"คุณไม่มีวันเข้าใจหรอกว่าคนเป็นโรคซึมเศร้ารู้สึกยังไง เพราะฉันก็เป็นเหมือนกัน ฉันรู้ดีเลยล่ะ " ประโยคสุดฮิตที่ได้เห็นกันบ่อย ๆ เมื่อมีประเด็นเรื่องโรคซึมเศร้า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่เราเห็นเป็นหรือไม่ ซึ่งวันนี้แอดมีข้อมูลมาบอกทั้ง สาเหตุ อาการ การรักษา และวิธีป้องกัน เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักโรคนี้มากขึ้น พร้อมรับมือกับคนที่เป็นโรคนี้อย่างถูกวิธี เนื่องจากแอดได้ดูซีรีส์เรื่องหนึ่งชื่อ "It's Okay to Not be Okay" แล้วมีประโยคที่พระนางพูดใส่กันประมาณว่า "ต่อให้ฉันตายไป คุณก็ไม่เข้าใจความรู้สึกของฉันอยู่ดี " ข้อความนี้แหละที่เตือนความจำ ทำให้นึกถึงประโยคสุดฮิตขึ้น และอยากจะมาแชร์ความรู้กันมาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้ากันโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางด้านอารมณ์ พฤติกรรม ความคิด โดยคนส่วนมากมักคิดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพจิตใจให้อยู่ในอารมณ์เศร้าตลอดเวลาเพียงเท่านั้น แต่หารู้ไม่ว่าจริง ๆ แล้วสาเหตุหลักมันเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในส่วนการควบคุมอารมณ์ในสมอง พูดง่าย ๆ ก็คือสมองสูญเสียสมดุลในการควบคุมอารมณ์ แต่ปัจจัยภายนอกอย่างความเครียดสะสม ความเศร้าจากการสูญเสีย หรือ ความกดดันจากสภาพแวดล้อม เป็นเพียงตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบขึ้นนั่นเอง และสามารถเป็นได้ทุกช่วงวัยเกร็ดความรู้ : ถ้าพ่อ แม่ พี่ น้อง (ญาติสายตรง) ของคุณเคยเป็นโรคนี้มาก่อนหรือกำลังเป็นอยู่ แสดงว่าคุณจะมีโอกาสถูกกระตุ้นให้เป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไปถึง 20% | อ้างอิง Phyathai โรคซึมเศร้าแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ - แบบขั้วเดียว คือ มีอาการแค่ซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว- แบบสองขั้วหรือไบโพลาร์ คือ ผู้ป่วยมีอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ขึ้น-ลง มากกว่าคนปกติ คาดเดาอารมณ์ได้ยากปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าขอบอกเลยว่าปัจจัยมีหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างก็มีความเกี่ยวข้องกันและอยู่รอบตัวเราโดยที่เราไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสภาพจิตใจบอบช้ำจากการพบเจอเรื่องเลวร้ายแบบไม่คาดฝัน เป็นปัจจัยร่วมกันทั้ง 3 ด้านเลยทีเดียวความเครียด ความกดดัน ถ้าได้รับมากเข้าก็จะเพิ่มโอกาสให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น การเลี้ยงดูตั้งแต่เด็กจนโตหรือสภาพแวดล้อมรอบตัว ข้อนี้อาจจะเพิ่มเรื่องความเครียด ความกดดันเข้าไปด้วย เพราะบางครอบครัวก็เลี้ยงลูกแบบกดดันมากเกินไป หรือ อาจมีการทะเลาะวิวาทกันภายในครอบครัวแทบทุกวัน ภาระก็ตกมาที่เด็ก แม้แต่สภาพแวดล้อมเองก็สามารถสร้างความเครียดให้ได้ ทั้งการเรียน การทำงาน ที่มีการแข่งขันสูงลิบลิ่วการพบเจอเรื่องเลวร้ายที่ไม่คาดฝัน การสูญเสียคนที่เรารัก ถูกทอดทิ้งให้โดดเดี่ยว ความรักที่ไม่สมหวัง ทั้งหมดนี้เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีเลยล่ะ ยกตัวอย่าง เราอาจจะมีเรื่องที่อยากพูดกับคนที่เรารักแต่เขาจากเราไปก่อนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง นั่นจึงทำให้ผู้ป่วยมักชอบคิดวกไปวนมาตลอดเวลาเกี่ยวกับเรื่องที่อยากพูดแต่ไม่มีโอกาสได้บอก หรือ กรณีไม่สมหวังในความรัก ผู้ป่วยก็มักโทษตัวเองเสมอว่ายังไม่ดีพอบ้าง ทำผิดบ้าง จากข้อความที่กล่าวมา ถ้าผู้ป่วยได้รับแรงกดดันเข้ามาเรื่อย ๆ ก็ส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าได้นั้นเองสารเคมีในสมองและกรรมพันธุ์ ข้อนี้สำคัญมาก ๆ อยากบอกว่า ต่อให้บางคนไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงจาก 3 ข้อที่กล่าวมา ก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้ ถ้าผู้ป่วยมีความผิดปกติของสารเคมีในสมองอยู่แล้ว ซึ่งสารเคมีนี้จะเป็นตัวควบคุมในด้านอารมณ์ พฤติกรรม และยิ่งถ้าคนในครอบครัวเคยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วด้วยเนี่ย ยิ่งเพิ่มโอกาสให้กับเรามากกว่าคนทั่วไปอีกแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นโรคซึมเศร้าบ้างถ้าเกิดคนรอบข้างหรือตัวเราเป็นล่ะ ทำอย่างไรดี อ้าาาาาา! เอาเป็นว่าเรามาศึกษาอาการกันก่อนดีกว่า อย่าเพิ่งตกใจกันไปอาการของโรคซึมเศร้ามีอาการซึมเศร้าตลอดเวลา อารมณ์หม่นหมอง ไม่อยากพูดคุยกับใครเบื่ออาหาร หรือ อยากอาหารมากกว่าปกติ น้ำหนักขึ้น-ลงมากกว่าปกติกังวลกับสิ่งรอบข้างตลอดเวลา ห่วงนู้น ห่วงนี้ กระวนวาย อยู่ไม่นิ่งสมาธิถดถอยลงอย่างมาก หรืออาจพุ่งสมาธิไปที่การทำสิ่งต่าง ๆ แบบทุ่มสุดตัวนอนน้อยหรือมากกว่าปกติไร้เรี่ยวแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อ่อนเพลีย ถ้าเป็นโรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว อารมณ์จะเหวี่ยงไปมาบ่อยโทษแต่ตัวเองในเรื่องที่เคยทำผิดพลาด รู้สึกตัวเองไร้ค่ารู้สึกชีวิตไร้ค่า ไม่น่าเกิดมาเลย อยากฆ่าตัวตายถ้ามีอาการร่วมกันตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป แสดงถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า หรือจะลองทำแบบประเมินเพิ่มเติมก็ได้ แต่ถ้ายังไม่มั่นใจอาจจะถามคนรอบข้าง เช่น เพื่อน คนในครอบครัวก็ได้เหมือนกัน แล้วถ้าคิดว่าตัวเองเป็นแน่นอน หรือคนรอบข้างบอกว่าเข้าข่ายก็สามารถปรึกษากับจิตแพทย์ได้เลย แต่ถ้าหากยังไม่แน่ใจอีกล่ะก็ขอแนะนำบทความนี้ " แค่ “เศร้า” VS “ซึมเศร้า” แตกต่างกันอย่างไร ? "อีกย่างที่จะบอกคือ โรคซึมเศร้ากับโรควิตกกังวลมีความเหมือนและความต่างกันนิดหน่อย สิ่งที่เหมือนคือ มีอาการกังวล ระแวง ห่วงโน่นห่วงนี่ แต่ถ้าเป็นโรควิตกกังวลจะมีอาการ หายใจไม่ทั่วท้อง ใจสั่น ตกใจง่าย คอยระแวงรอบข้าง ส่วนคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอาการเบื่อหน่ายกับชีวิต เบื่ออาหารบวกกับน้ำหนักตัวไม่คงที่ และมีอารมณ์เศร้าร่วมด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดมากกว่าคนเป็นโรควิตกกังวลประเด็นถกเถียงเรื่องโรคซึมเศร้าเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยเห็นข้อความบนโลกออนไลน์ที่บอกว่า " ชีวิตเราไม่มีความสุขเลย อยู่แบบเบื่อ ๆ ไปวัน ๆ เราก็คงเป็นโรคซึมเศร้าแน่เลย ทำไงดี " อย่าเพิ่งรู้สึกหงุดหงิดกับประโยคเหล่านี้ เพราะผู้อ่านอย่างเราก็ไม่รู้ว่าคน ๆ นั้นเป็นโรคซึมเศร้าจริง หรือ เรียกร้องความสนใจกันแน่ แต่สิ่งที่เราทำได้คือการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ไม่ใช่การซ้ำเติมด้วยคำพูดที่เสียดสี หมั่นไส้ หรืออคติว่าเรียกร้องความสนใจ สิ่งที่เราควรทำคือการส่งแบบประเมินให้กับบุคคลที่มีความเสี่ยง แล้วให้เขาได้ทบทวนตัวเองว่าเข้าข่ายไหม เพราะคนที่จะช่วยให้หายได้จริง ๆ ก็คือ จิตแพทย์กับคนรอบตัว รวมถึงตัวผู้ป่วยเองด้วย เพราะฉะนั้นวิธีรับมือกับคนที่คิดว่าตนเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าบนโลกออนไลน์ คือการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและส่งแบบประเมินให้บุคคลเหล่านั้นนั่นเองตัวอย่างแบบประเมินของ ประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต หรือ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในเมื่อรู้วิธีรับมือแล้วต่อไปดูกันว่าสาเหตุของโรคนี้คืออะไรกันการป้องกันก่อนจะไปหาการรักษา เราควรเรียนรู้วิธีป้องกันไว้ก่อนดีกว่าหมั่นดูแลสุขภาพสม่ำเสมอ ออกกำลังกายบ่อย ๆ หากิจกรรมสนุก ๆ ทำยามว่าง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่หรืออย่ากินอาหารไม่ตรงเวลาก็พอ นอนหลับให้เพียงพอ ฝึกคิดบวก อย่ามองโลกในแง่ลบมากเกินไป ทุกอย่างมีทั้งดีและไม่ดี และอย่าเอาแต่โทษตัวเอง เปลี่ยนจากโทษตัวเองเป็นหาวิธีแก้ไขปัญหานั้นแทนดีกว่า ถ้าหากรู้สึกท้อก็ลองปรึกษาคนรอบข้างที่ไว้ใจ หรือหากำลังใจให้ตัวเอง อาจจะพักดูสิ่งที่ผ่อนคลายแล้วเริ่มต้นใหม่อีกครั้งพยายามอย่าสร้างปัญหาให้ตัวเอง โดยการเอาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากจนตัวเองเดือดร้อนเอง ถ้าไม่ไหวอย่าฝืนเลย พร้อมเมื่อไหร่ค่อยช่วยเหลือคนอื่นก็ได้ แต่ละข้อเป็นเพียงคำแนะนำบางส่วนเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทำตามทุกข้อ สามารถนำไปปรับใช้ตามความต้องการของแต่ละบุคคลได้ แต่แกนหลักคือ พยายามมีสติพร้อมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ และอย่าคิดโทษตัวเองบ่อยเกินไป มันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากการรักษาโรคซึมเศร้ามันเป็นโรคเกี่ยวกับอารมณ์ไม่ใช่แค่สภาพจิตใจ ขึ้นชื่อว่าโรคก็ต้องได้รับการรักษา อย่าคิดว่าการให้กำลังใจเพียงอย่างเดียวสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ เพราะปัญหาที่แท้จริงไม่ได้อยู่สภาพจิตใจเพียงอย่างเดียว แต่ปัญหาหลักคือ สารเคมีในสมองเกิดความผิดปกติ ฉะนั้นต้องให้จิตแพทย์เป็นคนรักษา เพราะจิตแพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ จึงสามารถรักษาได้ถูกวิธี ตรงจุด และรักษาด้วยยาได้ถูกต้องตามอาการ เมื่อรู้ว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าอยากให้ลองเปิดใจพูดคุยกับจิตแพทย์ก่อน เพื่อให้ทราบผลวินิจฉัยที่ชัดเจนสรุปเลยว่า โรคซึมเศร้าไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะเป็นกันได้ แต่ที่คิดว่าเป็นกันเยอะและง่าย เพราะเรามักจะเห็นข้อความประเภทตัดพ้อกับชีวิตบนโลกออนไลน์พร้อมกับคิดว่าตนนั้นเป็นโรคซึมเศร้าอยู่บ่อย ๆ ในความเป็นจริงนั้นผู้โพสต์อาจแค่รู้สึกสับสนก็ได้ เพราะอาการมีความคล้ายกัน ซึ่งนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคน ๆ นั้นเป็นโรคซึมเศร้าแต่อย่างใด อาจจะเป็นแค่ "ภาวะซึมเศร้า" ก็เท่านั้น ที่เป็นช่วงเวลาหนึ่งแล้วก็หายได้เอง แต่ขึ้นชื่อว่าโรคแล้วต้องได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญถึงจะดีที่สุด เพราะฉะนั้นอยากให้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการเข้ารับการรักษาและการเอาใส่ใจผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ให้มากขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก bumrungrad.com / phyathai.com / med.mahidol.ac.th /sanook.com / bangkokpattayahospital.comขอบคุณรูปภาพ รูปภาพประกอบ 1 / รูปภาพประกอบ 2 / รูปภาพประกอบ 3 / รูปภาพประกอบ 4 / รูปภาพประกอบ 5 /รูปภาพประกอบ 6 / รูปภาพประกอบ 7 / รูปภาพประกอบ 8