นได้อย่างไม่รู้สึกเป็นธรรมชาติ เพราะความเชี่ยวชาญย่อมต้องมีฝึกฝน คนที่ประสบความสำเร็จจริง ๆ เขารู้สึกหมดใจก็ได้เหมือนคนอื่น ๆ ความต่างคือเขายังพยายามหาทางทำให้ต่อเนื่องทั้ง ๆ ที่รู้สึกเบื่อหน่าย 20.ข้อเสียของการสร้างนิสัยที่ดีคือ ‘ความคุ้นชิน’ ซึ่งอาจทำให้เราละเลยความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ และกระตุ้นให้ตัวเองทำนิสัยเดิมซ้ำ ๆ โดยไม่ได้พัฒนานิสัยนั้นเลย ซึ่งในที่สุดแล้ว ความสามารถนั้นก็จะถูกถดถอยไปตามเวลา เมื่อสร้างนิสัยที่ดีขึ้นมาแล้ว เราจะต้องไม่หลงลืมตัวและพยายามทบทวนและฟีดแบคกับตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้เราระมัดระวังการทำผิดพลาด และช่วยให้เราเห็นเส้นทางที่เป็นไปได้ในการปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งเราจะมีกรอบการทำซ้ำอย่างมีสติและกำลังทำสิ่งที่ดีขึ้นหรือแย่ลงในแต่ละวัน เพราะชีวิตเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ความอ่อนน้อมถ่อมตนที่จะเรียนรู้และปรับปรุงตัวเองเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนาตัวเองให้ดีกว่าที่เป็น เพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิม a•tom•ic (อะทอม' มิค) คือส่วนที่มีขนาดเล็กที่สุดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของงุมพลังยิ่งใหญ่ทั้งหลาย hab it (แฮบ' บิท) นิสัยที่ท่าเป็นประจํา ช่วยให้เราตอบสนองอัตโนมัติต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งได้ ความเปลี่ยนแปลงที่ดูเหมือนเล็กน้อยและไม่สําคัญในช่วงเริ่มแรกจะค่อย ๆ กลายเป็นผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ถ้าเรามุ่งมั่นตั้งใจทําสิ่งนั้นต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี — ในระยะยาว คุณภาพชีวิตของเรามัก ขึ้นอยู่กับนิสัยของเรา และการมีนิสัยเดิม ๆ ก็ทำให้เราได้ผลลัพธ์แบบเดิมๆ แต่ถ้าเราปรับนิสัยให้ดีขึ้น ไม่ว่าอะไรก็สามารถเป็นไปได้ เครดิตภาพ ภาพปก โดย wirestock จาก freepik.com ภาพที่ 1 2 3 และ 4 โดยผู้เขียน บทความอื่นๆที่น่าสนใจ รีวิวหนังสือ HIDDEN POTENTIAL เมื่อคนธรรมดาจะคว้าสิ่งที่ยิ่งใหญ่ โดย Adam Grant รีวิวหนังสือ วิชาคนตัวเล็ก (Small rules) รีวิวหนังสือ โลกจะยิ้มให้เธอ ในวันที่เธอยิ้มให้ตัวเอง รีวิวหนังสือ ดูแลตัวเองดีๆนะ (Take care of yourself) เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !