ในช่วงที่ผ่านมานี้ เพื่อนๆคงรู้สึกเหมือนกันว่าเทรนด์สุขภาพมาแรง และคงเห็นแบรนด์ต่างๆ เริ่มออกผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้น ซึ่ง Smartwatch ก็เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยเพื่อนๆ ดูแลสุขภาพ บางคนก็อาจจะสวมใส่อยู่ขณะที่อ่านบทความนี้ก็ได้ ซึ่งผู้เขียนก็เป็นหนึ่งคนที่ใส่ smartwatch เป็นประจำทุกวันตอนออกกำลังกาย แบรนด์ต่างแข่งขันกันในด้านรูปลักษณ์ สีสัน และฟังก์ชันการใช้งาน เพื่อแย่งพื้นที่ในใจลูกค้า ซึ่ง features ที่สำคัญมากใน Smartwatch คือ การระบุและติดตามตำแหน่งของผู้สวมใส่ มันช่วยระบุตำแหน่งของเพื่อนๆ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและติดตามเส้นทาง ระยะทาง และระยะเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ และการปั่นจักรยาน เหตุผลที่ผู้เขียนเลือก feature นี้มาพูดถึง คือผู้เขียนได้ใช้ประโยชน์จาก features นี้อย่างมาก เพราะมันช่วยติดตามระยะทางที่ว่ายน้ำและวิ่ง รวมถึงเส้นทางที่วิ่งด้วย ทำให้สามารถติดตาม performance ของการวิ่งและการว่ายน้ำได้ อีกทั้งยังทำให้ทราบด้วยว่าวันนั้นๆ เดินทางเป็นระยะทางเท่าไหร่ ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ และมีบ่อยครั้งที่ผู้เขียนใช้หาเส้นทางไปสถานที่ต่างๆ ผู้เขียนจึงอยากจะเชิญชวนเพื่อนๆ มาร่วมกันหาคำตอบว่าอะไรคือเบื้องหลังของ features นี้กันแน่ ระบบที่ช่วยระบุและติดตามตำแหน่งใน Smartwatch คือ GPS หรือ Global Positioning System เป็นระบบระบุตำแหน่งจากดาวเทียมที่มีความแม่นยำจากประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบไปด้วยดาวเทียม 31 ดวง ที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลกเป็นระยะทางประมาณ 21,000 กิโลเมตร ซึ่ง Smartwatch ส่วนใหญ่รับสัญญาณจากดาวเทียม 4 ดวง โดย 3 ดวง ใช้ในการระบุ latitude และ longitude ส่วนดวงที่ 4 ใช้ในการระบุระดับความสูง แล้วประมวลผลโดย algorithm ที่แบรนด์ต่างๆ สร้างขึ้นมา ซึ่งหนึ่งในเทคนิคที่เป็นที่นิยม คือ เทคนิค Triangulation ได้ผลลัพธ์เป็นตำแหน่งของผู้ใช้นั่นเองGPS ใน Smartwatch แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1. Connected GPS คือ ใน Smartwatch ไม่มี GPS ในตัว จึงต้องใช้งานร่วมกับ Smartphone เพราะใช้ตำแหน่งของ Smartphone ในการติดตามข้อมูล ซึ่ง GPS ประเภทนี้มีข้อได้เปรียบ คือ มีราคาถูกและไม่ใช้พื้นที่ใน Smartwatch2. Built – in GPS รับสัญญาณจากดาวเทียมโดยตรง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพา Smartphone ความแม่นยำของ GPS ขึ้นอยู่กับเซนเซอร์ ตัวรับสัญญาณ และการประมวลผล ว่าดาวเทียมสามารถส่งสัญญาณและ Smartwatch สามารถประมวลผลได้เร็วแค่ไหน แต่ยิ่งรวดเร็วมาก ก็ใช้แบตเตอรี่มากเช่นเดียวกัน ทำให้แบรนด์ยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่โดยการลดความแม่นยำลง ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก็ส่งผลกระทบต่อความแม่นยำของ GPS เช่น ตึกสูง ต้นไม้ใหญ่ และสภาพอากาศ แม้จะเล็กน้อยแต่ก็ถือว่ามีความแตกต่าง โดย Smartwatch บางรุ่นมี algorithm ที่สามารถคำนวณปรับแก้หากใช้เวลาในการรับสัญญาณมากกว่าปกติผู้เขียนหวังว่าเพื่อนๆ คงเข้าใจเกี่ยวกับ GPS บน Smartwatch มากขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยเครดิตภาพ:ภาพปกทำเองจาก Procreateภาพประกอบหน้าปก ภาพที่ 1 โดย macrovector จาก freepik.com / ภาพที่ 2 โดย Megan_Rexazin จาก pixabay.com / ภาพที่ 3 โดย ArturLuczka จาก pixabay.comภาพที่ 1 โดย zkolra จาก freepik.comภาพที่ 2 โดย brgfx จาก freepik.comภาพที่ 3 โดย ErikaWittlieb จาก pixabay.comภาพที่ 4 โดย Barokahselalu777 จาก freepik.comภาพที่ 5 โดย Kamaji Ogino จาก pexels.comอัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !