บทร้อยกรองที่ดีนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลักสององค์ประกอบคือมีความถูกต้องตามฉันทลักษณ์และโดดเด่นทางด้านวรรณศิลป์ การแต่งให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์นั้นไม่ว่าใคร ๆ ก็สามารถทำได้ไม่ยาก แต่การที่จะแต่งให้มีความโดดเด่นทางด้านวรรณศิลป์จำเป็นต้องศึกษาเทคนิคและวิธีการอยู่บ้าง วรรณศิลป์คืออะไร ? วรรณศิลป์คือศิลปะในการเขียน ช่วยทำให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ สะเทือนความรู้สึก บทร้อยกรองที่ไม่มีวรรณศิลป์ก็เหมือนกับอาหารที่ไม่มีรสชาติขาดการปรุงแต่ง การเพิ่มเทคนิคทางวรรณศิลป์ลงไปในบทร้อยกรองก็เหมือนการเติมเครื่องปรุง เปรี้ยว เค็ม หวาน ให้กับอาหาร แต่มีวิธีใดบ้างล่ะที่จะทำให้บทร้อยกรองของเราโดดเด่นออกรสออกชาติมากขึ้น บทความนี้ผมจึงนำเทคนิคหลัก ๆ ที่ช่วยทำให้บทร้อยกรองของเรามีวรรณศิบป์มาเผยแพร่ให้ทุกท่านได้ศึกษา จะมีอะไรบ้างนั้นเรามาดูกันเลยครับ 1.การอุปมา การอุปมาคือการนำสิ่งหนึ่งมาเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีอยู่ดังต่อไปนี้ เหมือน เสมือน เปรียบ ปาน ราว ดั่ง ประหนึ่ง ฯลฯ โดยการอุปมาจะช่วยเพิ่มมิติทำให้บทร้อยกรองของเราสื่อออกมาได้อย่างลึกซึ้ง อีกทั้งยังช่วยทำให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพในสมองสามารถเข้าใจในสิ่งที่เราจะสื่อได้เด่นชัดยิ่งขึ้น ผมมีตัวอย่างกลอนบทหนึ่งที่ใช้การอุปมามาให้ทุกท่านได้ศึกษา กลอนบทนี้มาจากเรื่องนิราศภูเขาทองแต่งโดยท่านสุนทรภู่ ความว่า ภาพจาก:ธารา สุวรรณราช 2.การใช้บุคคลวัต บุคคลวัตคือการทำให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตแสดงอากัปกริยาเหมือนมนุษย์ เช่น ฟ้าคำราม คลื่นคลั่ง ลมละเมอ ฯลฯ การจะใช้บุคคลวัตได้อย่างดีเยี่ยมนั้นจำเป็นต้องใช้การฝึกฝนอยู่พอสมควร อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ คือกวีที่ใช้บุคคลวัตได้อย่างสุดยอดคนหนึ่ง ผมขอยกกลอนบทหนึ่งจากเรื่องพระเสด็จดับขันธ์ของอาจารย์เนาวรัตน์มาให้ทุกท่านได้ศึกษาเป็นตัวอย่าง ความว่าภาพจาก:ธารา สุวรรณราช 3.การใช้อธิพจน์ อธิพจน์คือการกล่าวเกินจริง เช่น ร้อนตับจะแตก คอแห้งเป็นผง คิดถึงใจจะขาด เป็นต้น มีบทร้อยกรองหลาย ๆ บทที่ใช้อธิพจน์มาประกอบเนื้อหา ในบทความนี้ผมขอนำโคลงบทหนึ่งจากนิราศนรินทร์มาเป็นตัวอย่างให้ทุกท่านได้ศึกษา ความว่าภาพจาก:ธารา สุวรรณราช 4.สัจพจน์ สัจพจน์คือการเลียนเสียงของธรรมชาติ เช่น ช้างร้องแปร๋น ๆ เสียงยำ่ใบไม้แห้งดังกรอบแกรบ ฟ้าผ่าดังเปรี้ยง เป็นต้น สัจพจน์จะช่วยทำให้เกิดจินตนาการเสมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ สุนทรภู่ได้เขียนกลอนบทหนึ่งที่ใช้สัทพจน์ในนิราศเมืองเพชร ความว่าภาพจาก:ธารา สุวรรณราช นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคนิคการเพิ่มวรรณศิลป์ให้บทร้อยกรองเท่านั้นครับ นอกจากสี่วิธีนี้แล้วยังมีวิธีอื่นอีกที่นิยมใช้กัน เช่น การซำ้คำ การใช้สัญลักษณ์ การใช้ปฏิพากษ์ ฯลฯ ถ้าทุกท่านสนใจก็สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และที่สำคัญเมื่อท่านได้ศึกษามาแล้วก็อย่าละเลยที่จะนำความรู้มาใช้ปฏิบัติจนเกิดความชำนาญเพื่อผลงานกลอนที่มีคุณภาพของตัวท่านเอง ขอบคุณทุกท่านที่ตามอ่านจนจบครับ