การตรวจเช็กคำผิดเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของงานเขียนไม่ว่าจะเป็นเขียนบทความทั่วไป บทความออนไลน์ การจัดทำเล่มรายงาน โครงงานหรืองานวิจัยต่างๆ อาจพูดได้เลยว่าทุกงานเอกสารล้วนต้องผ่านการตรวจทานคำผิดเพื่อให้งานเขียนของเรามีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด หลายๆ ครั้งที่เรามั่นใจเหลือเกินว่าเช็กทุกคำ ตรวจดูทุกตัวอักษรแต่สุดท้ายก็ยังมีคำผิดหลงเหลือให้ต้องแก้ไขอยู่ดี วันนี้เราเลยตัวช่วยเช็กคำผิดออนไลน์ เว็บเช็กคำผิดออนไลน์ ที่ใช้งานได้ง่ายและที่สำคัญคือ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับรองได้เลยว่าจะต้องถูกอกถูกใจนักเขียนทุกท่านอย่างแน่นอน เว็บไซต์เช็กคำผิด ออนไลน์ Katproofเว็บไซต์เช็กคำผิดฝีมือคนไทย ที่มีความโดดเด่นด้านฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครัน ทั้งการตรวจเช็กคำผิดพร้อมแนะนำการแก้ไขคำที่ถูกต้องตามหลักราชบัณฑิตยสถาน (ภาษาไทย) ได้อย่างครบถ้วน ช่วยเช็กการสะกดคำ การเว้นวรรค การใช้คำผิด การเรียงรูปประโยคที่ผิดเพี้ยน ฯลฯ วิธีการใช้ก็ไม่ยุ่งยากเพียงเข้าหน้าเว็บไซต์ https://www.katproof.com/ จากนั้นนำบทความ เนื้อหาหรือข้อมูลที่ต้องการเช็กคำผิดใส่ที่ช่องด้านซ้ายและกดปุ่ม “ตรวจ” เพื่อเริ่มขั้นตอนการเช็กคำผิด ออนไลน์ เมื่อตรวจเสร็จแล้วจะมีผลลัพธ์การเช็กคำผิดแสดงขึ้นมาโดยละเอียด หากคำใดที่เป็นคำผิดตัวหนังสือจะถูกเปลี่ยนเป็นสีส้มพร้อมเส้นประด้านล่างที่เราสามารถเลื่อนเมาส์ไปเพื่อดูว่าคำที่ถูกต้องต้องเขียนว่าอะไร นอกจากนี้ยังมีตัวอักษรสีแดงที่ชี้ให้เห็นถึงความผิดผิดปกติของคำ เช่น มีคำซ้ำ มีตัวอักษร สระ วรรณยุกต์ ฯลฯข้อดีของเว็บไซต์เช็กคำผิด Katproofหน้าเว็บไซต์ใช้งานง่ายเพียงแค่ copy และ paste เนื้อหาก็พร้อมตรวจคำผิดใช้เวลาในการเช็กคำผิดเพียงไม่กี่วินาทีสามารถตรวจคำผิด ตรวจคำซ้ำ การวรรคคำและการจัดเรียงประโยคได้อย่างครบครันใช้งานได้ฟรี 3 ครั้ง/วันข้อจำกัดของเว็บไซต์เช็กคำผิด Katproofต้องล็อกอินเพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้งานก่อนเริ่มการเช็กคำผิดไม่สามารถตรวจเนื้อหา บทความที่มีความยาวมากกว่า 1,900 คำได้ในครั้งเดียว หากบทความยาวจะต้องแบ่งตรวจหากต้องการใช้งานมากกว่า 3 ครั้งต่อวันจะต้องสมัครรายเดือน โดยจะมีราคา 200 บาท/เดือน (ราคาอัปเดตล่าสุด เดือนมีนาคม 2566) และสามารถตรวจคำผิดได้ 100 ครั้งต่อวัน หรือถ้าหากต้องการจำนวนครั้งในการตรวจมากกว่านั้นก็จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น สำหรับตัวเราจะชอบเว็บไซต์ตรวจคำผิดของ Katproof มากเป็นพิเศษค่ะ ตั้งแต่ตัว UI (User Interface) ที่เรียบง่ายไม่ต้องกดอะไรมาก มีช่องวางข้อความและช่องแสดงผลง่ายๆ ใช้เวลาตรวจเนื้อหาเพียงไม่กี่วินาทีและสามารถตรวจเช็กคำผิดได้ครบครันทั้งตรวจการสะกด คำซ้ำ และการจัดรูปประโยค ส่วนการแสดงผลคำผิดพร้อมแนะนำการแก้ก็สังเกตได้ง่าย เว็บไซต์เช็กคำผิด ตรวจการสะกดคำ readawrite เว็บไซต์เช็กคำผิดออนไลน์เจ้าดังอย่างเว็บ readawrite เว็บนี้เป็นของ meb แพลตฟอร์ม e-book ออนไลน์ชื่อดังในไทย โดยฟังก์ชันนี้สร้างขึ้นมาเพื่อนักเขียนนิยายและนักเขียนทั่วๆ ไปที่ต้องการตรวจเช็กคำผิดในบทความโดยละเอียด ทั้งนี้บุคคลธรรมดาทั่วไปก็สามารถเข้าไปใช้งานเช็กคำผิดกันได้แบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย วิธีการก็ง่ายมากๆ เพียงแค่เราเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ https://www.readawrite.com จากนั้นสมัครบัญชีเข้าสู่ระบบด้วยช่องทางที่สะดวก เมื่อเข้าสู่ระบบให้คลิกมุมซ้ายบนที่คำว่า “นิยาย” จากนั้นให้กดเครื่องมือรูปดินสอด้านขวามือ ระบบจะไปย้ายที่หน้านักเขียน ให้เราเลือก “ตรวจคำผิด” และเลือก ก๊อปปี้ วาง แล้วตรวจ จากนั้น copy ข้อความที่ต้องการตรวจคำผิดมาวางแล้วกดตรวจด้วย proof ระบบจะโชว์ผลการเช็กคำผิดโดยละเอียดโดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อความสีชมพูคือ คำที่อาจจะเขียนผิด และข้อความสีน้ำเงินคือ คำที่ไม่มีในพจนานุกรม จากนั้นเราก็สามารถปรับแก้ข้อความที่อาจจะพิมพ์ผิดตามที่ระบบแจ้งได้เลยข้อดีของเว็บไซต์เช็กคำผิด readawriteสามารถใช้งานได้ฟรี ไม่จำกัดจำนวนครั้งและสามารถตรวจบทความขนาดยาวๆ ได้ ที่เราเคยลองมาระดับหลายพันคำก็สามารถตรวจได้ในครั้งเดียวค่ะใช้เวลาในการตรวจคำผิดแค่เพียงไม่กี่วินาทีมีส่วนให้เราเพิ่มชื่อเฉพาะ สำหรับคำที่มีความหมายเฉพาะตัว ชื่อเฉพาะ ที่เรามั่นใจว่าเขียนถูกแล้วเพื่อให้ระบบมองข้ามคำคำนั้นไปและไม่ตรวจจับเป็นคำผิดในหน้าแสดงผล ทำให้เราสามารถเช็กงานเขียนของเราได้ง่ายมากขึ้นสามารถตรวจเช็กคำผิดแบบระบุแยกไปทีละพารากราฟข้อจำกัดของเว็บไซต์เช็กคำผิด readawriteหน้า UI ผู้ใช้มีหลายขั้นตอนก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจต้องสมัครบัญชีผู้ใช้งานก่อนจึงจะสามารถเข้าใช้งานเช็กคำผิดบนเว็บไซต์ได้ส่วนตัวเราคิดว่าหน้าแสดงผลหลังการตรวจของ readawrite ที่มีการโชว์เป็น 2 ฝั่งอาจจะดูยากไปสักหน่อยเพราะเราต้องกวาดตามองทั้ง 2 ฝั่ง แต่อย่างไร readawrite ก็สามารถช่วยในการตรวจคำผิดได้ค่อนข้างครบ ระบบ Detect คำผิดได้ละเอียดแทบทุกจุด โดยทั้ง 2 เครื่องมือนี้เป็นเว็บไซต์ช่วยเช็กคำผิดที่สามารถตรวจคำผิดได้จริง มีทั้งแบบที่ใช้ฟรี (แบบจำกัดจำนวนครั้งต่อวัน) แบบใช้ฟรีโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งและช่วยให้การตรวจเช็กคำผิดในงานเขียนของเรากลายเป็นเรื่องง่ายมากขึ้นโดยส่วนตัวเราจะใช้ทั้ง Katproof และ readawrite สำหรับการ Cross Check ระหว่างกันเพื่อช่วยเช็กคำผิดได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเรายังแนะนำว่าให้ใช้การอ่านด้วยตัวเองควบคู่ไปกับการตรวจด้วยเว็บไซต์ทุกครั้งและไม่ควรเชื่อการตรวจด้วยระบบแบบ 100% ชนิดที่ว่าเขียนเสร็จแล้วตรวจกับเว็บไซต์แค่เพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่อ่านซ้ำเลยแบบนี้ก็อาจยังมีจุดผิดในบทความได้ ให้เราใช้เครื่องมือเช็กคำผิดเหล่านี้เป็นทางลัดที่ช่วยชี้จุดผิดที่เด่นๆ ให้เราจะได้ผลดีกว่า เพื่อให้ผลงาน งานเขียนของเราออกมามีคุณภาพและดูน่าเชื่อถือมากที่สุดภาพหน้าปก โดย ผู้เขียน ภาพไอคอน1 โดย Freepik ภาพไอคอน2 โดย hqrloveq จาก flaticonภาพในเนื้อหา ภาพที่1-2 จาก Katproof / ภาพที่ 3-6 จาก readawrite เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !