รีเซต

ไทยจับมือจีนมุ่งสร้าง 'ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์' เครื่องแรกในอาเซียน

ไทยจับมือจีนมุ่งสร้าง 'ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์' เครื่องแรกในอาเซียน
Xinhua
1 กันยายน 2565 ( 11:38 )
368
ไทยจับมือจีนมุ่งสร้าง 'ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์' เครื่องแรกในอาเซียน

เหอเฝย, 1 ก.ย. (ซินหัว) -- กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากไทยกำลังทำการวิจัยและการทดลองเกี่ยวกับพลังงานฟิวชันร่วมกับเจ้าหน้าที่จีนในนครเหอเฝย เมืองเอกของมณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน

การวิจัยและทดลองดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือ "ไทยแลนด์ โทคาแมค-1" หรือทีที-1 (TT-1) ระหว่างสองประเทศ โดยเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค หรือ "ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์" เป็นเครื่องจักรทดลองที่สามารถสร้างและปล่อยพลาสมาอุณหภูมิสูงพิเศษเพื่อจำลองสภาวะที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาฟิวชันได้ดร. นพพร พูลยรัตน์ หัวหน้าฝ่ายนิวเคลียร์ฟิวชันและพลาสมา สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ระบุว่าทีมเจ้าหน้าที่ไทยเดินทางมายังจีนเพื่อศึกษาวิธีการใช้เตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค ซึ่งไทยได้รับบริจาคโดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานในการรับมอบเมื่อปี 2018 โดยเครื่องโทคาแมคนี้จะถูกแยกชิ้นส่วนและขนส่งสู่ไทยต่อไปมตินนท์ ไมตรีบริรักษ์ วิศวกรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการทีที-1 และวิศวกรไฟฟ้าผู้ดูแลระบบควบคุมพลาสมาของโครงการ กล่าวว่าการไฟฟ้าฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีฯ พัฒนาเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคเครื่องแรกของไทย และยังสนับสนุนทีมวิศวกรและนักวิจัยในโครงการนอกเหนือจากการจัดหาเงินทุนด้วย โดยเป้าหมายปัจจุบันของการไฟฟ้าฯ คือการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจพื้นฐานและวิธีการประกอบ ใช้งาน และบำรุงรักษาเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคอนึ่ง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 คณะนักวิทยาศาสตร์จีนสร้างสถิติโลกครั้งใหม่ในการปล่อยประจุพลาสมา ณ อุณหภูมิ 120 ล้านองศาเซลเซียส เป็นเวลา 101 วินาที ระหว่างการทดลองที่สถาบันฟิสิกส์พลาสมา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (ASIPP) ในนครเหอเฝย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในด้านการวิจัยพลังงานฟิวชันรายงานระบุว่ากลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรไทย จำนวน 8 คน จากสถาบันเทคโนโลยีฯ และการไฟฟ้าฯ ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่จีนอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคเครื่องแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทีมของไทยเริ่มดำเนินการเตาปฏิกรณ์ทีที-1 ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่จีน หลังจากผ่านการอบรมนานสามสัปดาห์ ซึ่งทีมจากไทยสามารถดำเนินการเครื่องดังกล่าวได้เองหลังฝึกอบรมเป็นเวลาสองเดือนเฉินเย่ว์ วิศวกรอาวุโสด้านเทคโนโลยีสุญญากาศของสถาบันฟิสิกส์พลาสมา ได้ทำงานร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่ไทยตั้งแต่พวกเขามาถึงช่วงปลายเดือนมิถุนายน โดยเฉินจำเป็นต้องตรวจสอบเครื่องมือและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างถี่ถ้วน ก่อนส่งมอบเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคให้ฝ่ายไทยเฉินซึ่งเป็นสมาชิกทีมสนับสนุนของจีนที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่โครงการกว่า 100 คน กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ไทยเรียนรู้รวดเร็วมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะควบคุมเครื่องจักรซับซ้อนอย่างโทคาแมค รวมถึงระบบต่างๆ ภายในเวลาสั้นเช่นนี้ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุดของโครงการคือการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเหมือนดวงอาทิตย์ โดยใช้ดิวเทอเรียม (deuterium) ซึ่งเป็นธาตุไฮโดรเจนชนิดหนักและมีอยู่มากมายในทะเลมาผลิตพลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพ โดยคาดว่าพลังงานที่ผลิตจากดิวเทอเรียมในน้ำทะเล 1 ลิตร ผ่านปฏิกิริยาฟิวชัน จะเทียบเท่ากับน้ำมันเบนซิน 300 ลิตรด้านมตินนท์ชี้ว่าพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่จะเป็นแหล่งพลังงานที่มีเสถียรภาพและราคาเอื้อมถึงสำหรับไทยและกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนสถาบันเทคโนโลยีฯ ระบุว่าเตาปฏิกรณ์ทีที-1 มีกำหนดขนส่งสู่ไทยในเดือนตุลาคม ซึ่งอาคารที่เพิ่งสร้างเสร็จไม่นานนี้ได้เตรียมพร้อมรองรับเครื่องดังกล่าวแล้วขณะเดียวกันนพพรเสริมว่าสถาบันเทคโนโลยีฯ หวังมอบแพลตฟอร์มให้นักวิจัยในไทยเพื่อทำการทดลองที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาฟิวชัน และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้ทำงานด้านการวิจัยพลังงานฟิวชันไม่มากนัก ทว่าเตาปฏิกรณ์ทีที-1 จะเป็นแรงบันดาลใจให้คนหนุ่มสาวเข้าร่วมการวิจัยแวดวงนี้มากขึ้น [caption id="attachment_304950" align="aligncenter" width="800"] (แฟ้มภาพซินหัว : เฉินเย่ว์ (ซ้าย) วิศวกรอาวุโส ทำงานกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไทยที่สถาบันฟิสิกส์พลาสมา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ในนครเหอเฝย เมืองเอกของมณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน วันที่ 24 ส.ค. 2022)[/caption]

ข่าวที่เกี่ยวข้อง