รีเซต

'จิรายุ' ตรวจสอบเขื่อนเจ้าพระยา จี้ รัฐบาล-กทม. ตั้งศูนย์รับมือ ชี้ พบปริมาณน้ำผิดปกติ

'จิรายุ' ตรวจสอบเขื่อนเจ้าพระยา จี้ รัฐบาล-กทม. ตั้งศูนย์รับมือ ชี้ พบปริมาณน้ำผิดปกติ
มติชน
29 กันยายน 2564 ( 11:49 )
85

‘จิรายุ’ ตรวจสอบเขื่อนเจ้าพระยา จี้ รัฐบาล-กทม. ตั้งศูนย์รับมือ ชี้ พบปริมาณน้ำผิดปกติ แม้ไม่เท่าปี 54 แต่อันตราย เย้ย ไม่ปฎิวัติป่านนี้แก้น้ำท่วมทั้งระบบจบไปแล้ว

 

 

เมื่อวันที่ 29 กันยายน นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการศาลองค์กรอิสระ รัฐวิสาหกิจ พร้อมด้วยกมธ.ลงพื้นที่ตรวจสอบ สถานการณ์น้ำและความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท โดยพบว่าน้ำที่ทยอยไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามีระดับน้ำใกล้เคียงกันมากทั้งสองฝั่งอย่างน่ากังวลใจ โดยที่แนวกั้นน้ำพบว่าระดับน้ำเหนือเขื่อนกับท้ายเขื่อนห่างกันเพียงแค่ระดับ 1 เมตรกว่าเท่านั้นซึ่ง จากการสอบถาม นายวรพจน์ วรพงษ์ ผู้อำนวยการ เขื่อนภูมิพล ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ที่รับผิดชอบพื้นที่เขื่อน จังหวัดชัยนาท ระบุว่าถ้าเปรียบเทียบกับน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 อาจจะไม่เท่ากันแต่ปีนี้ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ต้องระมัดระวังและสุ่มเสี่ยงโดยระบุว่าน้ำจำนวนมากจากหลังเขื่อนชัยนาทน่าจะวิ่งเข้าสู่จังหวัดปทุมธานีกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการไม่เกิน 20 กว่าวันข้างหน้านี้ ซึ่งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลควรเตรียมรับมือเสียแต่เนิ่นๆ

 

 

 

 

นายจิรายุ กล่าวอีกไปว่า ปี 54 มีน้องน้ำ 24,000 ลูกบาศก์เมตร ปีนี้ประมาณ 12,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งปัญหาของกรุงเทพมหานครนั่นก็คือไม่ได้ลอกท่อระบายน้ำหรือแหล่งน้ำอย่างเป็นรูปธรรมมากนักในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาน้ำเอ่อล้น และท่วมได้ แม้ปัญหาจะไม่เท่าปี 54 แต่ฟังจากผู้มีประสบการณ์ปีนี้ถือว่าไม่ปกติในรอบ 10 ปีนี้แน่นอน ตนจึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลสั่งการให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ควรรีบดำเนินการ ตั้งศูนย์รับมืออย่าปล่อยให้ประชาชนต้องรับมือกับมวลน้องน้ำกันตามยถากรรม ทั้งนี้ ตนจึงขอเตือนพี่น้องประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่าได้ไว้วางใจหรือรอคอยศูนย์บริหารน้ำของกรุงเทพมหานครหรือรัฐบาล ควรติดตามมวลน้ำที่จะเริ่ม ทยอยไหลมาถึง และวางแผนเสียแต่เนิ่นๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น รัฐบาลและกรุงเทพมหานครต้องตั้งศูนย์ รับมือ เพื่อแจ้งข่าวสาร ให้พี่น้องประชาชนให้ทราบเป็นระยะๆ ถึงสถานการณ์น้ำในอีก 20 วันข้างหน้านี้ได้แล้ว ว่าจะหนักหนาสาหัสขนาดไหน ควรหยุดพูดถึง นโยบาย เช่นควรปลูกบ้านสูง หรือควรสวดมนต์ไล่น้ำ ไว้ก่อน แต่ควรเตรียมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะส่วนราชการที่มีกำลัง อุปกรณ์และยานพาหนะ ซึ่งผู้นำต้องวางแผนสั่งการ เมื่อจบสถานการณ์ค่อยมากำหนดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งหากทำระบบแก้ปัญหาน้ำท่วม ด้วยการเชื่อมลำน้ำสำคัญ หรือทำเขื่อนป้องกันน้ำท่วมในทะเล ตั้งแต่ 10 ปีที่ รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ วางแผน วันนี้น้ำท่วมซ้ำซากคงไม่เกิดขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง