รีเซต

ชาวสวนไทยเร่งเก็บเกี่ยว 'ทุเรียน' ตอบรับอุปสงค์ตลาดจีน

ชาวสวนไทยเร่งเก็บเกี่ยว 'ทุเรียน' ตอบรับอุปสงค์ตลาดจีน
Xinhua
19 พฤษภาคม 2565 ( 10:36 )
108
ชาวสวนไทยเร่งเก็บเกี่ยว 'ทุเรียน' ตอบรับอุปสงค์ตลาดจีน

กรุงเทพฯ, 18 พ.ค. (ซินหัว) -- ชายหนุ่มคนหนึ่งปีนขึ้นไปบนต้นไม้สูงหลายเมตรด้วยเท้าเปล่า ใช้มีดเฉือนก้านเพื่อเก็บผลทุเรียนก่อนโยนลงมาให้ศิลาพร ทองโรจน์ เจ้าของสวนทุเรียนในไทย ท่ามกลางฤดูเก็บเกี่ยวราชาแห่งผลไม้ ซึ่งตรงกับช่วงเดือนมีนาคม-กรกฎาคมของทุกปี"

 

เมื่อเข้าสู่ฤดูทุเรียน เราจะเก็บทุเรียนกันมากถึง 8,000 ลูกในวันเดียว" ศิลาพรกล่าวขณะรับลูกทุเรียนที่ถูกโยนลงมาจากต้นภายในสวน ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี โดยสวนของเธอมีต้นทุเรียนหลายร้อยต้น แต่ละต้นมีผลทุเรียนอยู่หลายสิบลูกปัจจุบันทุเรียนไทยกำลังครองตลาดจีน โดยศิลาพรเผยว่าทุเรียนเกือบทั้งหมดในสวนถูกส่งออกสู่จีน และความต้องการก็เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนั้นสวนของเธอยังส่งออกทุเรียนจำนวนหนึ่งสู่ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ แต่ตลาดเหล่านี้ยังมีขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับจีนการนำเข้าทุเรียนรายปีของจีนช่วงปี 2017-2021 เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า ถือเป็นแนวโน้มขาขึ้นที่สร้างโอกาสอันดีแก่การค้าผลไม้ไทย-จีน และคาดว่าจะดียิ่งขึ้นอีกเมื่อมีแรงสนับสนุนจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่พัฒนาอย่างรวดเร็วปีนี้รถไฟผลไม้อาเซียนขบวนแรกเดินทางถึงเมืองผิงเสียง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน เมื่อเดือนมกราคม ส่วนรถไฟ "ทุเรียนด่วน" ขบวนแรกเดินทางถึงเมืองกว่างโจวทางตอนใต้ เมื่อเดือนเมษายน นอกจากนั้นทางรถไฟจีน-ลาว ยังช่วยให้ขนส่งผลไม้ไทยสู่จีนผ่านการเชื่อมต่อทางถนน-ทางรางรูปแบบการขนส่งอันหลากหลายไม่เพียงช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ แต่ยังช่วยลดระยะเวลาขนส่งข้ามพรมแดนอย่างมาก ผ่านมาตรการต่างๆ อาทิ พิธีการศุลกากรแบบครบวงจรอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ (CITS) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่าการขนส่งทางถนน-ทางรางช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่งออกสู่จีนราวร้อยละ 30 โดยหากทางรถไฟจากไทยเชื่อมต่อและก่อสร้างเสร็จสิ้น คาดว่าจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งราวร้อยละ 60ณัฐกฤษฎ โอฬารหิรัญรักษ รองประธานสมาคมธุรกิจการเกษตรไทย-จีน แสดงความมั่นใจอย่างเต็มที่ว่าการส่งออกทุเรียนไทยสู่จีนจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ โดยพื้นที่เพาะปลูกทางตะวันออกจะส่งออกตู้คอนเทนเนอร์ 35,000 ตู้ในปีนี้ สูงขึ้นจากปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 25,000 ตู้ณัฐกฤษฎยังเป็นเจ้าของโรงคัดบรรจุทุเรียนในจันทบุรี ซึ่งมีทุเรียนหลายพันลูกถูกจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบล้อมรอบด้วยกล่องกระดาษแข็งของจีนหลายร้อยกล่อง โดยหลังจากถูกปิดผนึกและฆ่าเชื้อแล้วทุเรียนเหล่านี้จะถูกส่งไปยังจีนในอีกไม่กี่วันแม้จะได้รับประโยชน์มากมายจากความตกลงฯ แต่ทุเรียนไทยยังต้องเผชิญกับการแข่งขันอันเข้มข้นจากประเทศเพื่อนบ้าน ตัวอย่างเช่นทุเรียนพันธุ์มูซัง คิง (Musang King) ของมาเลเซีย ได้รับความนิยมอย่างมากในจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอัทธ์ระบุว่าผู้ส่งออกผลไม้ไทยต้องให้ความสำคัญสูงสุดกับมาตรฐานสุขอนามัยและมุ่งเน้นคุณภาพการผลิตมากขึ้น เพื่อทำให้ทุเรียนไทยยังคงอยู่ในระดับแถวหน้าของผู้บริโภคชาวจีน ด้านศิลาพรวางแผนปลูกทุเรียนพันธุ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นเคียงคู่กับหมอนทองเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย และยังจะร่วมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพื่อขยายยอดจำหน่ายในตลาดจีนด้วย[playlist type="video" ids="283546"][caption id="attachment_283542" align="aligncenter" width="900"]
(แฟ้มภาพซินหัว : สวนทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี วันที่ 5 พ.ค. 2022)[/caption] [caption id="attachment_283541" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : ทุเรียนเรียงรายในโรงงานแปรรูปทุเรียนที่จังหวัดจันทบุรี วันที่ 5 พ.ค. 2022)[/caption][caption id="attachment_283540" align="aligncenter" width="900"]
(แฟ้มภาพซินหัว : คนงานฆ่าเชื้อทุเรียนที่โรงงานแปรรูปทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี วันที่ 5 พ.ค. 2022)[/caption]

ข่าวที่เกี่ยวข้อง