สวัสดีค่ะ ชาวทาสกุหลาบทุกคน วันนี้มีวิธีการดูแลกุหลาบให้ชาวทาสมือใหม่กันอีกแล้ว แน่นอนว่า หลายคนที่ซื้อต้นกุหลาบมาใหม่จะประสบปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟ มีแมลงรบกวนซะส่วนใหญ่ ซึ่งโดยปกติแล้วเพลี้ยไฟจะมาช่วงอากาศร้อน ละชอบมากเมื่อต้นกุหลาบเราออดกดอก ตั้งแต่เริ่มเป็นดอกตูม และเริ่มมีใบอ่อนแตกยอดมาใหม่ เพลี้ยไฟจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่า เรามีการป้องกัน ดูแลต้นกุหลาบของเราอย่างไร ส่วนมากแล้วถ้าเราถามทางร้านที่ขายกุหลาบ จะแนะนำให้เราพ่นยาที่เป็นสารเคมี โดยตัวยาแต่ละร้านที่ใช้กันก็จะมีความแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าอย่างไรแล้ว การใช้สารเคมีก็มีผลต่อใบกุหลาบบางสายพันธุ์ และเป็นอันตรายกับผิวหนัง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแพ้ได้ บางคนจะเลือกใช้สารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ เช่น น้ำส้มควันไม้ แต่ถ้าเรามีต้นไม้ดอกจำนวนมากและพ่นยาไม่สม่ำเสมอพอ ก็ไม่สามารถควบคุมเพลี้ยไฟได้เช่นกันค่ะ ผู้เขียนเองได้ทดลองวิธีการไล่เพลี้ยไฟ ในแบบฉบับของตัวเอง มาเล่าให้เพื่อนๆฟังกัน ซึ่งการไล่เพลี้ยไฟ อาจจะไม่ได้หมดไป แต่ก็มีจำนวนน้อยลง แต่ถ้าเรามีการดูแลสม่ำเสมอ เพลี้ยไฟก็ไม่มีเหมือนกันนะคะ ซึ่งเจ้าเพลี้ยไฟจะมีผลต่อดอกตั้งแต่ตอนตูม คือ จะทำให้กลีบด้านนอกมีรอยไหม้สีน้ำตาล ทำให้สีไม่สวยแต่เวลาบานออกมากลีบด้านในจะสีสวยปกติ แต่ถ้ามีเพลี้ยไฟจำนวนมากเกินไป จะทำให้ดอกบานไม่สมบูรณ์ มีรอยไหม้ดำทั้งดอก ใบอ่อนหงิกงอ มีรอยดำเช่นกัน เพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงจากกลีบดอก เวลาที่กุหลาบของเราออกดอกต้องสังเกตดูให้ดี เพราะเจ้าเพลี้ยไฟจะมีตัวขนาดเล็กมาก เป็นตัวสีขาว ส่วนมากจะอยู่ในกลีบดอกตูม ถ้าใครกำลังมีกุหลาบที่เริ่มแตกยอดอ่อนหรือแตกกระโดงใหม่ ให้เริ่มใช้สารกำจัดแมลงแบบธรรมชาติก่อน คือ น้ำส้มควันไม้ โดยหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปค่ะ ปริมาณ 1 ลิตร จะราคาประมาณ 60-70 บาท แล้วแต่ยี่ห้อ วิธีการผสม น้ำ 1 ลิตร ใส่น้ำส้มควันไม้ 5 ซีซี ผสมสารจับใบหรือน้ำยาล้างจาน 0.5 ซีซี การใส่สารจับใบจะช่วยให้ตัวยาเกาะติดตามลำต้นและใบได้นานขึ้น น้ำส้มควันไม้จะมีกลิ่นคล้ายควันไฟ ไม่เหม็นมากและไม่เป็นอันตราย เราจะพ่นทุก 3 วัน แต่ถ้าใครที่ไม่ได้อยู่บ้านหลายวัน สามารถใช้สารเคมีช่วยได้ ส่วนใหญ่ผู้เขียนจะใช้ยาเคมีอะบาเมกติน ช่วยไล่เพลี้ยไฟในช่วงที่ไม่อยุ่บ้านหลายวัน การใช้อะบาเมกติน จะช่วยควบคุมเพลี้ยไฟได้ โดยยาจะออกฤทธิ์คุมได้นาน 5-7 วัน แต่ตัวยานี้กลิ่นเหม็นรุนแรง การผสมปกติข้างขวดจะให้ผสมน้ำ 1 ลิตร ตัวยา 2 ซีซี แต่ผู้เขียนทดลองแล้วว่า ควรใช้แค่ 1 ต่อ 1 ก็เพียงพอแล้ว เพราะบางสายพันธุ์ใบจะบอบบาง ทนรับยาไม่ไหว ใบจะมีรอยไหม้ ประมาณ 7 วันใบจะแห้งร่วง เพราะฉะนั้นการใช้ยาเคมีต้องคุมให้พอดี เพื่อไม่ให้เป็นผลเสียกับต้นไม้ของเรา ถ้าเพลี้ยไฟลดลงแล้ว สามารถพ่นสารชีวภาพตัวอื่นร่วมด้วยได้ และเว้นระยะห่างเป็นพ่นทุก 5 วันได้ และอีก 1 วิธีคือ การปลูกต้นไม้อื่นๆ ไว้สำหรับล่อเพลี้ยไฟ สำหรับบ้านของผู้เขียน จะมีต้นดอกแคร์ มะลิและปลูกผักไว้ข้างสวนกุหลาบ เวลาที่เราพ่นยาไล่เพลี้ยไฟ เจ้าเพลี้ยพวกนี้จะไปเกาะที่ต้นดอกแคร์แทนกุหลาบ ทำให้กุหลาบเราปลอดภัยจากเพลี้ยไฟได้ ถ้าดอกไหนมีเพลี้ยไฟเกาะเยอะมากให้เด็ดทิ้ง ใช้วิธีเผาไฟหรือใส่ถุงมัดปากถุงให้แน่น นำไปทิ้งไกลๆบ้านเลย วิธีนี้ค่อยข้างดีเลยทีเดียว ชาวทาสกุหลาบมือใหม่ลองทำดูนะคะ รูปภาพหน้าปกและรูปภาพทั้งหมดถ่ายโดยครีเอเตอร์ เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !