รีเซต

เจาะคดีลอบสังหารนายกฯ ฮาริรี โยงโคตรระเบิด เบรุตวินาศ

เจาะคดีลอบสังหารนายกฯ ฮาริรี โยงโคตรระเบิด เบรุตวินาศ
ข่าวสด
5 สิงหาคม 2563 ( 03:22 )
217
เจาะคดีลอบสังหารนายกฯ ฮาริรี โยงโคตรระเบิด เบรุตวินาศ

เจาะคดีลอบสังหารนายกฯ - เหตุการณ์ระเบิดลูกยักษ์ตูมสนั่นกลางกรุงเบรุต เมืองหลวงของเลบานอน มีภาพเผยแพร่ทางโซเชียลสะเทือนขวัญไปทั่วโลก เมื่อวันที่ 4 ส.ค. แม้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สื่อมวลชนต่างตั้งข้อสังเกตว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลพิเศษของสหประชาชาติสำหรับเลบานอน นัดอ่านคำพิพากษาคดีลอบสังหาร นายราฟิก ฮาริรี อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ 15 ปีก่อน วันศุกร์ที่ 7 ส.ค.นี้

https://www.youtube.com/watch?v=Rvz1EFplVig 

 

คดีลอบสังหาร นายราฟิก ฮาริรี อดีตนายกฯ เลบานอน กลางกรุงเบรุต เกิดขึ้นวันที่ 14 ก.พ.2548 แรงระเบิดทีเอ็นทีขนาด 1,000 กิโลกรัม บนรถบรรทุกที่มือระเบิดพลีชีพจุดชนวน ใกล้โรงแรมเซนต์จอร์จ นาทีขบวนรถนายฮาริรีผ่านเข้ามา ไม่เพียงคร่าชีวิตนายฮารีรี ยังทำให้ผู้ร่วมคณะและเหยื่ออื่นๆ เสียชีวิตด้วย 21 ราย

 

 

หลังเหตุการณ์ช็อกโลกนี้ ผลการสอบสวนชี้ว่าเป็นฝีมือกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ที่มีสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลซีเรีย และต่อต้านนายฮารีรี

 

 

นายฮาริรีเป็นนักธุรกิจมหาเศรษฐีที่ผันตัวเข้าสู่วงการการเมือง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีสองช่วง คือพ.ซ.2535-2541 และจากปี 2543 ถึงวันที่ 20 ต.ค.2557 มีบทบาทเด่นในฐานะผู้สร้างข้อตกลงทาอีฟ ยุติสงครามกลางเมืองของเลบานอนที่ดำเนินมา 15 ปี พร้อมกับเริ่มฟื้นฟูกรุงเบรุต

 

 

ได้ชื่อว่าเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกหลังสงครามกลางเมือง เป็นนักการเมืองมหาเศรษฐีที่ทรงอิทธิพลและร่ำรวยที่สุดของเลบานอน จุดยืนที่นำภัยมาหาตนเองมากที่สุด คือการเป็นผู้นำต่อต้านซีเรียเข้ามาแทรกแซงในเลบานอน

 

 

ความตายของนายฮาริรี ส่งผลสะเทือนทางการเมืองครั้งใหญ่ในเลบานอน เมื่อมวลชนลุกฮือขับไล่กองกำลังซีเรีย จนต้องถอนกำลังออกจากเลบานอน

 

คดีลอบสังหารนายฮารีรี ไต่สวนพิจารณาโดยศาลพิเศษสำหรับเลบานอน หรือ Special Tribunal for Lebanon ที่สหประชาชาติสนับสนุน ตั้งอยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์

 

 

ศาลพิเศษสำหรับเลบานอน ที่เนเธอร์แลนด์

ผู้ต้องหาหลักของคดีนี้เป็นสมาชิกเฮซบอลเลาะห์ 4 คน ถูกสั่งฟ้องข้อหาก่อการร้ายและฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ศาลแจ้งอ่านคำพิพากษาวันศุกร์ที่ 7 ส.ค.นี้ ส่วนผู้ต้องสงสัยที่เหลือเป็นบุคคลที่เชื่อมโยงกับรัฐบาลซีเรีย ภายใต้การนำของนายบาชาร์ อัล-อัสซาด

 

ปัจจุบัน เลบานอนยังเผชิญปัญหาการเมืองที่ขัดแย้งและปั่นป่วน แต่ที่หนักกว่านั้นคือปัญหาเศรษฐกิจ 10 เดือนมานี้ค่าเงินของเลบานอนดิ่งลงไปแล้วถึง 80% ภาวะเงินเฟ้อด้านอาหาร พุ่งสูงถึง 190% เมื่อเดือนพ.ค. รัฐบาลยังผิดนัดชำระหนี้เมื่อเดือนมี.ค.