รีเซต

จีนต้องลดวิวาทะลง' นักวิเคราะห์เสนอแนวทางดำเนินนโยบายให้จีน

จีนต้องลดวิวาทะลง' นักวิเคราะห์เสนอแนวทางดำเนินนโยบายให้จีน
TNN World
16 สิงหาคม 2564 ( 12:35 )
59
จีนต้องลดวิวาทะลง' นักวิเคราะห์เสนอแนวทางดำเนินนโยบายให้จีน
Editor's Pick: 'จีนต้องลดวิวาทะลง' นักวิเคราะห์เสนอแนวทางดำเนินนโยบายให้จีน หลัง EU จ่อเลือกตั้งใหม่ ยกเครื่องกระชับ เพื่อ "ปิดประตูจีน"
 
 
นักวิเคราะห์กล่าวว่า จีนอาจต้องหาหนทางใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับยุโรป แม้ว่าหนทางนั้นไม่ได้รวมถึงการแสดงออกที่นุ่มนวลต่อปัญหาในทะเลจีนใต้ของจีนก็ตาม
 
 
พวกเขามองว่า รัฐบาลจีนควรผลักดันความร่วมมือกับสหภาพยุโรป (EU) ให้มากขึ้น แม้จะตึงเครียดกันในหลายประเด็น ทั้งโรคโควิด-19 และประเด็นสิทธิมนุษยชน
 
 
 
การเลือกตั้งเป็นตัวแปรสำคัญของยุโรป
 
 
เกรอเซกอร์ สเตค นักวิเคราะห์จากสถาบัน Mercator for China Studies ในกรุงเบอร์ลินกล่าวว่า การเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในเยอรมนี ฝรั่งเศส และฮังการี เป็น ‘จิ๊กซอว์’ ที่ท้าทายยิ่งขึ้นของ EU ในการปรับทิศทางนโยบายทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อจีน
 
 
“ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร จีนจะต้องนำเสนอทิศทางความสัมพันธ์ใหม่ ๆ กับสหภาพยุโรป หากจีนต้องการประคองความสัมพันธ์นี้ไว้" สเตค กล่าว
 
 
"การพยายามรักษาสถานะ 'หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม' ที่เป็นอยู่นั้น ไม่เพียงพอกับความต้องการของ EU ที่ต้องการช่วงชิง 'ความเป็นอิสระเชิงกลยุทธ์' (strategic autonomy) อีกต่อไป”
 
 
 
ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยเกิดขึ้น
 
 
ซุน ชี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สถาบันสังคมศาสตร์เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Academy of Social Sciences) กล่าวว่า ความสัมพันธ์ของจีนกับ EU กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ "ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน"
 
 
เขากล่าวว่ารัฐบาลจีนต้องการร่วมมือกับ EU แต่ยังคงตอบโต้การเคลื่อนไหวที่ถือเป็นการ “ล้ำเส้น”​ ของจีน
“จีนจะไม่ลังเลที่จะแสดงการตอบโต้ รวมถึงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ กับสมาชิกของ EU ที่ดำเนินตามสหรัฐฯ เพื่อท้าทายจีนในประเด็นต่าง ๆ เช่น เกาะไต้หวัน” ซุน กล่าว
 
 
 
การเมืองเรื่องไต้หวันที่ร้อนแรงขึ้น
 
 
รัฐบาลจีนยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ไต้หวันเป็นเกาะภายใต้อาณัติของตน เมื่อไม่นานมานี้ จีนเรียกตัวทูตจากประเทศลิทัวเนียกลับเมื่อวันอังคาร (10 สิงหาคม) ที่ผ่านมา หลังรัฐบาลลิทัวเนียตัดสินใจอนุญาตให้ไต้หวันเปิดสำนักงานตัวแทนภายใต้ชื่อของตนเอง
 
 
สำนักข่าว South China Morning Post ระบุว่า แหล่งข่าวในรัฐบาลลิทัวเนียกล่าวว่า ลิทัวเนียเตรียมวางแผนที่จะตอบโต้ ด้วยการเรียกคืนเอกอัครราชทูตประจำประเทศจีนของตนเองกลับเช่นกัน
 
 
ก่อนหน้านี้ จีนเป็นประเทศที่วิจารณ์สหภาพยุโรปมากที่สุด และกลายเป็นประเทศแรกที่ถอนตัวจากกลุ่ม '17+1' ที่นำโดยจีนในเดือนพฤษภาคม โดยอ้างเหตุผลถึงสัญญาทางเศรษฐกิจที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
 
 
 
จับตาเลือกตั้งเปลี่ยนขั้ว เยอรมนี-ฝรั่งเศส-ฮังการี
 
 
นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อความสัมพันธ์ของจีนกับ EU กำลังจะเกษียณอายุ-ลงจากตำแหน่ง โดยเยอรมนีจะเข้าสู่การเลือกตั้งในเดือนหน้า
 
 
แมร์เคิลเป็นผู้สนับสนุนหลักสนธิสัญญาการลงทุนระหว่าง EU และจีน แต่ด้วยข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียง ที่นำไปสู่การคว่ำบาตรจีน ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกระงับลงในเดือนพฤษภาคม
 
 
ไม่เพียงแต่เยอรมนี รัฐบาลจีนกำลังจับตาดูการเลือกตั้งฝรั่งเศสในปีหน้าอย่างใกล้ชิดเช่นกัน โดยคู่แข่งหลักของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง คือ มารีน เลอแปน นักการเมืองชาตินิยมขวาจัด เป็นตัวเก็งที่จีนคาดหวังว่า หากชนะ ก็จะทำให้ฝรั่งเศสดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับจีนมากขึ้น
 
 
ซุน ชี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตั้งข้อสังเกตว่า ฮังการีเป็นอีกประเทศ ที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายต่อจีนด้วย หลังการเลือกตั้งในเดือนเมษายนปีหน้า
 
 
ฮังการีเป็นผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่งที่สุดของจีนใน EU และปิดกั้นมติที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงทะเลจีนใต้ และนโยบาย ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ และการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง
 
 
แต่ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของนายกรัฐมนตรีวิกเตอร์ ออร์บานของฮังการี กับจีนได้กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน เพราะนักการเมืองฝ่ายค้าน ให้คำมั่นจะยกเลิกโครงการของจีนที่วางแผนไว้ ทั้งการเปิดวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยฟูดันของจีนในกรุงบูดาเปสต์ และทางรถไฟเชื่อมเมืองหลวงระหว่างฮังการีและเซอร์เบีย ที่จีนสนับสนุน
 
 
“หากฝ่ายค้านเข้ามามีอำนาจ ความสัมพันธ์ของจีนกับฮังการีจะเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่” ซุน กล่าว
 
 
 
 
ยืนหยัดแม้ลำพัง
 
 
ทั้งนี้ เกรอเซกอร์ สเตค นักวิเคราะห์จากสถาบัน Mercator ระบุว่า การเลือกตั้งอาจส่งผลให้นโยบายของจีนในฮังการีต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่
 
 
“มันอาจยุติความพยายามของรัฐบาลฮังการี ที่ต้องการสร้างนโยบายรวมจีนกับยุโรปเข้าด้วยกัน. เขากล่าว
ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนยังยืนหยัด แม้ถูกกดดันจากนานาประเทศ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิมอุยกูร์ในเขตซินเจียงในเดือนมีนาคม หลังจากที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และแคนาดา คว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีนฐานละเมิดสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคนี้ ซึ่งจีนตอบโต้กลับด้วยมาตรการลงโทษต่อยุโรป
 
 
 
ถึงเวลาที่จีนต้องลดวิวาทะลง
 
 
“จีนจะต้องหาทางแก้ไขภาวะติดหล่มที่เกิดจากมาตรการคว่ำบาตรกับสหภาพยุโรป และยื่นข้อเสนอให้กลุ่มนี้มีการพัฒนาอย่างมีเป้าประสงค์ เพื่อเข้าถึงตลาด และสร้างความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศโลก หรือการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรปอย่างสร้างสรรค์” สเตค ย้ำ
 
 
เจิ้ง จิ่งหาน ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาภาษาจีนและการศึกษานานาชาติที่มหาวิทยาลัย Langcaster แนะนำว่า อาจถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจีนต้องลดการใช้วาทะที่ร้อนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลสหรัฐฯ พยายามหาเสียงสนับสนุนและการรวมตัวในสหภาพยุโรปเพื่อต่อต้านจีน
 
 
​​เขากล่าวว่า รัฐบาลจีนจะต้องปรับปรุงนโยบายในยุโรป ตามผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน แต่การดำเนินการเจรจาต่อรองแบบ “ตาต่อตาฟันต่อฟัน” ในยุโรปอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นผลเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อจีนมีพันธมิตรไม่กี่ประเทศ ที่มีอิทธิพลในระดับนานาชาติ
 
 
นโยบายด้านต่างประเทศของจีนในอนาคต ควรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น” เจิ้ง กล่าว “จีนจำเป็นต้องเปิดใจกว้างและสงบนิ่งมากขึ้นเมื่อเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง