รีเซต

โควิดระลอก 2 ทำยอดขายรถในประเทศฮวบหนัก รถยนต์นั่งดิ่งหนักสุด ลด 44.2%

โควิดระลอก 2 ทำยอดขายรถในประเทศฮวบหนัก รถยนต์นั่งดิ่งหนักสุด ลด 44.2%
มติชน
22 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:03 )
49
โควิดระลอก 2 ทำยอดขายรถในประเทศฮวบหนัก รถยนต์นั่งดิ่งหนักสุด ลด 44.2%

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม 2564 ลดลงทุกตลาดโดยมียอดการขายรวมทั้งสิ้น 55,208 คัน ลดลง 21.3% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 16,104 คัน ลดลง 44.2% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 39,104 คัน ลดลง 5.4% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 30,107 คัน ลดลง 9.6%

 

ตลาดรถยนต์เดือนมกราคม 2564 มีปริมาณการขาย 55,208 คัน ลดลง 21.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 44.2% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์  มีอัตราการเติบโตลดลง 5.4% สืบเนื่องจากความกังวลของผู้บริโภคที่มีต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19   รอบใหม่ที่มีการระบาดเป็นวงกว้างและรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การดำเนินธุรกิจและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว การบริการต่างๆ ที่ยังคงชะลอตัว ตลอดจนอุตสาหกรรมรถยนต์ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย

 

ตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงน่าจับตามอง ถึงแม้ว่าการระบาดของไวรัส COVID 19 ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อหลายภาคส่วน ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ทุกประเทศทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ดีมาตรการแก้ไขสถานการณ์ภายในประเทศ อาทิเช่น มาตรการ Lockdown ของภาครัฐที่เข้มงวดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ประกอบด้วยโครงการ “คนละครึ่ง” “เราเที่ยวด้วยกัน” “ช้อปดีมีคืน” “เราชนะ” ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนสามารถจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน และยังเป็นการสร้างกระแสหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ทางด้านของตลาดรถยนต์ บรรดาค่ายรถยนต์ต่างพยายามกระตุ้นการตัดสินใจซื้อรถของผู้บริโภคตั้งแต่ต้นปี ทั้งการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับปรุงใหม่ รวมทั้งข้อเสนอพิเศษต่างๆ ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์น่าจับตามองว่าจะมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีเพียงไร

 

  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม 2564
  1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 55,208 คัน ลดลง 3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      17,758 คัน      ลดลง        12.2%     ส่วนแบ่งตลาด 32.2%

อันดับที่ 2 อีซูซุ          15,248 คัน      เพิ่มขึ้น        6.7%      ส่วนแบ่งตลาด 27.6%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า      5,657 คัน       ลดลง        50.4%        ส่วนแบ่งตลาด 10.2%

  1. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 16,104 คัน ลดลง 2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      5,073 คัน       ลดลง       26.4%        ส่วนแบ่งตลาด 31.5%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า      4,526 คัน       ลดลง       52.3%         ส่วนแบ่งตลาด 28.1%

อันดับที่ 3 มาสด้า       1,779 คัน       ลดลง       43.8%        ส่วนแบ่งตลาด 11.0%

  1. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,104 คัน ลดลง 4%

อันดับที่ 1 อีซูซุ          15,248 คัน      เพิ่มขึ้น      6.7%         ส่วนแบ่งตลาด 39.0%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      12,670 คัน      ลดลง       5.0%         ส่วนแบ่งตลาด 32.4%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        2,305 คัน       เพิ่มขึ้น     8.0 % ส่วนแบ่งตลาด  5.9%

  1. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย  30,107 คัน ลดลง 9.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ           14,198 คัน      เพิ่มขึ้น     6.1%          ส่วนแบ่งตลาด 47.2%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      10,494 คัน      ลดลง     11.0%          ส่วนแบ่งตลาด 34.9%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        2,305 คัน       เพิ่มขึ้น    8.0% ส่วนแบ่งตลาด  7.7%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,294 คัน

โตโยต้า 1,975 คัน – อีซูซุ 1,434 คัน – มิตซูบิชิ 522  คัน – ฟอร์ด 343  คัน – นิสสัน 20 คัน

  1. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 25,813 คัน ลดลง 2%

อันดับที่ 1 อีซูซุ          12,764 คัน      ลดลง       1.1%          ส่วนแบ่งตลาด 49.4%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      8,519 คัน       ลดลง      19.7%         ส่วนแบ่งตลาด 33.0%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        1,962 คัน       เพิ่มขึ้น    15.1%           ส่วนแบ่งตลาด  7.6%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง