หลายครอบครัว ต้องเจอกับปัญหาน้ำเสียที่มาจากครัวของบ้าน และทำทางระบายน้ำไม่เป็นระบบ ระเบียบ บางครั้งอาจส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบ้าน หรืออาจส่งกลิ่นไปหาเพื่อนบ้านทำให้มีปัญหาเกิดขึ้น หากชุมชนที่อยู่นั้นเป็นหมู่บ้านจัดสรรราคาแพง ก็อาจไม่มีปัญหานี้ แต่ถ้ากำลังมีปัญหานี้ ผมมีแนวทางที่น่าสนใจของการดูแลน้ำเสียของชุมชนบ้านยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มาบอกเล่าให้ผู้อ่านทุกท่านได้ลองนำไปปรับใช้ครับภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีสิ่งสำคัญที่ต้องสังเกต และวางแผนให้ดีคือทางน้ำครับ โดยปกติของหมู่บ้านี้จะมีลักษณะเรียบไปตามกำแพง วิธีการปลูก คือ ห้ามปลูกใส่ร่องน้ำโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้อุดตัน น้ำไม่สามารถไหลออกไปได้ ต้องปลูกด้านข้างของร่อง โดยให้รากของใบเตยทอดยาวไปตามตัวร่องน้ำ รากของใบเตยจะช่วยในการบำบัดน้ำให้ดีขึ้น ไม่มีกลิ่นเหม็น และดักตะกอนอินทรีย์ มีกลิ่นหอมทำให้น้ำที่ไหลออกจากร่องน้ำไม่เป็นน้ำดำ และส่งกลิ่นเหม็นภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีอีกประการหนึ่งที่ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ก็คือ ใบเตยสามารถนำมาประกอบอาหาร ต้มเป็นน้ำชงกาแฟ และใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง การปลูกใบเตยใส่ร่องน้ำเสียแบบนี้ ไม่เพียงแค่บำบัดน้ำเสีย เพราะใบเตยก็ได้ประโยชน์ด้วย ตอนที่เราปักลงปลูกไม่จำเป็นต้องรดน้ำ ใส่ปุ๋ย เพียงแค่น้ำที่ชะล้างเศษอาหาร พืชผัก จากครัว ไหลผ่าน บำบัดน้ำไปด้วย ได้ประโยชน์จากการใช้ใบเตย ประหยัดพื้นที่ไปพร้อมกันด้วยสุดคุ้มมากครับภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีทั้งนี้ผมขอแนะนำให้เป็น “ใบเตยหอม” นะครับ เพราะนอกจากจะใช้ประโยชน์ในเรื่องของการทำอาหารแล้ว ยังมีประโยชน์ทางยา ที่สามารถเก็บไปใช้ได้จากร่องน้ำเสีย ก็คือ ช่วยบำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต แก้โรคเบาหวาน รักษารังแค และสรรพคุณอีกมากมายที่เราสามารถใช้ได้ เห็นไหมครับว่าเพียงแค่ปลูกในร่องน้ำเสียของบ้านก็สามารถทำให้เราลดรายจ่ายไม่ต้องไปซื้อได้อีกด้วยภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีสุดท้ายของบทความนี้ผมก็อยากฝากถึงผู้อ่านทุกท่านนะครับ ได้ลองนำแนวทางของภูมิปัญญาชาวบ้านไปลองทำดู แน่นอนเลยครับว่าไม่เสียประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะใบเตยหอม ช่วยบำบัดน้ำเสีย ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งยังเป็นพืชสมุนไพรใกล้ตัวด้วยครับหน้าภาพถ่ายปกโดย ภาณุพงศ์ ธงศรี