น้องๆ มัธยมทุกคน มาทบทวนสูตรคณิตศาสตร์กันหน่อยมั้ยครับสวัสดีน้องๆ ทุกคนครับ เมื่อพูดถึงวิชาคณิตศาสตร์แล้วเนี่ย น้องๆ หลายคนจะต้องนึกถึงตัวเลข สูตรคำนวณ โจทย์ปัญหาอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะมากมาย ใครที่ชอบคำนวณก็ชอบ ใครที่ไม่ชอบคำนวณก็อาจเบือนหน้าหนีเลย ใครที่กำลังเรียนมัธยมเนี่ย น้องๆ จะได้รู้จักสูตรคณิตศาสตร์เยอะแยะเลยครับ บทความนี้พี่เลยอยากมาทบทวนน้องๆ เกี่ยวกับ 3 สูตรคณิตศาสตร์พื้นฐานที่พี่คิดว่าน้องๆ ควรรู้มาฝากทุกคนครับ จะมีสูตรอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับสูตรหาค่ากลางข้อมูลพี่เชื่อว่าน้องๆ ทุกคนจะต้องรู้จักกับสถิติกันใช่มั้ยล่ะครับ การหาค่ากลางข้อมูล ถือเป็นการคำนวณตัวนึงในวิชาสถิติที่พี่คิดว่าน้องๆ ทุกคนต้องมีโอกาสได้ใช้อย่างแน่นอน เพราะมันจะช่วยให้เราได้มองเห็นภาพรวมของข้อมูลที่เรามีว่าข้อมูลกลุ่มนี้มีค่าเท่าไรครับ ซึ่งค่ากลางของข้อมูลเนี่ย เราสามารถหาได้ 3 แบบด้วยกันครับ 1. ค่าเฉลี่ยเลขคณิต : หาได้จากการเอาผลรวมข้อมูลทั้งหมดที่มี มาหารด้วยจำนวนข้อมูลที่เรามีครับ พี่พูดแบบนี้ น้องอาจจะนึกภาพไม่ออก เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าครับ2. มัธยฐาน : ค่ามัธยฐาน อันนี้ไม่มีคำนวณอะไรมากครับ เพียงแค่เราเรียงลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย จากนั้นลองดูว่าตำแหน่งกึ่งกลางอยู่ตำแหน่งที่เท่าไร พอรู้ตำแหน่งแล้ว เราก็ดูว่าตำแหน่งนั้นตรงกับข้อมูลอะไร ข้อมูลนั้นก็คือค่ามัธยฐานครับ ซึ่งการหามัธยฐาน มันแบ่งได้ 2 กรณีครับกรณีที่ 1 : หากคำนวณตำแหน่งได้จำนวนเต็ม ข้อมูลที่ตรงกับตำแหน่งที่คำนวณได้ คือมัธยฐานครับกรณีที่ 2 : หากคำนวณตำแหน่งได้ทศนิยม มัธยฐานจะได้จากการหาค่าเฉลี่ยระหว่างตำแหน่งที่เป็นจำนวนเต็มครับ เช่น หากมัธยฐานอยู่ตำแหน่งที่ 3.5 มัธยฐานก็จะเป็นค่าเฉลี่ยของข้อมูลตำแหน่งที่ 3 กับตำแหน่งที่ 4 ครับ3. ฐานนิยม : ฐานนิยมนี้หาไม่ยากเลยครับ คือในข้อมูลที่เรามี ถ้ามีข้อมูลไหนซ้ำเยอะที่สุด ข้อมูลนั้นก็คือฐานนิยมครับสูตรความน่าจะเป็นน้องๆ เคยเล่นเกมเสี่ยงทายหรือเคยคำนวณมั้ยว่าโอกาสที่จะสุ่มโดนเราจะเป็นเท่าไร การที่จะหาว่าเรามีโอกาสสุ่มเท่าไร เราจะใช้สูตรความน่าจะเป็นครับ ซึ่งวิธีคำนวณเนี่ย คำนวณไม่ยากครับ เพียงแค่เอาจำนวนเหตุการณ์ที่เราสนใจหารด้วยจำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดครับ พี่พูดแค่นี้น้องๆ อาจจะนึกไม่ออก มาดูตัวอย่างดีกว่าสูตรทฤษฎีบทพีทาโกรัสและอัตรส่วนตรีโกณมิติพอเราเข้าชั้นมัธยมแล้วเนี่ย หนึ่งในทฤษฎีและสูตรทางเลขาคณิตที่พี่เชื่อว่าน้องๆ ทุกคนต้องเจอแน่นอน ก็คือทฤษฎีบทพีทาโกรัสและอัตราส่วนตรีโกณมิติครับ ถึงแม้ในพอจบวัยมัธยมแล้ว ใครที่ไม่ได้ไปต่อสายวิศวะหรือสถาปนิก เราคงไม่ค่อยได้ใช้สูตรพวกนี้เท่าไรหรอกครับ แต่ในวัยมัธยมเนี่ย ทั้ง 2 เรื่องเนี่ย บอกเลยว่าเราได้ใช้ตอนสอบบ่อยๆ แน่นอนครับ เราลองมาดูรายละเอียดทีละเรื่องกันครับ1. ทฤษฎีบทพีทาโกรัส : เมื่อกำหนดให้สามเหลี่ยม ABC เป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก โดยมีความยาวด้านเป็น a,b,c ตามลำดับ ทฤษฎีนี้ได้อธิบายไว้ว่า ด้านตรงข้ามมุมฉากกำลังสอง จะเท่ากับผลรวมของด้านประกอบมุมฉากกำลังสองครับ2. อัตราส่วนตรีโกณมิติ : เป็นการหาสัดส่วนระหว่างด้านประกอบสามเหลี่ยมมุมฉากครับ ซึ่งอัตราส่วนตรีโกณมิติเนี่ย มันสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้เยอะแยะมากมายเลยครับ แถมพบบ่อยตามสูตรการคำนวณเรื่องแรงในวิชาฟิสิกส์ด้วย เอาล่ะ เรามาดูกันว่าตัวสูตรจะเป็นยังไงเมื่อดูอัตราส่วนตรีโกณมิติแล้ว พอเอามารวมกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสด้วยเนี่ย มันทำให้เกิดข้อสังเกตที่น่าสนใจขึ้นครับ ข้อสังเกตที่ว่ามีอะไรบ้าง มาดูกันครับและนี่ก็คือ 3 สูตรคณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กมัธยมที่พี่เอามาแชร์ให้น้องๆ ครับ จริงๆ สูตรคณิตศาสตร์มันมีเยอะมาก แต่ที่พี่เลือก 3 สูตรนี้ เพราะส่วนตัวพี่คิดว่าน้องๆ น่าจะได้ใช้บ่อยๆ อย่างแน่นอน พี่หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อน้องๆ ทุกคนนะครับ ถ้าน้องๆ หรือใครมีสูตรคณิตศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม ลองมาแชร์กับเราได้นะครับภาพปกและภาพประกอบทั้งหมด : template โดย canva creative studio จาก canva ตกแต่งโดยภูเขาเล่าไปเรื่อย (ผู้เขียน) บทความหมวดข่าวสารเรื่องอื่นๆ ของผู้เขียนรีวิวเว็บ ooopenlab เว็บทดสอบบุคลิกสุดฮิต มาค้นหาสายพันธุ์แมวที่เหมาะกับเราเถอะรวมมิตร 5 เรื่องวิทยาศาสตร์รอบตัวเรา แต่ละเรื่องสำคัญต่อมนุษย์เราแค่ไหน?เปรียบเทียบ iPad Air iPad Pro รุ่นใหม่ มีอะไรใหม่บ้าง ต่างจากรุ่นก่อนหน้าแค่ไหน น่าซื้อหรือไม่?4 คำคมปนความรู้เกี่ยวกับสุริยุปราคาเต็มดวง ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ต้องดูซักครั้งในชีวิตใครที่ชื่นชอบบทความนี้ ฝากกดแชร์ กดติดตามเพจ ⛰️ ภูเขาเล่าไปเรื่อย ⛰️ ไว้ด้วยนะครับ และถ้าหากใครที่เป็นสายท่องเที่ยว ก็ฝากกดถูกใจและกดติดตามเพจ Kyojuro พาไปหนาย ไว้ด้วยนะครับ ยังมีบทความดีๆ อีกมากมายที่รอเสิร์ฟนักอ่านทุกคนอยู่นะครับส่องที่เที่ยว พิกัดลับห้ามพลาด มุมถ่ายรูปสวยที่ทรูไอดีคอมมูนิตี้