รีเซต

สมชื่อราชาผลไม้ไทย ซินหัวตีข่าว ชาวจีนรอซื้อ 'ทุเรียนไทย' ใจจดใจจ่อ

สมชื่อราชาผลไม้ไทย ซินหัวตีข่าว ชาวจีนรอซื้อ 'ทุเรียนไทย' ใจจดใจจ่อ
มติชน
11 พฤษภาคม 2565 ( 10:43 )
107
สมชื่อราชาผลไม้ไทย ซินหัวตีข่าว ชาวจีนรอซื้อ 'ทุเรียนไทย' ใจจดใจจ่อ

อลงกรณ์ เผยสื่อยักษ์ใหญ่ในจีน “ซินหัว” ตีข่าวคนจีนรอซื้อทุเรียนไทยใจจดจดใจจ่อ หลังวางขายแล้วหมดอย่างรวดเร็ว แม้ปีนี้ราคาจะสูงขึ้นกว่าปีก่อนก็ตาม

 

วานนี้ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า รายงานจากสำนักข่าวซินหัวของจีนว่า

 

ปีนี้ทุเรียนไทยเข้าสู่ตลาดจีนช้ากว่าปกติและมีราคาสูงขึ้น แต่ผู้บริโภคชาวจีนยังคงเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ บรรดาซูเปอร์มาร์เก็ตและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน ทยอยวางจำหน่าย “ทุเรียนไทย” กันแล้วและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ส่งสัญญาณว่า “ฤดูทุเรียน” มาถึงแล้ว

 

ทุเรียนจากสวนในไทยจะถูกเก็บเกี่ยวและส่งออกด้วยเที่ยวบินเช่าเหมาลำ มุ่งสู่ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจว ไป๋อวิ๋น มณฑลกวางตุ้ง ทางใต้ของจีน จากนั้นจะกระจายไปยังทุกภูมิภาคของจีนอย่างรวดเร็ว

 

ด้านร้านผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่เมืองกว่างซี แจ้งว่า ทางร้านได้รับทุเรียน 100 กล่อง ถูกกระจายสู่ร้านสะดวกซื้อ ขายให้ลูกค้าขาจร ทั้ง 100 กล่องหมดอย่างรวดเร็ว แม้ราคาจะสูงขึ้นกว่าปีก่อนก็ตาม

 

ทุเรียนยังคงเป็นผลไม้ยอดนิยมในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีน ครองตำแหน่งผลไม้นำเข้า ‘ดาวเด่น’ ปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายปีนี้ และการนำเข้าทุเรียนสดในปี 2564 สูงกว่าเมื่อปี 2560 ถึง 4 เท่า ส่วนใหญ่นำเข้าจากไทย พื้นที่นำเข้าหลักคือ กวางตุ้ง กว่างซี และฉงชิ่ง

 

นิศาชล ไทยทอง หรือที่คนจีนรู้จักในชื่อ ไท่ลู่ลู่ หญิงไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในหนานหนิง ทำธุรกิจนำเข้าทุเรียนจากสวนไทยมาขายในจีน จนมีกลุ่มลูกค้าประจำในมือ บอกกับสำนักข่าวซินหัวว่า เมื่อก่อนคนจีนรู้จักแต่ทุเรียนหมอนทอง แต่ตอนนี้รู้จักทุเรียนพันธุ์อื่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น กระดุมทอง ก้านยาว และพวงมณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง