รีเซต

สลด! ผู้ป่วยโควิด เครียดจัด โดดอาคารโรงพยาบาลสนามเสียชีวิต ทิ้งลูกอีก 2 ติดเชื้อ

สลด! ผู้ป่วยโควิด เครียดจัด โดดอาคารโรงพยาบาลสนามเสียชีวิต ทิ้งลูกอีก 2 ติดเชื้อ
ข่าวสด
4 มีนาคม 2565 ( 13:54 )
63

สลด!ผู้ป่วยโควิด เครียดจัดทั้งเรื่องป่วย-หนี้สิน โดดตึกรพ.สนามดับ คนเห็นเหตุการณ์ได้ยินบ่นว่าอยากตาย เตือนหลายครั้ง พอเผลอก็โดดลงมา ทิ้งลูกอีก 2 ติดเชื้อ

 

เมื่อเวลา 06.03 น.วันที่ 4 มี.ค.65 พ.ต.อ.สมเกษม จารักษ์ ผกก.สภ.เมืองอุตรดิตถ์ รับแจ้งจาก ร.ต.ท.ไฉน ขำสกุล สายตรวจหน่วยบริการคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อ.เมืองอุตรดิตถ์ว่า มีผู้ป่วยโควิด-19 กระโดดจากชั้นที่ 3 ของอาคารที่พักผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลสนาม แห่งที่ 2 ซึ่งอยู่ในอาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (บึงกะโล่) ต.ป่าเซ่า อ.เมืองอุตรดิตถ์เสียชีวิต จึงเดินทางไปตรวจที่เกิดเหตุพร้อม ร.ต.อ.ธีรศักดิ์ ดวงตาน้อย พนักงานสอบสวน สภ.เมืองอุตรดิตถ์

 

 

ที่เกิดเหตุพบศพ ชาย อายุ 50 ปี ชาว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ จากการชันสูตรเบื้องต้นพบว่า คอหัก ซี่โครงซ้าย และ ขาด้านซ้ายหัก หลังเจ้าหน้าที่กู้ภัยทำ CPR ราว 30 นาที แต่ก็ไม่เป็นผล และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

 

 

จากการสอบถามผู้เห็นเหตุการณ์เบื้องต้นทราบว่า ก่อนผู้เสียชีวิตจะกระโดดตึกผู้ป่วยโควิด-19 ได้ยินผู้เสียชีวิตบ่นอยากตายมาหลายครั้งแล้ว

 

 

โดยทางผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในห้องเดียวกันราว 10 คน ก็พยายามเตือนว่า จะทำอะไรให้นึกถึงลูกๆ ขณะที่ทุกคนเผลอ ผู้เสียชีวิตก็เปิดหน้าต่างแล้วกระโดดลงมาทันที โดยที่ทุกก็ไม่สามารถห้ามหรือช่วยเหลืออะไรได้

 

 

ร.ต.อ.ธีรศักดิ์ กล่าวว่า ภรรยาของผู้เสียชีวิต วัย 29 ปี ให้การว่า สามีติดโควิด และเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสนามแห่งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา พร้อมลูกชายและลูกสาวที่ติดโควิด ด้วย ไม่คิดว่าจะคิดสั้นจนมากระโดดตึกดังกล่าว

 

สาเหตุหน้าจะเครียดมาจากเรื่องหนี้สินและติดโควิด ส่วนศพให้เจ้าหน้าที่กู้ภัย นำร่างของผู้เสียชีวิตไปผ่าพิสูจน์ ที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ แผนกนิติเวช

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กำลังเดือดร้อนหนัก เนื่องจากงบประมาณที่จะนำมาใช้เพื่อการดูแลผู้ที่กักตัวอยู่บ้าน ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงซึ่งยังไม่มีการติดเชื้อโควิด ที่มีจำนวนมาก ไม่มีงบประมาณที่จะเข้ามาดูแล อีกทั้งงบประมาณของ อปท.เองก็ไม่สามารถเบิกจ่ายใช้ได้ ผู้บริหารบางรายต้องนำงบประมาณของตัวเองออกมาใช้

 

ส่วนผู้บริหารที่ไม่มีเงินทุนมากพอ ก็พยายามร้องขอการสนับสนุนจาก หน่วยงานเอกชน ส่งผลทำให้อาหาร น้ำดื่ม ที่จะแจกจ่ายดูแลกลุ่มเสียงที่กักตัวอยู่กับบ้านขาดแคลนอย่างมาก สิ่งที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคตคือ ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง อาจจะไม่กักตัวอยู่บ้าน และอาจจะออกไปทำมาหากิน ก็จะยิ่งทำให้ สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่มีมากขึ้นได้

 

ผู้สื่อข่าวรายสถานการณ์โควิด-19 อุตรดิตถ์ ระลอกปี 2565 รวมติดเชื้อสะสม 6,029 ราย เสียชีวิต 11 ราย รักษาอยู่โรงพยาบาล 857 ราย ดูแลรักษาที่ชุมชน/บ้าน 1,477 ราย รักษาหายป่วยสะสม 3,413 ราย และพบมีผล ATK+ ประเมินอาการรับยาทันที/ไม่มีอาการลงทะเบียนรักษาที่บ้าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง